Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1160
Title: แรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสระหว่างดินเหนียวกับวัสดุโครงสร้าง
Other Titles: Interface friction between clay and structural materials
Authors: ชัยรัตน์ ระตีพูน, 2520-
Advisors: สุพจน์ เตชวรสินสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: tsupot@chula.ac.th
Subjects: ดินเหนียว
แรงเสียดทาน
วัสดุ และอุปกรณ์ก่อสร้าง
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานศึกษาวิจัยนี้เป็นการทดสอบเพื่อหาแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสระหว่างดินเหนียวกับวัสดุโครงสร้างต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างดินที่ใช้ในงานศึกษาวิจัยนี้เป็นตัวอย่างดินเหนียวอ่อนซึ่งมีต้นกำเนิดบริเวณกรุงเทพฯ โดยเก็บที่ระดับความลึก 1-3 เมตรจากผิวดิน แล้วนำมาอบแห้งและบดให้ละเอียดเป็นผงก่อนนำไปเตรียมตัวอย่างในกระบอกเตรียมตัวอย่างที่พัฒนาขึ้นมา วัสดุโครงสร้างที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ คอนกรีตผิวหยาบ คอนกรีตผิวเรียบ เหล็กผิวหยาบ และเหล็กผิวเรียบ โดยวัสดุโครงสร้างจะมีการฉาบผิวด้วยสารหล่อลื่นต่าง ๆ ซึ่งสารหล่อลื่นที่นำมาใช้ทดสอบการลดแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัส ได้แก่ สารละลายเบนโทไนต์ น้ำมันหล่อลื่น จาระบี ซิลิโคนกรีส และสีอีป๊อกซี่ จากการทดสอบพบว่าค่าแรงเสียดทานสูงสุดที่ผิวสัมผัสระหว่างดินเหนียวกับวัสดุโครงสร้างมีค่าน้อยกว่าค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบเฉือนตรงของดินเหนียว โดยค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสูงสุดที่ผิวสัมผัสระหว่างดินเหนียวกับคอนกรีตมีค่าอยู่ระหว่าง 0.33 ถึง 0.40 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสูงสุดที่ผิวสัมผัสระหว่างดินเหนียวกับเหล็กมีค่าอยู่ระหว่าง 0.28 ถึง 0.33 เมื่อมีการใช้สารหล่อลื่นเพื่อลดแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสพบว่า จาระบีและซิลิโคนกรีสสามารถลดแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสได้มากที่สุด คือ ลดแรงเสียดทานสูงสุดที่ผิวสัมผัสได้ถึง 80% ส่วนสารละลายเบนโทไนต์ลดแรงเสียดทานสูงสุดที่ผิวสัมผัสได้ประมาณ 25% เมื่อพิจารณาถึงการทรุดตัวในแนวดิ่งขณะทำการเฉือนพบว่าค่าการทรุดตัวในการทดสอบหากำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวมีค่ามากกว่าค่าการทรุดตัวในการทดสอบแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัส และเมื่อมีการใช้สารหล่อลื่นที่ผิวสัมผัสจะช่วยให้ค่าการทรุดตัวขณะทำการเฉือนมีค่าน้อยลง
Other Abstract: The study aims to explore the interface friction test between the reconstitued clay and structural materials. The reconstitued clay used in this experiment was originally Bangkok Clay, collected at the depth of 1-3 m below the ground surface. After oven dried, it was thoroughly mixed to form batches of clay powder. The clay powder was then mixed with water to form clay slurry which was re-consolidated in a one-dimensional cell at sigma'v = 1.0 kg/cm2. The structural materials considered were rough concrete, smooth concrete, rough steel and smooth steel. The lubricants, which were used to reduce interface friction, were the bentonite slurry, coal tar epoxy, lubricant oil and grease. It was found that the maximum coefficient values of interface friction (tan delta) between clay and concretes range between 0.33 to 0.40, and the values at interface between clay and steel are between 0.28 to 0.33. The maximum friction coefficient of interface between clay and structural materials are 12-85% less than that obtained from the drained shear strength of clay. Using the lubricants to reduce the interface friction, the grease could reduce the maximum interface friction to 80% of which was not lubricated; the bentonite slurry could reduce to about 25%. The vertical displacement value occurred during clay-clay shearing is larger than the value obtained during interface shearing.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1160
ISBN: 9740307833
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chairat.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.