Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1166
Title: การวิเคราะห์สายอากาศชนิดจานสะท้อนแบบปรับรูปลักษณ์ได้โดยใช้แผ่นย่อย
Other Titles: Analysis of a small flat multi-panel reconfigurable reflector antenna
Authors: ศุภเชษฐ์ เพิ่มพูนวัฒนาสุข, 2515-
Advisors: ฉัตรชัย ไวยาพัฒนกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chatchai.W@chula.ac.th
Subjects: สายอากาศแบบจานสะท้อนคลื่น
โพลาไรเซชัน (แสง)
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของลำคลื่นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้สายอากาศแถวลำดับ สายอากาศชนิดจานสะท้อนที่ใช้สายอากาศป้อนกำลังคลื่นแบบแถวลำดับ และสายอากาศชนิดจานสะท้อนที่สามารถปรับรูปลักษณ์ของพื้นผิวได้ การใช้ระบบป้อนกำลังคลื่นด้วยสายอากาศแถวลำดับมีข้อเสียคือ ระบบโครงข่ายสร้างลำคลื่นมีน้ำหนักมาก เกิดการสูญเสีย และมีราคาแพง เพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ งานวิจัยนี้ได้เสนอสายอากาศรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า สายอากาศชนิดจานสะท้อนแบบปรับรูปลักษณ์ได้โดยใช้แผ่นย่อย การปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของลำคลื่นของสายอากาศชนิดนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผ่นย่อยให้ทำมุมต่างๆ อย่างไรก็ตาม สายอากาศชนิดนี้ก็มีข้อเสียเนื่องจากการใช้แผ่นย่อยมาประกอบกันเป็นพื้นผิวสะท้อน เช่น การบดบังคลื่นจากแผ่นย่อยล้อมรอบ การบดบังคลื่นจากสายอากาศป้อนกำลังคลื่น และการเลี้ยวเบนที่ขอบของแผ่นย่อยแต่ละแผ่น เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าวที่มีต่อสมรรถนะของสายอากาศชนิดนี้ งานวิจัยนี้ได้เสนอระเบียบวิธีวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าวโดยใช้สมมุติฐานสนามเป็นศูนย์ และทฤษฎีการเลี้ยวเบนเชิงกายภาพมาทำนายผลกระทบจากปรากฏการณ์ทั้งสองที่มีต่อความสามารถในการเลื่อนลำคลื่น และการสร้างตำแหน่งศูนย์ นอกจากนี้ได้ประยุกต์การแปลงโดเมนรูปหลายเหลี่ยมไปอยู่บนโดเมนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาคำนวณสนามตามกรรมวิธีทัศนศาสตร์กายภาพที่แผ่พลังงานจากแผ่นย่อยรูปหลายเหลี่ยมแบบต่างๆ ที่นำมาใช้ประมาณพื้นผิวสะท้อนเริ่มต้น และได้เสนอวิธีการเข้ารูปพื้นผิวสะท้อนเริ่มต้นด้วยแผ่นย่อยรูปหลายเหลี่ยม จากผลการคำนวณพบว่า ตำแหน่งของสายอากาศป้อนกำลังคลื่นมีความสำคัญอย่างมากต่อการเลื่อนลำคลื่นโดยกรรมวิธีการประมาณเชิงรังสี การแปรเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของสายอากาศไม่ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์แบบรูปการเลื่อนลำคลื่นที่มีตำแหน่งศูนย์หรือไม่มีตำแหน่งศูนย์ นอกจากนี้ได้ศึกษาผลกระทบของการบดบังคลื่นจากแผ่นย่อยล้อมรอบและสายอากาศป้อนกำลังคลื่นปรากฏการณ์เลี้ยวเบนที่ขอบและความคลาดเคลื่นทางตำแหน่งที่มีต่อความสามารถในการเลื่อนลำคลื่นและการสร้างตำแหน่งศูนย์เมื่อค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของสายอากาศแปรเปลี่ยนไป พบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโพลาไรเซชันไขว้คือสนามเนื่องจากกระแสไม่ต่อเนื่องที่ขอบของแผ่นย่อย จากทฤษฎีการเลี้ยวเบนเชิงกายภาพ ระดับโพลาไรเซชันไขว้มากที่สุดที่เกิดขึ้นต่างกับระดับโพลาไรเซชันร่วมมากที่สุดประมาณ -30 dB ผลของการบดบังคลื่นจากแผ่นย่อยมีอิทธิพลเล็กน้อยต่อระดับโพลาไรเซชันไขว้ ผลกระทบทั้งสองส่งผลให้ระดับความลึกของตําแหน่งศูนย์ตื้นขึ้นและทําให้เกิดความผิดเพี้ยนของแบบรูปการแผ่พลังงานในแนวโพลาไรเซชันร่วมที่ตําแหน่งเชิงมุมที่ไกลจากลํ าคลื่นหลัก แต่ผลกระทบจากการบดบังคลื่นจากแผ่นย่อยมีอิทธิพลมากกว่าผลของการเลี้ยวเบน อัตราขยายแนวโพลาไรเซชันร่วมได้รับอิทธิพลเพียงเล็กน้อยจากผลของการเลี้ยวเบน ผลกระทบจากการบดบังคลื่นมีผล-กระทบอย่างมากต่อการแปรเปลี่ยนของอัตราขยายแนวโพลาไรเซชันร่วม ผลการแปรเปลี่ยนของอัตราขยายแนวโพลาไรเซชันร่วมขึ้นอยู่กับรูปร่างเริ่มต้นของพื้นผิวสะท้อนที่ปรับรูปลักษณ์ได้และรูปร่างของแผ่นย่อย ยิ่งไปกว่านั้นพบว่า ความคลาดเคลื่อนทางตํ าแหน่งของแผ่นย่อยและสาย-อากาศป้อนกําลังคลื่นมีอิทธิพลต่อระดับโพลาไรเซชันไขว้เพื่อตรวจสอบระเบียบวิธีวิเคราะห์ที่เสนอขึ้น งานวิจัยนี้ได้สร้างต้นแบบของสายอากาศชนิดจานสะท้อนแบบปรับรูปลักษณ์ได้ขึ้นมาทดสอบ การทดสอบสายอากาศต้นแบบนี้ได้ใช้ย่านทดสอบสายอากาศชนิดสนามใกล้เชิงระนาบ ผลการทดสอบพบว่า แบบรูปการแผ่พลังงานในแนวโพลาไรเซชันร่วมที่วัดได้มีลักษณะใกล้เคียงเป็นอย่างมากกับการคํานวณทางทฤษฎีในบริเวณลําคลื่นหลัก และมีความแตกต่างกันเล็กน้อยที่พูข้างที่ อยู่ใกล้ๆ ลําคลื่นหลัก ความแตกต่างที่เกิดขึ้นนี้น่าจะมาจากการสะท้อนภายในห้องทดสอบ ส่วนความแตกต่างของแบบรูปการแผ่พลังงานในแนวโพลาไรเซชันไขว้อาจจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น โพลาไรเซชันไขว้ของสายอากาศป้อนกําลังคลื่น การบดบังจากโครงสร้างยึดสาย-อากาศป้อนกําลังคลื่น และความคลาดเคลื่อนทางตําแหน่งของแผ่นย่อย
Other Abstract: Reconfigurable beams can be implemented in a number of ways such as by large aperture arrays, multiple feed reflector antennas, and reflector antennas with adjustable surfaces. The disadvantage of using an array-fed reflector antenna is that the beam-forming network is heavy, lossy, and expensive. To avoid these problems, the small flat multi-panel reconfigurable reflector antenna (SMP-RRA) is proposed. This SMP-RRA has been implemented using an adjustable panel. However, the SMP-RRA has some disadvantages due to the use of a number of small panels to form the reflecting surface. It is thus a matter of great interest to numerically investigate all possible factors affecting the performance of this type of antenna such as neighboring panels blocking, feed blockage, and edge diffraction. In this research, an appropriate analytical procedure is proposed to account for the edge diffraction and the blocking effects. The "null-field hypothesis" and physical theory of diffraction (PTD) are employed to account forthe effects of both phenomena on the main beam steering ability and the null synthesis. In addition, the transformation of the polygonal domains into the square domains is applied in calculating the physical optics (PO) radiation field due to the various irregular polygonal flat sections of the arbitrary initial approximate reflector. The methods for fitting the arbitrary initial reconfigurable reflector by irregular polygonal flat sections are introduced. From the computed results, it is observed that the feed position is very important to the ability of beam steering calculated by using the ray approximation technique. The variation of antenna parameters has no effect on the synthesis of the steering pattern with or without nulls. In addition, the numerical computations illustrate the effects of neighboring panels blocking, feed blockage, edge diffraction, and positioning error on the main beam steering ability and the null synthesis. It is found that the main contribution to the cross polarization is depolarization due to the fringe from the edges of the panel. The maximum cross-polar gain predicted using PTD is around-30 dB. The blocking effect has minor influence on the cross polarization. Both effects fill the null level and cause distortion on the co-polar pattern for the observer far from the main beam but blocking has more influence than edge diffraction. The diffraction effect has minor influence on the co-polar gain. The blocking effect has much influence on the variation of co-polar gain. The variation of co-polar gain depends upon the shape of th einitial recofigurable reflector and the shape of the panels. Moreover, it is found that the panel position error and the feed position error have influence on the cross polarization level. Finally, the prototype of the SMP-RRA is constructed to verify the analytical procedure. In the measurement, the planar near-field antenna test range is employed for the SMP-RRA testing. A reasonable agreement in the main beam region of co-polar pattern is seen betweenthe theory and the measurement while there is some discrepancy in the near-in sidelobes. The high sidelobes adjacent to the main beam may be caused by the effect of multiple reflections in the test range. The difference between the measured and the calculated cross-polar patterns may be formed by several contributions: the cross polarization of the feed horn, the feed structure blockage, and the panel position setting.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1166
ISBN: 9740312829
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphachet.pdf5.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.