Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11705
Title: การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์
Other Titles: Heavy metals removal from electroplating wastewater using sodium borohydride
Authors: มณีรัตน์ องค์วรรณดี
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: orathai.c@chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
โซเดียมโบโรไฮไดรด์
การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า
โรงงานชุบโลหะ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวทางในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ โดยการใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์ ในรูปของสารละลายที่เป็นด่าง (SBH) ความเข้มข้น 1.2% ของ NaBH4 ใน 4% ของ NaOH กำจัดโลหะหนักที่ละลายในน้ำเสีย 4 ประเภท ได้แก่ น้ำเสียจากการชุบทองแดง น้ำเสียจากการชุบนิกเกิล น้ำเสียจากการชุบโครเมียมและน้ำเสียรวม ซึ่งเป็นน้ำเสียจริงที่ได้จากโรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า จากการทดลองพบว่า การบำบัดน้ำเสียจากการชุบทองแดงที่มีความเข้มข้น 550 มก./ล. ทำได้โดยการปรับพีเอชของน้ำเสียด้วยด่างให้มีพีเอชอยู่ในช่วง 4 ถึง 5 แล้วจึงเติม NaHSO3 5 เท่าของทองแดง และเติม SBH จนได้พีเอชสุดท้ายประมาณ 7 จะสามารถกำจัดทองแดงทั้งหมดได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง นอกจากนี้การใช้ปูนขาวปรับพีเอช จะมีผลให้ทองแดงทั้งหมดที่เหลือในน้ำต่ำกว่า 1 มก./ล. ได้ น้ำเสียจากการชุบนิกเกิลที่มีความเข้มข้น 380 มก./ล. ให้ปรับพีเอชของน้ำเสียเท่ากับ 8.5 ด้วยด่าง แล้วจึงเติม NaHSO3 0.5 เท่าของนิกเกิล และเติม SBH จนได้พีเอชสุดท้ายประมาณ 9 จะสามารถกำจัดนิกเกิลละลายได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง น้ำเสียจากการชุบโครเมียม มีความเข้มข้น โครเมียม นิกเกิล ทองแดง และสังกะสี เท่ากับ 1460 180 145 และ 90 มก./ล. ตามลำดับ การบำบัดขั้นแรกให้ทำปฏิกิริยากับ NaHSO3 3 เท่าของโครเมียม หลังจากนั้นปรับพีเอชของน้ำเสียเป็น 8 ด้วยด่าง เติม SBH ให้ได้พีเอชสุดท้ายประมาณ 9 จะสามารถกำจัดโลหะหนักทุกชนิดที่ละลายในน้ำได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง น้ำเสียรวมมีความเข้มข้นนิกเกิล ทองแดง โครเมียม สังกะสี และเหล็ก เท่ากับ 1660 770 250 160 และ 140 มก./ล. ตามลำดับ มีขั้นตอนการบำบัดเช่นเดียวกับน้ำเสียจากการชุบโครเมียม โดยใช้ปริมาณ NaHSO3 1 เท่าของโครเมียม จากนั้นปรับพีเอชของน้ำเสียเป็น 8 ด้วยด่าง เติม SBH จนได้พีเอชประมาณ 9.2 ถึง 9.5 จะสามารถกำจัดโลหะหนักทุกชนิดที่ละลายในน้ำได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการบำบัดน้ำเสียด้วย SBH สำหรับน้ำเสียจากการชุบทองแดง การชุบนิกเกิล การชุบโครเมียม และน้ำเสียรวม คิดเป็นเงิน 133 247 446 และ 541 บาทต่อน้ำเสีย 1 ลบ.ม. ตามลำดับ ซึ่งแยกเป็นค่าสารเคมีเท่ากับ 106 242 335 และ 384 บาทตามลำดับ และเป็นค่าใช้จ่ายในการกำจัดตะกอนเท่ากับ 27 5 111 และ 157 บาทตามลำดับ
Other Abstract: Explores methodology of wastewater treatment with using a stable aqueous solution of sodium borohydride (SBH) containing 1.2% NaBH4 and 4% NaOH, removing heavy metals from electroplating, namely copper plating, nickel plating, chromium plating and combined wastewater. The SBH process for copper waste with concentration 550 mg/l requires initial pH adjustment to 4-5 with caustic, then adding sodium bisulfite at 5 times of amount copper in wastewater. Next SBH is added until the pH of solution increased to 7. This process can remove total copper from wastewater according to effluent Thai industrial standard. Morever, the pH adjustment with lime can reduce copper less than 1 mg/l. Similarly, nickel waste with concentration 380 mg/l can be respectively processed with adjusting pH to 8.5 with caustic, adding sodium bisulfite at 0.5 times of amount nickel in wastewater, and adding SBH until the pH of solution increased to 9. For the chromium plating wastewater containing 1460 mg/l Cr6+, 180 mg/l Ni2+, 145 mg/l Cu2+, and 90 mg/l Zn2+, the process is adding sodium bisulfite at 3 times of amount chromium in wastewater, adjusting pH to 8 with caustic, and then adding SBH until the pH of solution increased to 9. Like the SBH process for chromium wastewater, the combined wastewater containing 1660 mg/l Ni2+, 770 mg/l Cu2+, 250 mg/l Cr6+, 160 mg/l Zn2+ and 140 mg/l Fe2+ required the same process except adding sodium bisulfite at 1 time, and the final pH as 9.2-9.5. The treatment cost of the copper plating, nickel plating, chromium plating and combined wastewater, can be respectively identified as 133, 247, 446 and 541 baht/cubic meter for total cost, as 106, 242, 335 and 384 baht/cubic meter for chemical cost, and as 27, 5, 111 and 157 baht/cubic meter for the sludge cost.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11705
ISBN: 9743336419
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maneerat_On_front.pdf836.57 kBAdobe PDFView/Open
Maneerat_On_ch1.pdf690.3 kBAdobe PDFView/Open
Maneerat_On_ch2.pdf680.1 kBAdobe PDFView/Open
Maneerat_On_ch3.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Maneerat_On_ch4.pdf817.52 kBAdobe PDFView/Open
Maneerat_On_ch5.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open
Maneerat_On_ch6.pdf707.29 kBAdobe PDFView/Open
Maneerat_On_back.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.