Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11875
Title: พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับค่านิยม ที่เอื้อต่อการพัฒนาของประชาชน ในชุมชนแออัด เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Media exposure and values favourable for development of slum dwellers in Bangkok Metropolis
Authors: อรทัย เวชภูมิ์
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parama.s@chula.ac.th
Subjects: การเปิดรับข่าวสาร
สื่อมวลชนกับการพัฒนาชุมชน
ชุมชนแออัด
ค่านิยม
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา (1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของประชาชนในชุมชนแออัด (2) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรของประชาชน ในชุมชนแออัดกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร (3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรของประชาชนในชุมชนแออัด กับค่านิยมที่เอื้อต่อการพัฒนา (4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร กับค่านิยมที่เอื้อต่อการพัฒนา (5) ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อถือที่มีต่อสื่อมวลชน และสื่อบุคคลกับค่านิยมที่เอื้อต่อการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะทางประชากรมีความสัมพันธ์กับการเปิดรับ สื่อมวลชนและสื่อบุคคล 2. ลักษณะทางประชากรมีความสัมพันธ์กับค่านิยม ที่เอื้อต่อการพัฒนา 3. สื่อโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนที่ประชาชนเปิดรับข่าวสารมากที่สุด และมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก กับค่านิยมที่เอื้อต่อการพัฒนา 4. คนในครอบครัวเป็นสื่อบุคคลที่ประชาชนเปิดรับข่าวสารมากที่สุด และมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับค่านิยมที่เอื้อต่อการพัฒนา 5. ความเชื่อถือที่มีต่อสื่อโทรทัศน์และกรรมการหรือผู้นำชุมชน มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับค่านิยมที่เอื้อต่อการพัฒนา แต่ความเชื่อถือเพื่อนบ้านมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับค่านิยม 6. ประชาชนมีค่านิยมที่เอื้อต่อการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง
Other Abstract: To study (1) the media exposure of slum dwellers. (2) the correlation between demographic characteristics and media exposure. (3) the correlation between demographic characteristics and values favourable for development. (4) the correlation between media exposure and values favourable for development. (5) the correlation between mass media and personal media credibility and values favourable for development. Questionnaires and interview were used to collect the data from a total of 400 samples. Frequency, percentage, mean, t-test, ANOVA and Pearson's product moment correlation coefficient were employed for the analysis of the data. SPSS program was used for data processing. The results were as follows: 1. Demographic characteristics correlated with mass media and personal media exposure. 2. Demographic characteristics correlated with the values favourable for development. 3. Television exposure was the most among mass media exposure and correlated with the values. 4. Exposure to family members was the most among personal media exposure and negatively correlated with the values. 5. Credibility of television and community leaders positively correlated with the values, but credibility of neighbors negatively correlated with the values. 6. The values of slum dwellers were at the middle level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11875
ISBN: 9746381873
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orathai_Ve_front.pdf779.12 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_Ve_ch1.pdf764.86 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_Ve_ch2.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_Ve_ch3.pdf757.26 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_Ve_ch4.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_Ve_ch5.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_Ve_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.