Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11897
Title: การเปรียบเทียบวิธีการประมาณแบบช่วงสำหรับผลต่างระหว่างค่าสัดส่วน ของสองประชากร
Other Titles: A comparison on interval estimation methods for the difference between two population proportions
Authors: ธาริณี คงคาธเนศ
Advisors: มานพ วราภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Manop.V@Chula.ac.th
Subjects: การประมาณค่าพารามิเตอร์
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการประมาณแบบช่วงสำหรับผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนของสองประชากร บนพื้นฐานของการประมาณด้วยการแจกแจงปกติ โดยการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น และค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นของแต่ละวิธีการประมาณ ซึ่งในการเปรียบเทียบค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นจะเปรียบเทียบเฉพาะในกรณีที่วิธีการประมาณนั้นให่ค่าระดับความเชื่อมั่นไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนด ดังนั้นวิธีการประมาณใดให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุด จะถือเป็นวิธีการประมาณที่เหมาะสมที่สุด วิธีการประมาณที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือวิธีการประมาณอย่างง่าย (Clsssical Method) วิธีการประมาณโดยใช้ค่าปรับแก้เพื่อความต่อเนื่องของเยจส์ (The Estimation Method Using Continuity Correction By Yate) วิธีการประมาณโดยใช้ค่าปรับแก้เพื่อความต่อเนื่องของฮอคก์ และแอนเดอร์สัน (The Estimation Method Using Continuity Correction By Hauck And Anderson) วิธีการประมาณโดยใช้ค่าปรับแก้เพื่อความต่อเนื่องของเพสกัน (The Estimation Method Using Continuity Correction By Peskun) กำหนดขนาดตัวอย่าง 1 และ 2 (n[subscript1], n[subscript2]) เท่ากันเป็น 10,20,25,30,35,40,50,60,70,80 ค่าสัมบูรณ์ของความแตกต่างระหว่างค่าสัดส่วนของสองประชากร มีค่าความแตกต่างตั้งแต่ .1 ถึง .8 โดยค่าเพิ่มขึ้นทีละ .1 และสัดส่วนประชากร 1 และ 2 (p[subscript1], p[subscript2]) มีค่าตั้งแต่ .1 ถึง .9 โดยเพิ่มค่าขึ้นทีละ .1 กำหนดค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 90%, 95% และ 99% ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากการจำลองข้อมูลด้วยเทคนิคมอนติคาร์โล และทำการทดลองซ้ำๆ กัน 20,000 ครั้ง ในแต่ละสถานการณ์ที่กำหนด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลอง ในกรณีศึกษาส่วนใหญ่ช่วงความเชื่อมั่นจากวิธีการที่ใช้ค่าปรับแก้ไขเพื่อความต่อเนื่องต่างๆ ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนด ส่วนช่วงความเชื่อมั่นจากวิธีการประมาณอย่างง่าย จะให้ค่าสัมประสิทธิ์จากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนด เมื่อขนาดตัวอย่างทั้งสองมีค่าปานกลาง (n[subscript1], n[subscript2] = 30 ขึ้นไป) 2. ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น ในกรณีศึกษาส่วนใหญ่ช่วงความเชื่อมั่นจากวิธีการใช้ค่าปรับแก้ไขเพื่อความต่อเนื่องของเพสกันจะให้ความเฉลี่ยของช่วงต่ำที่สุดในกรณีตัวอย่างทั้งสองเล็ก (n[subscript1], n[subscript2] = 10) วิธีการประมาณโดยใช้ค่าปรับแก้ไขเพื่อความต่อเนื่องของฮอคก์และแอนเดอร์สันจะให้ค่าความยาวเฉลี่ยต่ำสุด เมื่อตัวอย่างทั้งสองมีขนาดปานกลาง (n[subscript1], n[subscript2] = 30, 35, 40) วิธีการประมาณอย่างง่ายจะให้ค่าความยาวเฉลี่ยต่ำสุด เมื่อตัวอย่างทั้งสองมีขนาดใหญ่ (n [subxcript 1], n [subscript 2] = 50, 60, 70, 80) และวิธีการโดยใช้ค่าปรับแก้ไขเพื่อความต่อเนื่องของเยจส์ไม่สามารถให้ค่าความยาวเฉลี่ยต่ำสุดได้ในทุกกรณีที่ศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น ได้แก่ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นซึ่งจะแปรผันโดยตรง กับค่าความเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนของสองประชากร และขนาดตัวอย่างทั้งสองจะแปรผกผันกับค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น
Other Abstract: The objective of this study is to compare the interval estimation methods for the difference between two populations proportion based on normal distribution by comparing their confidence levels and average confidence interval lengths. The comparison of average confidence interval lengths will be compared in case of the confidence levels are not lower than the given confidence coefficient values. The estimation method having the shortest average confidence interval will be optimum estimation method. The estimation methods under consideration in this study are Classical Method, The estimation method using continuity correction by Yates, The estimation method using continuity correction by Hauck and Anderson, and The estimation method using continuity correction by Peskun. The values of n[subscript1] is equal to n[subscript 2] and are 10, 20, 25, 30, 35, 40, 50, 60, 70 and 80, the absolute of difference between two population proportions are ranging from. 1 to 8 increasing by .1 and P[subscript 1], P[subscript 2] are ranging from .1 to .9 increasing by .1 all of which one considered at confidence 90%, 95% and 99%, respectively. The experientation data are generated through the Monte Carlo Simulation technique. The experiment is repeated 20,000 times under each case. The conclusions of this study are as follows: 1. Confidence levels. In most cases, the confidence levels of the estimation methods using continuity correction are not lower than the given confidence levels of 90%, 95% and 99%. The confidence levels of Classical Mothod is not lower than the given confidence levels of 90%, 95% and 99% when sample sizes of n[subscript 1] and n[subscript 2] are more than 30. 2. Average confidence interval lengths. In most cases, average confidence interval lengths of the estimation method using continuity correction by Peskun is shortest when sample sizes n[subscript 1], n[subscript 2] are small (n[subscript 1], n[subscript 2] = 10) ; the estimation method using continuity correction by Hanck and Anderson is shorted when sample sizes n[subscript 1], n[subscript 2] are medium (n[subscript 1], n[subscript 2] are medium [n[subscript 1], n[subscript 2] = 20, 25, 30, 35, 40, 50). Average confidence interval lengths of Classical interval lengths of Classical Method is shortest when sample sizes n[subscript 1], n [subscript 2] are large (n[subscript 1], n [subscript 2] = 60, 70, 80) and the estimation method using continuity correction by Yates is not shortest in every case. The average confidence interval length varies directly with confidence level and varies indirectly with the absolute of difference between two population proportions and sample sizes.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11897
ISBN: 9746357573
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tharinee_Ko_front.pdf811.59 kBAdobe PDFView/Open
Tharinee_Ko_ch1.pdf706.7 kBAdobe PDFView/Open
Tharinee_Ko_ch2.pdf767.35 kBAdobe PDFView/Open
Tharinee_Ko_ch3.pdf730.83 kBAdobe PDFView/Open
Tharinee_Ko_ch4.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Tharinee_Ko_ch5.pdf701.92 kBAdobe PDFView/Open
Tharinee_Ko_back.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.