Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12231
Title: การใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์กลุ่ม ในการศึกษาคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร ที่มีลักษณะมุ่งตนและมุ่งงาน
Other Titles: The use of confirmatiory factors analysis and cluster analysis in studying the characteristics of ego-oriented and task-oriented students in Kamphaeng Phet Rajabhat Institute
Authors: นันทริก เทียมพิทักษ์
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์จัดกลุ่ม
การวิเคราะห์ตัวประกอบเชิงยืนยัน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาคุณลักษณะสำคัญของนักศึกษาที่มีลักษณะมุ่งตนและมุ่งงานโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตามด้วยการวิเคราะห์กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาในสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 559 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบรายงานตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมลิสเรล 8.1 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์กลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ว่า มีนักศึกษา 3 กลุ่ม ที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มที่ 1 มีลักษณะมุ่งงานสูงและมุ่งตนเองสูง นักศึกษากาในกลุ่มนี้รายงานตนเองถึงความต้องการที่จะเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง และในขณะเดียวกันก็มีความต้องการที่จะแสดงความสามารถของตนออกมาให้ทุกคนได้เห็น นักศึกษาในกลุ่มนี้มีลักษณะในด้านการอ้างสาเหตุความสำเร็จที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ และการอ้างสาเหตุความล้มเหลวที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้สูง และมีคุณลักษณะในด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและการชอบความท้าทาย กลุ่มที่ 2 มีลักษณะมุ่งงานสูงและมุ่งตนต่ำ มีการรายงานตนเองถึงความต้องการได้มาซึ่งความรู้อย่างแท้จริงแต่ไม่มีความต้องการที่จะแสดงความสามารถให้ทุกคนเห็น นักศึกษาในกลุ่มนี้มีลักษณะในด้านการอ้างสาเหตุความสำเร็จที่ควบคุมได้สูง และมีคุณลักษณะในด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้สมรรถภาพของตนเอง มีอารมณ์ในด้านบวก และการใช้กลยุทธ์ในการเรียนทั้งขั้นต้นและขั้นลึกชั้นสูง นักศึกษาในกลุ่มที่ 3 มีลักษณะมุ่งงานต่ำและมุ่งตนต่ำ มีการรายงานตนเองถึงความไม่สนใจในการเรียนรู้ และไม่สนใจในการแสดงความสามารถของตน นักศึกษาในกลุ่มนี้มีลักษณะในด้านการมีอารมณ์ในด้านลบสูง
Other Abstract: The purpose of this research was to study the characteristics of ego-oriented and task-oriented students by using confirmatory factor analysis followed by cluster analysis. The sample consisted of 559 undergraduate students in 1996 academic years in Kamphaeng Phet Rajabhat Insitute. The data were analyzed by using confirmatory factor analysis through LISREL version 8.1 followed by cluster analysis through SPSS. The results indicated that there were three distinct groups. Cluster 1 was the characteristic of high mastery and high performance-oriented students. They reported a strong desire to acquire knowledge and understanding, but also a desire to maintain an appearance of ability. They and had more self-worth and preference for challenge. Cluster 2 was the characteristic of high mastery and low performance-oriented students. They reported a strong desire to acquire knowledge and understanding, but they were not interested in looking smart. They were more likely to attribute success to controllable factors and had more perception of ability, self-efficacy, positive emotions, shallow processing and deep processing. Cluster 3 was the characteristic of low mastery and low performance-oriented students. They seem to be uninterested in learning and uninterested in maintaining an appreance of their ability. They were more likely to attribute success and failure to uncontrollable factors and had more negative emotions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12231
ISBN: 9746367978
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntharik_Ti_front.pdf807.38 kBAdobe PDFView/Open
Nuntharik_Ti_ch1.pdf739 kBAdobe PDFView/Open
Nuntharik_Ti_ch2.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Nuntharik_Ti_ch3.pdf769.17 kBAdobe PDFView/Open
Nuntharik_Ti_ch4.pdf917.29 kBAdobe PDFView/Open
Nuntharik_Ti_ch5.pdf819.65 kBAdobe PDFView/Open
Nuntharik_Ti_back.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.