Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12257
Title: จุดกำเนิดและพัฒนาการของรูปแบบและเนื้อหานิตยสารดาราภาพยนตร์และทีวีพูล
Other Titles: Origin and development of format and content of Darapapyoun and T.V. Pool magazines
Authors: แทนใจ โพธิแท่น
Advisors: รจิตลักขณ์ แสงอุไร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Rachitluk.S@chula.ac.th
Subjects: ดาราภาพยนตร์ (นิตยสาร)
ทีวีพูล (นิตยสาร)
วารสาร
การวิเคราะห์เนื้อหา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องจุดกำเนิดและพัฒนาการของรูปแบบ และเนื้อหานิตยสารดาราภาพยนตร์และทีวีพูล เป็นการวิจัยแบบผสม ได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อศึกษาพัฒนาการการนำเสนอเนื้อหาและรูปแบบของ นิตยสารทั้งสองฉบับ ผลการวิจัยพบว่าดาราภาพยนตร์กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 โดย ธนู จงเลิศจรรยา แรงจูงใจจากความต้องการทำนิตยสารบันเทิงมีนโยบายหลักเพื่อมุ่งให้ความ บันเทิงในแวดวงภาพยนตร์ ควบคู่ไปกับสารประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพ นิตยสารทีวีพูลกำเนิดขึ้นปี พ.ศ. 2533 โดยเกรียงศักดิ์ สกุลชัย โดยต้องการทำนิตยสารบันเทิงที่สามารถสื่อความคิดของตัวเองได้อย่างเสรี นโยบายหลักของทีวีพูลคือการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในวงการโทรทัศน์ เน้นการนำเสนอข่าวจริง เจาะลึก พัฒนาการของนิตยสารดาราภาพยนตร์แบ่งได้เป็น 3 ยุคได้แก่ ยุคที่ 1 พ.ศ. 2520-2527 เน้นการนำเสนอข่าวคราวในวงการภาพยนตร์เป็นหลัก ยุคที่ 2 พ.ศ. 2528-2540 เพิ่มการนำเสนอเนื้อหาในวงการโทรทัศน์ควบคู่ไปกับภาพยนตร์ และนำเสนอเนื้อหาทางการเมืองในส่วนสกู๊ปหนัก ยุคที่ 3 พ.ศ. 2541-2545 ปรับเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับวงการโทรทัศน์มากขึ้น และปรับรูปเล่มเป็นแบบไสกาว เน้นแฟชั่นเพื่อความทันสมัย ทีวีพูลพัฒนาการแบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่ยุคที่ 1 พ.ศ. 2533-2537 เน้นการนำเสนอข่าวหวือหวา บทวิจารณ์ที่ใช้ภาษารุนแรงเพื่อให้หนังสือติดตลาด ยุคที่ 2 พ.ศ. 2538-2544 ปรับเนื้อหาให้เบาลง เพิ่มการนำเสนอไลฟ์สไตล์ของดาราและเนื้อหาเกี่ยวกับธุรกิจบันเทิง ปัจจัยที่ทำให้นิตยสารประสบความสำเร็จได้แก่ 1. การปรับตัวทางด้านรูปแบบและเนื้อหาให้สอดคล้องกับกระแสความนิยมของผู้อ่าน 2. กลยุทธ์การกำหนดเนื้อหาให้มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของนิตยสาร ทั้งสองฉบับ 3. กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ของนิตยสารต่อผู้อ่าน 4.การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอื่นๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่กลยุทธ์การกำหนดราคา การส่งเสริมการขาย โฆษณา และการสร้างความสัมพันธ์กับสื่ออื่น
Other Abstract: This research is a combination of in-depth interview and content analysis with the aim to study the development of form and content presentation of both magazines. The findings of the research are as follows. Darapapyoun magazine was first published in 1977 by Tanoo Chonglertjanya. He is motivated by the desire to publish an entertainment magazine, the main policy being to give information about motion picture business as well as useful information about health. T.V. Pool magazine, on the other hand, was published much later in 1990 by Kriengsak Sakulchai. His aim is to publish an entertainment magazine that can deliberately convey the most expressive opinions to his readers. The main policy of T.V. Pool is to present information about television network with an emphasis on actual news in depth. The development of Darapapyoun magazine can be grouped into 3 stages. The first stage (1977-1984) mainly placed an emphasis on the presentation of information about the celluloid world. The second stage (1985-1997) added information about television together with motion pictures, highlighting on political content in the hard news scoop. The third stage (1998-2002) saw an increase in television content and a change in the look of the magazine to emphasize fashion in order to keep up with the trend. The development of T.V. Pool magazine can be grouped into 2 stages. The first stage (1990-1994) put an emphasis on sensational news and lively reviews using harsh language to increase circulation. The second stage (1995-2001) saw an adjustment in terms of content towards a less sensational tone while adding information about the lifestyle of stars and show business. The factors leading to the success of both magazines are 1) the adjustment in form and content to suit the taste of the readers, 2) the strategy in designing the content that is not only outstanding but also unique of each individual magazine, 3) the strategy in creating the magazineʼs images to attract the readers, and finally 4) the use of different marketing strategies, such as pricing, sales promotion, advertising and establishing relationship with other media.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12257
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.475
ISBN: 9741711824
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.475
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanjai.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.