Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12385
Title: การกำจัดไซยาไนด์ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตและไทเทเนียมไดออกไซด์ในการไหลแบบต่อเนื่อง
Other Titles: Removal of cyanide using ultraviolet ray and Titanium dioxide in continuous flow
Authors: ปรัศนีย์ เจริญสิน
Advisors: พิชญ รัชฎาวงศ์
เขมรัฐ โอสถาพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fenprw@eng.chula.ac.th, Pichaya.R@Chula.ac.th
Khemarath.O@chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไซยาไนด์
ไซยาไนด์
รังสีเหนือม่วง
ไทเทเนียมไดออกไซด์
การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงต่อมนุษย์และสัตว์ พบในน้ำทิ้งจากโรงงานชุบโลหะ วิธีการกำจัดโดยทั่วไปคือการออกซิไดซ์ด้วยคลอรีน ซึ่งจะเกิดก๊าซไซยาโนเจนคลอไรด์ และไฮโปคลอไรท์ส่วนเกินจะยังคงความเป็นพิษอยู่ งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดไซยาไนด์ในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการออกซิเดชัน ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตและไททาเนียมไดออกไซด์ในการไหลแบบต่อเนื่อง เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการกำจัดไซยาไนด์ด้วยวิธีนี้ โดยจะควบคุมค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้นที่ 12.0 เพื่อความปลอดภัยจากกรดไฮโดรไซยานิก และควบคุมความเข้มข้นเริ่มต้นของไซยาไนด์เท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่า ที่ค่าความเข้มข้นของไททาเนียมไดออกไซด์เท่ากับ 0.05 กรัมต่อลิตร จะให้ค่าการกำจัดไซยาไนด์สูงสุด 98%-99% ที่ระยะเวลา 525 นาที เมื่อใช้อัตราการเติมอากาศ 0.5 ลิตรต่อนาที ที่ค่าความเข้มข้นไททาเนียมไดออกไซด์ 0.10 กรัมต่อลิตร จะให้ค่าการกำจัดไซยาไนด์สูงสุด 98%-99% ที่ระยะเวลา 450 นาที เมื่อใช้อัตราการเติมอากาศ 1.1 ลิตรต่อนาที และที่ค่าความเข้มข้นไททาเนียมไดออกไซด์ 0.50 กรัมต่อลิตร จะให้ค่าการกำจัดไซยาไนด์สูงสุด 98%-99% ที่ระยะเวลา 412 นาที เมื่อใช้อัตราการเติมอากาศ 2.2 ลิตรต่อนาที ซึ่งอัตราการเติมอากาศที่ดีที่สุดในการทดลองจะสัมพันธ์กับความเข้มข้นไททาเนียมไดออกไซด์ ในอัตราส่วนความเข้มข้นของไททาเนียมไดออกไซด์ต่ออัตราการเติมอากาศเท่ากับ 1:10 กรัม นาที ลิตร-2 เมื่อความเข้มข้นไททาเนียมไดออกไซด์เท่ากับ 0.05 และ 0.10 กรัมต่อลิตร แต่เมื่อความเข้มข้นของไททาเนียมไดออกไซด์เพิ่มเป็น 0.50 กรัมต่อลิตร อัตราการเติมอากาศที่เหมาะสมเมื่อคิดเทียบกับความเข้มข้นไททาเนียมไดออกไซด์กลับลดลงเป็น 1:4 กรัม นาที ลิตร-2 เนื่องจากความขุ่นของสารละลายเริ่มมีมากจนบดบังทางเดินของรังสีอัลตราไวโอเลต หากปริมาณและขนาดของฟองอากาศมีมากขึ้น การส่องผ่านของรังสีอัลตราไวโอเลตก็จะถูกขัดขวางมากขึ้นตามไปด้วย
Other Abstract: Cyanide was normally found in metal plating industrial wastewater which was toxic to human and animal life. Typical treatment process for cyanide treatment is alkaline chlorination, but after treating, toxic product, cyanogen chloride and excess hypochlorite still remained. This study investigated the effect on cyanide removal by using ultraviolet ray and Titanium dioxide in continuous flow. For safety, an initial pH solution was controlled at 12.0 due to hydrocyanic acid produced at lower pH and initial concentration of cyanide was fixed at 100 mg/l. The result showed that cyanide removal efficiency was 98-99% at 525 minutes under the condition of 0.05 mg/l of Titanium dioxide and 0.5 l/min airflow. The conditions, 0.10mg/l of Titanium dioxide and 1.1 l/min airflow at 450 minutes, and 0.50mg/l of Titanium dioxide and 2.2 l/min air flow at 412 minutes, cyanide removal efficiency was 98-99%. The optimum conditions of ratio of titanium dioxide concentration (mg/l) and air flow (l/min) was 1:10 at 0.05 and 0.10 g/l of titanium dioxide concentration. But if at the condition, 0.50 g/l of titanium dioxide concentration, the optimum ratio of Titanium dioxide concentration (mg/l) and air flow (l/min) was 1:4. The results indicated that turbidity of high titanium dioxide concentration and the large volume and size of air bubble obstructed the light of ultraviolet ray.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12385
ISBN: 9741425015
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prusanee.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.