Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12400
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับเจตคติของครูต่อนักเรียนชายที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
Other Titles: Factors related to attitude of teachers toward male students with sexual deviated behavior
Authors: กิรติ สุวรรณศรี
Advisors: พรรณระพี สุทธิวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Panrapee.S@chula.ac.th
Subjects: ความผิดปกติของเอกลักษณ์ทางเพศ
กามวิปริต
ความผิดปกติทางเพศ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับเจตคติของครูต่อนักเรียนชาย ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 640 คน จากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดขอนแก่น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ ปัจจัยที่ศึกษามี 21 ปัจจัย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางครอบครัว ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และวัดเจตคติโดยแบบวัดเจตคติต่อบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent Sample t-test และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1. ครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเขตพื้นที่ในเมือง กับครูที่อยู่ในเขตชนบทของจังหวัดขอนแก่น มีเจตคติต่อนักเรียนชายที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศไม่แตกต่างกัน 2. ครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่เขตกลางเมืองกับครูที่อยู่ในเขตชาน เมืองรอบนอกของกรุงเทพมหานคร มีเจตคติต่อนักเรียนชายที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศไม่แตกต่างกัน 3. ครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กับครูโรงเรียนระดับมัธยมในเขตจังหวัดขอนแก่น มีเจตคติต่อนักเรียนชายที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศไม่แตกต่างกัน 4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเจตคติของครูต่อนักเรียนชายที่มีพฤติกรรมเบี่ยง เบนทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 10.427, p < .001) ได้แก่ เพศหญิง ([beta] = .220) การเรียนจบวิชาคหกรรมศาสตร์ ([beta] = -.114) การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ([beta] = .095) การสอนวิชาแนะแนวหรือให้การปรึกษา ([beta] = -.083) และการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับมารดาของครู ([beta] = -.077) โดยทั้ง 5 ปัจจัยนี้ สามารถอธิบายเจตคติของครูได้ร้อยละ 7.0
Other Abstract: The purpose of this research was to study factors related to attitude of teachers toward male students with sexual deviated behavior. There were 640 teachers from Bangkok and Khon Kaen participated in the study. Subjects were selected by purposive sampling. Twenty one factors were studied and grouped under three domains; personal domain, family domain, and social-environmental domain. A self-administered questionnaire and The Attitude toward Homosexuality Scale were used in the study. Data were analyzed by independent sample t-test and stepwise multiple regression. The result of the study were as follows; 1. There was no difference in attitude toward male students with sexual deviated behaviors of teachers in urban and rural area of Khon Kaen. 2. There was no difference in attitude toward male students with sexual deviated behaviors of teachers in urban and sub-urban area of Bangkok 3. There was no difference in attitude toward male students with sexual deviated behaviors of teachers in Bangkok and Khon Kaen. 4. Factors significantly related to the attitude of teachers toward male students with sexual deviated behavior were female ([beta] = .220), educational background in Home Economics ([beta] = -.114), teaching Science ([beta] = .095), teaching Guidance ([beta] = -.083), and perception of parents relationship ([beta] = -.077). These factors were significantly related the attitude of teachers toward male students with sexual deviated behavior (F = 10.427, p < .001) and accounted for 7% of variability in such behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เพศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12400
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1814
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1814
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kirati.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.