Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12579
Title: ความน่าเชื่อถือของการหยั่งเสียงเลือกตั้งในสายตาของสาธารณชน ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Bangkok public perception of poll credibility
Authors: จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jaranai.G@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารทางการเมือง
การหยั่งเสียงมหาชน
ประชามติ
การเลือกตั้ง -- ไทย
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการศึกษาความน่าเชื่อถือของการหยั่งเสียงเลือกตั้งต่างๆ ในสายตาของสาธารณชน โดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามสำหรับทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อยู่อาศัยและมีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ที่รู้จักการหยั่งเสียงเลือกตั้ง จำนวน 600 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ได้แก่ t-test, One-Way ANOVA และ Multiple Regression ผลการวิจัยโดยสรุปมีดังนี้ 1. ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้บุคคล รายได้ครอบครัว แตกต่างกัน มีการรับรู้ชื่อบุคคลที่ทำการหยั่งเสียงเลือกตั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 2. ประชาชนมีความเชื่อถือต่อแหล่งสารในฐานะสำนักที่ทำการหยั่งเสียงเลือกตั้งแตกต่างกัน โดยประชาชนมีความเชื่อถือต่อ "สวนดุสิตโพล" สูงกว่าโพลอื่นๆ ส่วนในฐานะบุคคลที่ทำการหยั่งเสียงเลือกตั้งประชาชนมีความเชื่อถือต่อ "คุณสุทธิชัย หยุ่น" สูงกว่าบุคคลอื่นๆ 3. ความน่าเชื่อถือของการหยั่งเสียงการเลือกตั้งโดยรวมทุกด้านมีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือในการหยั่งเสียงเลือกตั้งมากกว่าตัวแปรอื่นๆ 4. สถาบันที่ทำการหยั่งเสียงเลือกตั้ง คือ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีอิทธิพลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความน่าเชื่อถือในการหยั่งเสียงเลือกตั้งได้มากกว่าตัวแปรอื่นๆ 5. ตัวแปรสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อความเชื่อถือในการหยั่งเสียงเลือกตั้งมากที่สุดคือ อายุ 6. การเปิดรับผลการหยั่งเสียงเลือกตั้งจากสื่อวิทยุ มีอิทธิพลทำนายความเชื่อถือในการหยั่งเสียงเลือกตั้งได้มากกว่าสื่ออื่นๆ แต่อยู่ในระดับน้อย 7. ความน่าเชื่อถือในแหล่งสารคือ การหยั่งเสียงเลือกตั้งมีอิทธิพลต่อการยอมรับในการหยั่งเสียงเลือกตั้ง
Other Abstract: The research is hypothesis oriented aims at finding public perception on poll credibility. The data is collected through field survey method which the data acquiring from 600 respondents who are residents of Bangkok are treated by t-test, One-Way ANOVA and multiple regression. The result of the research could be summed up as follows. 1. People difference in demographic characteristics are significantly different in perception on names of organizations organizing the polls at p. = .05. 2. Among the people different in perception on source credibility, 'Suan Dusit Poll' is named to be the most popular; as for persons as source creditility 'Khun Suthichai Yun' is named to be the most well-known. 3. It is found that the total credibility people have on poll affects their perception on poll survey result. 4. Among the organizations that organize the poll, 'ABAC' is significantly proved to be most accepted. 5. Among all demographic factors affecting people's credibility on poll, age plays the most important part. 6. In term of most potential predictive factor, it is found that people's exposure on radio plays most important part. 7. Credibility in source having affects on credibility poll result.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12579
ISBN: 9746372564
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jittima_Gu_front.pdf487.69 kBAdobe PDFView/Open
Jittima_Gu_ch1.pdf522.39 kBAdobe PDFView/Open
Jittima_Gu_ch2.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Jittima_Gu_ch3.pdf448.57 kBAdobe PDFView/Open
Jittima_Gu_ch4.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Jittima_Gu_ch5.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Jittima_Gu_back.pdf945.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.