Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12649
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พีระ จิรโสภณ | - |
dc.contributor.author | ธีระยุทธ ลาตีฟี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2010-05-11T06:27:34Z | - |
dc.date.available | 2010-05-11T06:27:34Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743329927 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12649 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของหนังสือพิมพ์ไทยในฐานะสถาบันทางสังคมว่ามีการสะท้อนภาพของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับขาวมุสลิม ซึ่งมีสถานภาพเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคมไทยออกมาอย่างไร ลักษณะใด เบี่ยงเบนไปในทิศทางใดหรือไม่ ตลอดจนนำเสนอภาพลักษณ์ของชาวมุสลิมออกมาเช่นไร โดยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับชาวมุสลิมทั้งในบริบทของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับชาวมุสลิมในประเทศไทยและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับชาวมุสลิมในต่างประเทศ ในหนังสือพิมพ์ไทย 4 ชื่อฉบับ ซึ่งเจาะจงเลือกมาเป็นตัวแทน คือไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน และไทยโพสต์ ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2541-31 ธันวาคม 2541 ผลการวิจัยพบว่า 1. หนังสือพิมพ์ไทยมีลักษณะการนำเสนอเนื้อหาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับชาวมุสลิม ในรูปแบบของข่าวเป็นหลัก โดยปรากฏอยู่ในหน้าต่างประเทศมากกว่าหน้าอื่นๆ และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญไม่มากนัก โดยมักนำเสนอเป็นหัวข่าวธรรมดา และหัวข่าวรองหน้าใน ส่วนประเภทเนื้อหาของเหตุการณ์ที่ถูกนำเสนอเป็นจำนวนมากที่สุดได้แก่เนื้อหาประเภทปัญหาสังคม-ความไม่สงบในสังคม-อาชญากรรม-วินาศกรรม, สงคราม การเคลื่อนไหวทางทหาร, การเมืองระหว่างประเทศ และการเมืองในประเทศ และเมื่อพิจารณาเนื้อหาในเชิงบวก-ลบ พบว่าเนื้อหาในเชิงลบ จะถูกนำเสนอมากกว่าเนื้อหาในเชิงบวก นอกจากนั้นยังพบอีกว่าหนังสือพิมพ์ไทยจะนำเสนอเนื้อหาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับชาวมุสลิมที่มีองค์ประกอบคุณค่าข่าวในด้านความเด่น, ความขัดแย้ง, ลึกลับ ซับซ้อนซ่อนเงื่อน และเร้าอารมณ์ความรู้สึก ค่อนข้างมาก สำหรับสถานที่เกิดเหตุการณ์ในเนื้อหา มักเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง มากกว่าภูมิภาคอื่นๆ 2. หนังสือพิมพ์ไทยมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม และสำนักข่าวในโลกตะวันตก มากกว่าแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคลชาวมุสลิม และสื่อสารมวลชนของมุสลิม 3. หนังสือพิมพ์ไทยมีความโน้มเอียงในการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นไปในทิศทางลบมากกว่าเนื้อหาในทิศทางบวกในเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับชาวมุสลิม 4. ภาพลักษณ์ของชาวมุสลิมที่ถูกนำเสนอในหนังสือพิมพ์ไทยเป็นภาพลักษณ์ในเชิงลบมากกว่าภาพลักษณ์ในเชิงบวก โดยภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอมากได้แก่ 1) กลุ่มภาพลักษณ์โจรก่อการร้าย/ก่อวินาศกรรม/มุสลิมหัวรุนแรง 2) กลุ่มภาพลักษณ์การจลาจล/ม็อบ/ประท้วง 3) กลุ่มภาพลักษณ์การฝ่าฝืน/ไม่ให้ความร่วมมือ/ละเมิดข้อตกลงสัญญา 4) กลุ่มภาพลักษณ์การทดลอง สั่งสม ซ่องสุมอาวุธร้ายแรง 5) กลุ่มภาพลักษณ์การประสบวิกฤติเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง | en |
dc.description.abstractalternative | The study focused on the portrayal of Muslims in the Thai-language newspapers to find out how the image of muslims, who are a minority group in Thailand, was presented and if stories were slanting. To this end, news and articles about Muslims, both at home and in foreign locations, were analyzed. The items were taken from four dailies: Thai Rath, Daily News, matichon and Thai Post between January 1, 1998 and December 31, 1998. The findings are as follows: 1. Most of the Muslims events were news reports printed in the foreing news section. They rarely appeared as lead stories and were mostly found in the inside pages. Among the stories covered involved social problems, social disturbances, crimes, sabotage, conflicts, military exercises as well as local and international politics. The newspapers put more emphasis on the negative aspects of the news which were usually accompanied by one of the following elements: oddity, conflict, mystery, and sensation. Most of the events occurred in Southeast Asia and the Middle East. 2. The newspapers relied more on Western or other news sources than Muslim sources or Muslim mass media 3. The newspapers tended to portray more of the negative aspects of the news involving Muslims. 4. The Unfavorable images of Muslims were more prevalent in the newspapers. Muslims were usually portrayed as 1) terrorists/saboteurs/Muslim fundamentalists; 2) rioters/mobs/demonstrators; 3) violators/non-conformists/breakers of agreements; 4)buyers of powerful weapons; and 5) victims of severe economic crises. | en |
dc.format.extent | 456783 bytes | - |
dc.format.extent | 1084195 bytes | - |
dc.format.extent | 3421443 bytes | - |
dc.format.extent | 788295 bytes | - |
dc.format.extent | 2078202 bytes | - |
dc.format.extent | 2828581 bytes | - |
dc.format.extent | 469246 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การวิเคราะห์เนื้อหา | en |
dc.subject | มุสลิม -- ไทย | en |
dc.subject | หนังสือพิมพ์ | en |
dc.title | การสะท้อนภาพของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับชาวมุสลิมในหนังสือพิมพ์ไทย | en |
dc.title.alternative | The portrayal of muslim events in Thai newspapers | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การหนังสือพิมพ์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pira.C@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Theerayut_La_front.pdf | 446.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Theerayut_La_ch1.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Theerayut_La_ch2.pdf | 3.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Theerayut_La_ch3.pdf | 769.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Theerayut_La_ch4.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Theerayut_La_ch5.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Theerayut_La_back.pdf | 458.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.