Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13029
Title: การพัฒนาโมเดลบูรณาการเชิงสาเหตุของความวิตกกังวัลในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A development of the integrated causal model of anxiety in conducting thesis of graduate students, Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: วินัย ปานโท้
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suchada.B@Chula.ac.th
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นักศึกษา
ลิสเรลโมเดล
ความเครียด (จิตวิทยา)
ความวิตกกังวล
วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลของตัวแปรที่เป็นสาเหตุของความวิตกกังวล ในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามทฤษฎีความเครียดของ Lazarus and Folkman ทฤษฎีความคาดหวังของ Lawler and Porter และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โมเดลลิสเรลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝง 8 ตัว คือ การสนับสนุนทางสังคม องค์ประกอบด้านบุคคล องค์ประกอบด้านเหตุการณ์ ความขัดแย้งในบทบาท การเห็นคุณค่าในตนเอง ความพึงพอใจ ความเครียด และความวิตกกังวลในการทำวิทยนิพนธ์ และตัวแปรสังเกตได้ 17 ตัว กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นิสิตบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เข้าศึกษาเมื่อปีการศึกษา 2538-2540 และกำลังศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์) ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2541 จาก 10 ภาควิชา 1 สาขาวิชา จำนวน 258 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ อัตราการตอบกลับคิดเป็น 73.02% วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows 7.5 ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรมลิสเรล 8.10 ในการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ประเภทมีตัวแปรแฝง (Latent variables) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โมเดลที่ดีที่สุดได้แก่ โมเดลที่รวมตัวแปรจากทั้ง 2 ทฤษฎีเข้าด้วยกัน โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความวิตกกังวลในการทำวิทยานิพนธ์ ได้ร้อยละ 89.7 ผลการตรวจความตรงของโมเดล มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 114.082; p = .0887 ที่องศาอิสระ 95 GFI = .941, X2/df เท่ากับ 1.201 ตัวแปรที่ให้ค่าอิทธิพลรวมต่อความวิตกกังวลในการทำวิทยานิพนธ์สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ คือ ความเครียด รองลงมา คือ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความขัดแย้งในบทบาท องค์ประกอบด้านบุคคล องค์ประกอบด้านเหตุการณ์ และความพึงพอใจ
Other Abstract: The purpose of this research was develop a causal model of anxiety in conducting thesis of graduate students, Faculty of Education, Chulalongkorn University, based on the stress theory of Lazarus and Folkman, the expectancy theory of Lawler and Porter, and the literatures involed. The developed models consisted of seventeen observed variables and eight latent variables : social support, personal factors, stituational factors, role conflict, self esteem, satisfaction, stress, and thesis anxiety. The sample consisted of 258 gruduate students who enrolled during the academic year 1995 to 1997 in 10 departments and 1 field of Faculty of Education, Chulalongkorn University and were conducting thesis in academic year 1998. Mail questionnaires were employed with 73.02% return rate of response. Descriptive statistics were analyzed through SPSS for Windows version 7.5 and path analysis with latent variables through LISREL version 8.10. The result indicated that the best model was the model including variables from two theories. The model could explain the variance of anxiety about 89.7 percent. Model validation of the best fitted model provided the chi-square goodness-of-fit test of 114.082; p = .0887, GFI = .941 and X2/df = 1.201. Variables that have the highest total effect on thesis anxiety was stress followed by self esteem, role conclict, personal factors, stiuational factors and satisfaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13029
ISBN: 9743330658
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winai_Pa_front.pdf554.25 kBAdobe PDFView/Open
Winai_Pa_ch1.pdf719.71 kBAdobe PDFView/Open
Winai_Pa_ch2.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Winai_Pa_ch3.pdf604.53 kBAdobe PDFView/Open
Winai_Pa_ch4.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Winai_Pa_ch5.pdf803.79 kBAdobe PDFView/Open
Winai_Pa_back.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.