Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13210
Title: การปรับปรุงระบบแผนงานการผลิตในการชุบเคลือบผิวชิ้นงานแบบถังกลิ้ง
Other Titles: Production planning system improvement in barrel plating process
Authors: ดวงกมล สมบูรณ์มนัสชัย
Email: Vanchai.R@chula.ac.th
Advisors: วันชัย ริจิรวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การวางแผนการผลิต
การกำหนดงานการผลิต
การชุบเคลือบผิวโลหะ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรับปรุงระบบแผนงานการผลิตในการชุบเคลือบผิวชิ้นงานแบบถังกลิ้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโรงงานผลิตอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณ ส่วนงานการชุบเคลือบผิวชิ้นงานแบบถังกลิ้งนี้เป็นปัจจัยหลัก ที่ส่งผลต่อผลผลิตของอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณ ความบกพร่องในการจัดแผนงานผลิตจึงมีผลกระทบต่อส่วนงานผลิตถัดไป ที่ต้องนำชิ้นงานไปทำการผลิตต่อ และมีผลให้การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าไม่ตรงตามกำหนด จึงเป็นส่วนที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น จากการศึกษาสามารถสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ปัญหาการวางแผนและการควบคุมการผลิต ปัญหาประสิทธิภาพทางการผลิต ปัญหาด้านเวลาที่ใช้ในการผลิตงาน ปัญหาการจัดตารางการผลิตและปัญหาการประสานงาน ในการดำเนินการปรับปรุงค่าเวลาที่ใช้ในการผลิต การจัดตารางการผลิต ระบบการประสานงานระหว่างหน่วยงาน และปรับปรุงวิธีการในการลงบันทึกการผลิตประจำวันให้ตรงกับเวลาที่ใช้ในการทำงานจริง ทำให้สามารถปรับปรุงระบบแผนงานการผลิตได้ดีขึ้น จากผลการดำเนินการปรับปรุงระบบแผนงานการผลิตในส่วนชุบโลหะแบบถังกลิ้งนี้ โดยพิจารณาจากจำนวนล็อตผลิตทั้งหมด ทำให้ส่วนงานผลิตชุบแบบถังกลิ้งสามารถส่งมอบงานภายในระยะเวลา ที่ฝ่ายวางแผนกำหนดเพิ่มจาก 46.76% เป็น 71.24% และสามารถลดจำนวนงานที่ส่งมอบช้าที่มีสาเหตุจากฝ่ายชุบโลหะจาก 40.52% เป็น 6.73% ซึ่งก่อนปรับปรุงงานงานที่ส่งมอบช้าเกิน 7 วันคิดเป็น 10.73% หลังปรับปรุงสามารถทำให้ไม่มีงานที่ส่งมอบช้าเกิน 5 วัน ด้านดัชนีชี้วัดเวลาในการผลิตเมื่อเทียบกับเวลามาตรฐานนั้นก่อนการปรับปรุงคือ 73.66% ซึ่งเป็นค่าที่ไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากสภาพปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหลังจากการปรับปรุงแล้วค่าที่ได้คือ 105.86% ของเวลามาตรฐาน และค่าที่ได้นี้มีความถูกต้องตรงกับเวลาที่ใช้ในการผลิตจริง ด้านวิธีการจัดตารางการผลิตสามารถช่วยให้เกิดความสะดวกในการทำงาน และพนักงานทุกคนสามารถทำงานนี้ได้ และจากการปรับปรุงนี้ทำให้สามรรถผลิตงานได้เพิ่มขึ้น 27.59% ของจำนวนการผลิตก่อนปรับปรุง ซึ่งทำให้ไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต นอกจากนี้ข้อมูลในระบบใหม่และวีธีที่ปรับปรุงยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนงานและควบคุมการผลิตในส่วนงานผลิตชุบแบบถังกลิ้งได้ตรงตามสภาพการทำงานจริง ซึ่งส่งผลให้สามารถการวางแผนการผลิตสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: To improve production planning system in barrel plating process which is the main production process of connector factory. The barrel plating process affects the productivity of the production and delivery. Therefore, the production planning on this process needs to study for improvement. From the production planning system improvement in barrel plating process, it is revealed the there exists production planning and control as well as efficiency, working time, daily production scheduling and coordination problems. So coordination system, standard time and working time method, daily production scheduling and daily production scheduling and daily production record with actual production have been improved for better production planning operation. The result from the improvement in the production plan in barrel plating process as shown in the percent delivery on time is better from 46.76% to 71.24% by before improved late from plating was 40.52% and later over 7 day was 10.73% but after improve can reduce late from plating to 6.73% and not late over 5 day. For working time indicator that compare with standard time before improved was 73.66% but this value not reliability and after improve reliability value is 105.86%. Daily production scheduling after improve it’s easy to do and all operator in barrel plating section can do. Finally, all improvement activities can increase productivity to 27.59% by not investment new plating machine. Furthermore, by the new system and new methodology can generate better production plan.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13210
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1136
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1136
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
duangkamon_s.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.