Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1344
Title: การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องของการจัดระบบความปลอดภัยต่อประชาชนในงานก่อสร้างทาง
Other Titles: A study of factors contributing to the inadequacy in highway construction safety system for public
Authors: ยงค์สวัสดิ์ ลิมปิศิริสันต์
Advisors: ธนิต ธงทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fcettt@eng.chula.ac.th
Subjects: ถนน -- การออกแบบและการสร้าง -- มาตรการความปลอดภัย
อุบัติเหตุ -- การป้องกัน
ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อระบุปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดความบกพร่องในมาตรการความปลอดภัยต่อประชาชนในขณะก่อสร้างทาง และเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยของประชาชนในขณะก่อสร้างทาง งานวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารสัญญา แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และการสำรวจสถานที่ปฏิบัติงานก่อสร้างทาง เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องและสาเหตุของความบกพร่องในมาตรการความปลอดภัยต่อประชาชนที่เกิดขึ้นในกิจกรรมงานก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มทำสัญญาจนถึงการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง งานวิจัยนี้ใช้แนวทางของระบบการบริหารความปลอดภัยของ Federal Highway Administration (FHWA) ร่วมกับข้อบกพร่องเบื้องต้นที่ได้จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบระบบความปลอดภัยต่อประชาชนของประเทศไทย โดยแบ่งหัวข้อในการตรวจสอบระบบความปลอดภัยต่อประชาชนในงานก่อสร้างทางเป็น 9 หัวข้อได้แก่ 1. นโยบายในระบบความปลอดภัย 2. ความสัมพันธ์ของหน่วยงานก่อสร้างกับชุมชน 3. การวางแผน และเตรียมการก่อนการก่อสร้าง 4. สัญญาจ้างก่อสร้างและการประมูลงานก่อสร้าง 5. ข้อกำหนดการก่อสร้าง แบบรูป และมาตรฐานความปลอดภัย 6. การบังคับใช้กฎหมาย 7. เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย 8. การประเมินผลงานด้านความปลอดภัย 9. บุคคลในงานก่อสร้าง ในการตรวจสอบระบบความปลอดภัยต่อประชาชนในงานก่อสร้างทาง ใช้แบบสอบถามโดยให้ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายผู้รับจ้างที่สุ่มเลือกจากผู้รับจ้างทางที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับจ้างทางชั้นหนึ่งเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม และทำการตรวจสอบผลของแบบสอบถามและการวิเคราะห์โดยให้ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายผู้ว่าจ้างแสดงความเห็นต่อผลการสำรวจและการวิเคราะห์ จากการตรวจสอบระบบความปลอดภัยต่อประชาชนในงานก่อสร้างทางพบว่า แต่ละหัวข้อที่ทำการตรวจสอบเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นในระบบความปลอดภัย และส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับความปลอดภัยจากงานก่อสร้างทางอย่างเพียงพอ ในงานวิจัยได้นำเสนอแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องเบื้องต้นในแต่ละหัวข้อ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบบริหารความปลอดภัยในงานก่อสร้างทางให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
Other Abstract: The objectives of the research are to investigate factors contributing to the inadequacy in highway construction safety system for public and to recommend the improvement of the safety system. This research collects the information from contract document, questionnaire, expert interview and construction site survey to explore the causes of deficiency of the safety system for public. The criteria for auditing the safety system for public are based on Federal Highway Administration (FHWA) safety management and expert interview. Thirty-seven contractors are surveyed based on 9 topis including (1) safety policy, (2) public relation and education, (3) safety planning and programming, (4) contracting and bidding procedures, (5) specifications, drawings and safety standards, (6) regulation enforcement, (7) utilization of modern technology, (8) safety evaluation and feedback, and (9) effects from personal in construction. The contractor experts are randomly selected from first class registered contractors. The survey result and analysis are validated by the owner experts. The survey and analysis show causes and effets which are factors contributing to the inadequacy in highway construction safety system for public. The research also recommends basic guidelines to improve the safety system for public in Thailand highway construction.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1344
ISBN: 9741713444
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yongsawas.pdf16.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.