Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13636
Title: | ผลของการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการอ่าน ภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Effects of collaborative strategic reading instruction on Thai reading comprehension abilities of lower secondry school students |
Authors: | พรรณนภา เพิ่มพูล |
Advisors: | กมลมนัสชท์ บัณฑิตยานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การอ่าน ภาษาไทย -- การอ่าน การทำงานกลุ่มในการศึกษา ความเข้าใจในการอ่าน นักเรียนมัธยมศึกษา |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษา 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างก่อนและหลังการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ 2) ความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น หลังการทดลองสอนอ่านโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านด้วยกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ กับนักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโสธรพิทยาคม จังหวัดยโสธร ปีการศึกษา 2549 จำนวน 2 ห้องๆ ละ 50 คน กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง สอนอ่านโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม สอนอ่านโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบปกติ ผู้วิจัยดำเนินการสอนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเอง ใช้เวลาสอนกลุ่มละ 2 คาบ ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ มีความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจอยู่ในระดับดี โดยมีค่ามัธฌิมเลขคณิตของความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจคิดเป็น 76.10% 2. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ มีความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | To 1) compare Thai reading comprehension abilities of lower secondary school students before and after they have been taught by collaborative strategic reading, 2) study Thai reading comprehension abilities of lower secondary school students after they have been taught by collaborative strategic reading, 3) compare Thai reading comprehension abilities of lower secondary school students taught by collaborative strategic reading with those taught by conventional instruction. The subjects were two classes of mathayom suksa two students purposefully selected at Yasothonpitthayakom School, Yasothon in the academic year of 2006. There were 50 students in each class; one class was assigned to be the experimental group taught by collaborative strategic reading; and the other was the controlled group taught by conventional instruction. The researcher taught each group 2 periods a week for 8 weeks. The research instrument was the Thai reading comprehension abilities test. The collected data were analyzed by arithmetic means, the percentage of arithmetic means, standard deviation (s) and t-test. The research results revealed that 1. Thai reading comprehension abilities of lower secondary school students taught by collaborative strategic reading was significantly higher than before receiving instruction at the level of .05 and at good level with the percentage of arithmetic mean of 76.10. 2. Thai reading comprehension abilities of lower secondary school students taught by collaborative strategic reading was higher than those taught by conventional instruction at the .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสอนภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13636 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.544 |
DOI: | 10.14457/CU.the.2006.544 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pannapa.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.