Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13934
Title: การศึกษาเปรียบเทียบผลการทดสอบโดยการกระตุ้นทางจมูกด้วยสารไลซีนอะเซทิลซาลิไซเลทในผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ยากลุ่มแอสไพริน/ยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ และ/หรือยาอะเซตามิโนเฟนแบบเฉียบพลัน ระหว่างกลุ่มทีมีอาการต่อเยื่อบุและผิวหนังกับกลุ่มที่มีอาการต่อระบบทางเดินหายใจ
Other Titles: Comparison of nasal provocation test with Lysine-Acetylsalicylate (ASA) in patient with Aspirin/Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs (NSAIDS) and/or Acetaminophen immediate sensitivity reactions with mucocutaneous symptoms and respiratory symptoms
Authors: ภัทรวรรณ ภูติวรนาถ
Advisors: เจตทะนง แกล้วสงคราม
เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Jettanong.K@Chula.ac.th
Kiat.R@Chula.ac.th
Subjects: ไลซีนอะเซทิลซาลิไซเลท
การแพ้ยา
แอสไพริน
ยาแก้ปวด
อะเซตามิโนเฟน
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา : การวินิจฉัยภาวะแพ้ยากลุ่มแอสไพริน/ยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ และ/หรือ ยาอะเซตามิโนเฟนที่ได้มาตรฐานที่สุดคือการทดลองรับประทานยาที่มีอาการแพ้ แต่ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลขณะทำการทดสอบ และเสี่ยงกับผลข้างเคียงที่รุนแรง การทดสอบโดยการกระตุ้นทางจมูกด้วยสารไลซีนอะเซทิลซาลิไซเลทเป็นวิธีทางเลือกในผู้ป่วยแพ้ยากลุ่มนี้ชนิดที่มีอาการต่อระบบทางเดินหายใจ โดยสามารถทดสอบแบบผู้ป่วยนอกได้อย่างปลอดภัย ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่นำการทดสอบโดยการกระตุ้นทางจมูกมาทดสอบในผู้ป่วยแพ้ยากลุ่มนี้ชนิดที่มีอาการต่อเยื่อบุและผิวหนัง เปรียบเทียบกับผู้ป่วยแพ้ยากลุ่มนี้ชนิดที่มีอาการต่อระบบทางเดินหายใจมาก่อน เครื่องมือและวิธีวิจัย : ผู้ป่วย 17คน ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มแอสไพริน/ยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ และ/หรือ ยาอะเซตามิโนเฟนที่มีอาการต่อเยื่อบุและผิวหนัง และผู้ป่วย 17คน ที่มีอาการต่อระบบทางเดินหายใจ ได้รับการ ทดสอบโดยการกระตุ้นทางจมูกด้วยสารไลซีนอะเซทิลซาลิไซเลทแบบผู้ป่วยนอกตามแนวทางของ EAACI/GA2LEN โดยผลบวกของการทดสอบ คือ คะแนนทางอาการแสดง [มากกว่าหรือเท่ากับ] 5 และ/หรือ ปริมาตรรวมของโพรงจมูกลดลงหลังทำการทดสอบร้อยละ 25 จากการตรวจด้วย เครื่องอะคูสติกไรโนเมตรีย์ โดยมีอาสาสมัครที่ไม่แพ้ยาในกลุ่มนี้ 9 รายร่วมทดสอบและไม่พบผลบวกในอาสาสมัครเลย ผลการวิจัย : พบผลบวกในผู้ป่วย 9 จาก 17 คน (52.94%) ในกลุ่มที่มีอาการต่อเยื่อบุและผิวหนัง และ 12 ใน 17 คน(70.59%) ของกลุ่มที่มีอาการต่อระบบทางเดินหายใจโดยผลการกระตุ้นทางจมูกของ 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)และไม่มีผู้ป่วยหรืออาสาสมัครรายใดที่เกิดผลข้างเคียงจากการทดสอบที่รุนแรง หรือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการทดสอบ สรุปผลการวิจัย : การทดสอบโดยการกระตุ้นทางจมูกด้วยสารไลซีนอะเซทิลซาลิไซเลทมีประโยชน์ในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มแอสไพริน/ยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ และ/หรือยาอะเซตามิโนเฟน โดยช่วยเลี่ยงการทดสอบการรับประทานยาที่มีอาการแพ้โดยไม่จำเป็น ทั้งในผู้ป่วยแพ้ยากลุ่มนี้ชนิดที่มีอาการต่อเยื่อบุและผิวหนังแบบเฉียบพลันและกลุ่มที่มีอาการต่อระบบทางเดินหายใจ โดยไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการทดสอบดังนั้นการทดสอบโดยการกระตุ้นทางจมูกด้วยสารไลซีนอะเซทิลซาลิไซเลทจึงเป็นทางเลือกในการวินิจฉัยภาวะแพ้ยากลุ่มนี้ ที่สามารถทำการทดสอบแบบผู้ป่วยนอกได้อย่างปลอดภัย
Other Abstract: Background: Oral provocation test is the gold standard to diagnose ASA/NSAIDs hypersensitivity, however, patients need to be hospitalized and possible have a risk of systemic reaction. Nasal Provocation test (NPT) with Lysine-Acetylsalicylate (ASA) was reported to have a good sensitivity and high specificity in the diagnosis of ASA/NSAIDs induced respiratory reactions and can be safely performed in outpatient clinic. No comparative study of NPT results between ASA/NSAID-induced mucocutaneous symptoms and ASA/NSAID-induced respiratory symptoms has been performed. Methods: 17 patients with history of ASA/NSAIDs induced mucocutaneous symptoms (8 Urticaria, 4 Angioedema, 5 Urticaria with Angioedema) and 17 patients with history of ASA/NSAIDs induced respiratory symptoms (2 Asthma, 7 Rhinitis, 8 Rhinitis with Asthma) have been performed NPT with Lysine-ASA according to the EAACI/GA2LEN guidelines. Positive NPT was defined if symptom scores [is more than or equal to] 5 and/or 25% decrease of total nasal volume compared to baseline. Results: 9/17 (52.94%) of patients with ASA/NSAIDs induced mucocutaneous symptoms had a positive NPT response, comparing to 12/17 (70.59%) of those with respiratory symptoms. There was no statistically significant difference between two groups (p > 0.05). None of patients and healthy controls had severe reactions or required hospital admission. No ASA/NSAID tolerant subjects (9 healthy controls) developed positive NPT response with Lysine-ASA. Conclusions: Our study demonstrates that NPT with Lysine-ASA has beneficial to avoid an unnecessary oral provocation test to diagnose patients with ASA/NSAIDS hypersensitivity, either mucocutaneous symptoms or respiratory symptoms, without serious side effects. Thus Lysine-ASA NPT may be used as the alternative method in the diagnosis of ASA/NSAIDs hypersensitivity in outpatient settings including patients with mucocutaneous reaction. A larger prospective study is however warranted.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13934
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.518
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.518
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattarawan_Pu.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.