Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14778
Title: การปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ในครอบครัว : กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Adaptation of care givers for aids patients in the family : a case study of Samut Prakan Province
Authors: อรุณวรรณ มุขแก้ว
Advisors: กาญจพรรษ กอศรีพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kanjapat.K@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ดูแล
โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ในครอบครัว ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้ดูแล กระบวนการ ปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัวของผู้ดูแล รวมทั้งเพื่อให้ข้อมูลและเสนอแนะแนวทางแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ดูแล ประชากรในการวิจัย คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ในครอบครัวในจังหวัดสมุทรปราการ และกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลจำนวน 100 ราย กรอบแนวคิดของงานวิจัยนี้ประกอบด้วยตัวแปรอิสระ 11 ตัว และมีตัวแปรตามคือ การปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ในครอบครัว งานวิจัยใช้ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในเชิงปริมาณมีจำนวนตัวอย่าง 100 รายซึ่งถูกเลือกอย่างเจาะจงจากรายชื่อผู้ป่วยในโครงการพิเศษของแต่ละโรงพยาบาล เครื่องมือเชิงปริมาณคือ แบบสอบถามปลายปิด และเครื่องมือเชิงคุณภาพคือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายกรณีจำนวน 10 ราย โดยคัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่าง 100 รายที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่พาผู้ป่วยเอดส์มารับยาต้านไวรัสเอดส์ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลบางบ่อ โรงพยาบาลบางพลี โรงพยาบาลบางจาก และโรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์สวาทยานนท์ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า มีผู้ดูแลเพียงร้อยละ 17 ที่เปิดเผยต่อสังคมว่าตนเองเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ โดยในภาพรวม ทั้งผู้ดูแลเพศชายและเพศหญิงสามารถปรับตัวได้ระดับปานกลาง การวิเคราะห์การถดถอยแบบง่าย พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ, สถานภาพสมรส, ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเอดส์, ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเอดส์, ทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์, การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยเอดส์, การสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางการแพทย์, การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว และความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุขั้นตอน พบว่า การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวสามารถอธิบายการแปรผันของการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ได้ดีที่สุด ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า กระบวนการปรับตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ในครอบครัวสามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะการรับรู้ ผู้ดูแลปรับตัวโดยการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก แสวงหากำลังใจและแหล่งให้ความช่วยเหลือซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 เป็นระยะการเรียนรู้ ผู้ดูแลปรับตัวโดยการเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วย เรียนรู้วิธีการดูแลตนเอง และเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตในฐานะผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ และระยะที่ 3 เป็นระยะการยอมรับ ผู้ดูแลจะปรับวิธีการดูแลผู้ป่วย ปรับวิธีการดูแลตนเอง และปรับวิธีการดำเนินชีวิตในฐานะผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัวด้านร่างกาย คือ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาการปรับตัวด้านจิตใจ คือ ความวิตกกังวลและกดดันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาการปรับตัวด้านสังคม คือ ความรู้สึกอับอายและความกลัวการถูกรังเกียจจากสังคม ปัญหาการปรับตัวด้านเศรษฐกิจ คือ ความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ข้อเสนอแนะจากการสังเคราะห์ผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คือ 1) ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ควรมีการรวมกลุ่มกันเป็นองค์กรประชาสังคมเพื่อสร้างรายได้เสริม โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ช่วยเหลือเมื่อจำเป็น และเพิ่มศักยภาพของตนเองให้มีความแข็งแกร่งพอที่จะอยู่ในสังคมได้แม้จะถูกตีตราบาปและเลือกปฏิบัติ 2) สมาชิกในครอบครัวควรมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ในครัวเรือนของตน และให้การสนับสนุนด้านจิตใจต่อผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์ 3) ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในโรงพยาบาลต่างๆ ควรสร้างเสริมศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ที่รับผิดชอบดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เพื่อให้สามารถทำงานในเชิงรุกได้ทั้งในและนอกโรงพยาบาล 4) งานวิจัยในอนาคตควรศึกษาเรื่องที่ยังไม่เคยศึกษามาก่อน เช่น กระบวนการที่ผู้ดูแลและผู้ป่วยเอดส์เต็มใจที่จะเปิดเผยสถานภาพของตนเอง และกระบวนการที่ทำให้คนในสังคมลด/เลิกการตีตราบาปและการเลือกปฏิบัติ
Other Abstract: The objectives of this research are to study: 1) care givers' adaptation in caring for AIDS patients in the family; 2) factors affecting the care givers' adaptation : 3) process, problems and barriers in the adaptation of the care givers and 4) to provide useful information and recommendations to relevant agencies to assist the care givers. The population is those working in Samutprakan Province, and the total sample is 100 care givers. The research framework comprises 11 independent variables, with care givers' adaptation as the dependent variable. The research uses both quantitative and qualitative approaches. For quantitative method, the sample comprised 100 cases, purposively selected from the patient lists in a special project. The tool is close-ended questionnaires. For qualitative approach, the sample size was 10 cases chosen from the 100 cases and the tool was in-depth interview. The research's sample is caregivers for AIDS patients, who accompanied them to receive Anti Retroviral Drugs at five hospitals: Samutprakan Hospital, Bang-Bo Hospital, Bang-Plee Hospital, Bang-Chak Hospital, and Phrasamutchedee Swatthayanon Hospital. The quantitative results showed that of the 100 cases, only 17% reveal their status as AIDS patient’s caregivers and that as a whole, both male and female caregivers could moderately adapt. The Simple Regression Analysis shows that age, psychological status, relation with AIDS patients, knowledge in and attitudes about providing care for AIDS patients, social support from family's members, and from medical professionals have statistically significant relation to the adaptation of care givers for AIDS patients in family. The Multiple Regression Analysis shows that attitudes in providing care for AIDS patients, social support from medical professionals, as well as from family's members and knowledge in providing care for AIDS patients have statistically significant relations with care givers' adaptation. The Stepwise Multiple Regression Analysis shows that two factors contribute most to the adaptation, namely, social support from family's members can best explain the care givers' adaptation. The qualitative results found that there are three stages in the adaptation process. During the first stage of recognition, caregivers adapted themselves by controlling their emotions and feelings, as well as seeking encouragement and assistance mainly from family members and relevant service providers. The second stage was the learning stage. The caregivers adapted themselves by: 1) learning how to take care of AIDS patients; 2) learning how to take care of themselves, and 3) learn how to live their own lives. The third stage was that of acceptance, the caregivers: 1) improve their ability with regards to how to better take care of AIDS patients; 2) how better to take care of themselves; and 3) how better to live their lives. Problems and barriers in their adaptation related to physical, psychological, social and economic factors. They have not enough rest, feel stressful and pressured, as well as having been fearful of stigma and discrimination. Lastly they feel worried about increasing medical and household expenses. The consolidation of both quantitative and qualitative findings leads to the recommendations that: 1) the care givers should organize themselves into civil society organizations (CSOs) to generate extra income with the assistance from the health service providers, if necessary and strengthen themselves to live within society despite of current stigma and discrimination; 2) family members should participate in caring for AIDS patients in their household and provide psychological support to the care givers; 3) decision makers in hospitals should build the capacity of medical personnel who are responsible for HIV/AIDS patients should a future objective of the hospitals so as to enable them to work in a proactive manner both within and outside of the hospitals and should provide mandate that care givers be assisted by the later in providing regular orientations.; 4) future research should focus on unexplored issues, e.g., the process whereby care givers and AIDS patients willingly reveal their status, and the process whereby the public stop stigmatizing and discriminating against the former.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14778
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1890
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1890
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunwan_Mu.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.