Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1524
Title: การใช้น้ำมันปาล์มดีเซลในเครื่องยนต์ CI ชนิดห้องเผาไหม้ล่วงหน้าของรถบรรทุกขนาดเล็ก
Other Titles: Using palm oil blending in diesel fuel for indirect injection Cl engine for light-duty pick-up truck application
Authors: เทอดศักดิ์ ชัยสุริยะพันธ์, 2522-
Advisors: คณิต วัฒนวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fmekwt@eng.chula.ac.th, Kanit.W@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องยนต์ดีเซล
เครื่องยนต์สันดาปภายใน
น้ำมันดีเซล
น้ำมันปาล์ม
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาถึงความเหมาะสมของการใช้น้ำมันปาล์มดิบผสมดีเซล เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์จุดระเบิด ด้วยการอัดชนิดห้องเผาไหม้ล่วงหน้าแบบหมุนวนในงานวิจัยนี้แบ่งได้เป็น 3 ส่วน เริ่มต้นจากการหาส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) กับน้ำมันดีเซล แล้วจึงเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องยนต์เมื่อใช้เชื้อเพลิงทั้งสองชนิด จากนั้นเฝ้าติดตามทดสอบความทนทานของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบผสมดีเซลอย่างต่อเนื่อง ผลการทดสอบพบว่า ส่วนผสมที่เหมาะสมคือ น้ำมันปาล์มดิบ 10% ซึ่งผ่านการอุ่นให้มีอุณหภูมิ 60 ํC ผสมกับน้ำมันดีเซล 90% โดยปริมาตร ส่วนผลการทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์ เปรียบเทียบระหว่างการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันปาล์มดิบผสมดีเซล ที่สภาวะภาระสูงสุดพบว่า ค่าแรงบิดเบรกสูงสุดที่แต่ละความเร็วรอบจากการใช้น้ำมันปาล์มดิบผสมดีเซล มีค่าไม่แตกต่างจากการใช้น้ำมันดีเซล โดยค่าแรงบิดเบรกที่ได้จากการใช้น้ำมันปาล์มดิบผสมดีเซล ที่ความเร็วรอบต่ำถึงรอบปานกลางมีค่าสูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซลเล็กน้อย การใช้น้ำมันปาล์มดิบผสมดีเซลให้อัตราการสิ้นเปลื้องเชื้อเพลิงเบรก และอุณหภูมิไอเสียสูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซลตลอดช่วงการทำงาน ส่วนผลการทดสอบที่สภาวะภาระบางส่วนพบว่า อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเบรกจากการใช้น้ำมันปาล์มดิบผสมดีเซล สูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซล ขณะที่อุณหภูมิไอเสียจากการใช้เชื้อเพลิงทั้งสองชนิดมีค่าใกล้เคียงกัน สำหรับการทดสอบความทนทานของเครื่องยนต์ภายใต้สภาวะการใช้งานแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งเป็นการใช้งานต่อเนื่องภายใต้วัฎจักรภาระจำลองที่กำหนด (โดยในการวิจัยนี้ได้ดัดแปลงมาจาก EMA test cycle เป็นระยะเวลา 225 ชั้วโมง บนแท่นทดสอบ และส่วนที่สองเป็นการใช้งานโดยนำเครื่องยนต์ ไปใช้ขับเคลื่อนรถบรรทุกขนาดเล็กภายใต้ลักษณะการใช้งานปกติ ในสิ่งแวดล้อมจริงเป็นระยะทางประมาณ10,000 กิโลเมตร หลังการทดสอบความทนทานส่วนแรกพบว่า สมรรถนะที่ได้มีค่าลดลงตลอดช่วงความเร็ว โดยค่าแรงบิดเบรกสูงสุดมีค่าลดลงประมาณ 9% อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเบรกมีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุดประมาณ 5% ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่นซึ่งสุ่มอย่างต่อเนื่องตลอดการทดสอบ ภายใต้วัฎจักรจำลองพบว่า ในช่วงปลายก่อนครบอายุการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นตามที่บริษัทผู้ผลิตและนำ ทั้งค่าความหนืดและปริมาณโลหะ (Fe, Cr, AI) ที่ปนเปื้อนในน้ำมันหล่อลื่นมีค่าสูงเกินเกณฑ์ปกติที่กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่าผลจากความหนืดส่งผลให้มีการสึกหรอเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูงและผลการตรวจพินิจชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์หลังการทดสอบพบว่า ที่หน้าหัวฉีดมีคราบตะกอนจับหนาจนทำให้การฉีดไม่เป็นละอองฝอย ทำให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ลดลง นอกจากนี้ยังพบว่ามีคราบเขม่า ตะกรันและยางเหนียวอยู่บริเวณร่องแหวนลูกสูบ ที่ผนังห้องเผาไหม้และบริเวณลูกสูบเป็นจำนวนมาก ซึ่งน่าจะเกิดมาจากคุณสมบัติของเชื้อเพลิงและการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนผลวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นในขั้นตอนการขับจริงพบว่าคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นอยู่ในเกณฑ์ปกติ ผลที่ได้จากการทดสอบนี้สามารถสรุปได้ว่า น้ำมันปาล์มดิบผสมดีเซลสามารถนำมาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงดีเซลในเครื่องยนต์ดีเซลชนิดห้องเผาไหม้ล่วงหน้าแบบหมุนวนได้ แต่ควรกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นให้สั้นลง รวมถึงควรมีการหาวิธีกำจัดคราบหรือตะกอนที่เกิดขึ้นในห้องเผาไหม้และที่หัวฉีดเพื่อป้องกันความเสียหายจากการสึกหรอและการลดลงของสมรรถนะที่อาจเกิดขึ้นที่อาจเกิดขึ้นหากมีการใช้งานในระยะยาวในอนาคต
Other Abstract: A study of crude palm oil (CPO) blended with diesel as an alternative fuel in a high speed IDI engine was carried out. The study had been divided into three parts: beginning with finding the suitable composition between CPO and diesel, following with comparing the engine's performance when using both fuels, and finally investigating engine durability when fuelling CPO diesel. It was found that the suitable proportion is10% heated to 60 ํC of CPO blened with diesel 90% by volume. The full load performance showed that the maximum brake torque when using CPO diesel is not difference to diesel. During low to middle engine speed, maximum brake torque of COP diesel is slightly higher than that of diesel. Brake specific fuel consumption (bsfc) and exhaust gas temperature from using CPO diesel is higher than the diesel. The part load performance showed that bsfc is higher with CPD diesel. The exhaust gas temperatures from both fuels are not significantly different. The durability test consists of two parts. The first part is a continuous simulated load (adapted from EMA test cycle) for about 225 hours on the engine test bed. The second part was a road test using the engine driving a light-duty pick-up truck for the driving range of about 10,000 kilometers. The first part could be seen that, after the durability test, the engine's performance along the operating range reduced, maximum brake torque is decreased by about 9% and bsfc is increased by about 5%. The results from the used engine lubricating oil analysis showed that either viscosity or wear metal debris (Fe, Al, Cr) was higher than normal limits before the end of the recommended engine oil life. This result implies the high wear rate. After engine parts inspection, it was observed that there were a lot of carbon deposil on the injectors' tip that may cause poorer spray atomization. Thus combustion efficiency may be reduced. Moreover, resulting from fuel properties and incomplete combustion, it was found that there was a lot of soot, deposit and varnish stuckin the ring groove, combustion chamber and piston crown. In the second part, the used engine oil analysis showed that all properties are within normal limits. From this study, it could be concluded that the CPO diesel can be used as alternative fuel in a high speed IDI diesel engine. However, the duration of engine oil lubricant service should be shorter than the standard period to protect against the inevitability of engine failure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1524
ISBN: 9741755597
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Therdsak.pdf7.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.