Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15702
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ชาติประเสริฐ-
dc.contributor.authorจณัญญา นภาพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-08-16T10:50:55Z-
dc.date.available2011-08-16T10:50:55Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15702-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตได้ผ่านยุคของเป็นพื้นที่การสนทนาติดต่อสื่อสาร หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันเพียงอย่างเดียวแล้ว เนื่องจากเทคโนโลยีรูปแบบใหม่นั้น สามารถเนรมิตให้ผู้คนมีโอกาสเลือก “เกิดใหม่” และดำเนินชีวิตอีกชีวิตหนึ่งในฐานะชีวิตที่สอง เรียกได้ว่าเป็น “ชีวิตบนโลกเสมือนจริง” การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความเป็นชีวิตในแบบที่ผู้ใช้งานปรารถนาหรือ “ชีวิตในอุดมคติ” บนโลกเสมือนจริงที่ชื่อว่า WWW.SECONDLIFE.COM โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ ความเป็นชีวิตในอุดมคติของผู้ใช้งาน โดยเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน ควบคู่ไปกับการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน ทั้งนี้เป้าหมายคือเพื่อการศึกษาถึงความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้งาน รวมทั้งพิสูจน์ถึงความสามารถของเทคโนโลยีที่มีต่อการให้ชีวิตในรูปแบบใหม่ ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยในด้านต่างๆ อันได้แก่ ตนเอง สังคม และเทคโนโลยีว่ามีช่วยสนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อ “ความเป็นชีวิตในอุดมคติ” ของผู้ใช้งานเช่นใด รวมถึงพฤติกรรมการปรับตัวของผู้ใช้งานในรูปแบบต่างๆ หลังจากที่พบเจอกับอุปสรรคซึ่งทำให้ชีวิตบนโลกเสมือนไม่เป็นไปดังหวังผลการวิจัยพบว่าประเด็นโดยมากผู้ใช้งานมีความคาดหวังแตกต่างจากความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นหมายถึงเรื่องที่ผู้ใช้งานได้รับความพึงพอใจจากโลกเสมือนไม่แตกต่างจากที่หวังไว้มีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่กระทำได้ง่าย และผู้ใช้งานทราบดีจากการศึกษาข้อมูลมาก่อน ส่วนเรื่องที่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถ เงิน และระยะเวลานั้น โดยมากเป็นเรื่องที่ผู้ใช้งานได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ต่ำ สำหรับปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมพบว่า ปัจจัยด้านเทคโนโลยีมีส่วนช่วยส่งเสริม “ความเป็นชีวิตในอุดมคติ” ได้ดีที่สุด ในขณะที่ปัจจัยด้านสังคมเป็นอุปสรรคมากที่สุด อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่นิยมจัดการกับอุปสรรคที่พบเจอด้วยวิธีการเลิกเล่น แต่ปรารถนาที่จะเอาชนะอุปสรรคให้หมดไปเพื่อนำพาชีวิตของตนเข้าสู่ “ความเป็นอุดมคติ” ให้จงได้ การกระทำในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “ความเต็มใจ” ของบุคคลที่จะเลือกใช้โลกเสมือนเป็น “เครื่องมือ” สร้างความเป็นอุดมคติให้แก่ชีวิต ขณะเดียวกันพฤติกรรมการตัดสินใจเลิกเล่น Second life ของผู้ใช้งานที่ยังปรากฎให้เห็น ก็ทำให้ไม่อาจปฎิเสธได้ว่า ชีวิตที่สองบนโลกเทคโนโลยี ยังมี “ความบกพร่อง” ในบางประการ และ Second life ไม่อาจทำหน้าที่สร้าง “ความเป็นชีวิตในอุดมคติ” ให้แก่ผู้ใช้งานได้โดยสมบูรณ์พร้อม.en
dc.description.abstractalternativeNowadays, the internet not only allows people to communicate and exchange information, but also allows people to be reborn and lead a second life in the virtual world. This study aims at studying the extent to which users live their ideal lives on a virtual world called WWW.SECONDLIFE.COM. The researcher conducted a survey of 200 users and in-depth interviews with 15 users to study their expectation, satisfaction and to study the extent to which technology can grant a second ideal life. The study also examines personal, social and technological factors that support and obstruct the creation of the ideal life and how users cope with those obstacles. Results indicate that in most areas, the users’ expectation was not met. Their satisfaction was close to their expectation only when they evaluated goals that were easy to accomplish and of which they had some technological literacy. However, when users were asked to evaluate goals or activities that required ability, money, and time, they indicated a rather low level of dissatisfaction. Among all the factors, technology is the most important factor that helps users realize the ideal life where as social factors posed the most obstacles. When facing obstacles, only a few users quitted. Most of them try to overcome the difficulties. Such persistence implies that users intended to use Second Life as a tool to establish an ideal life. However, the fact that users indicated a low level of dissatisfaction also imply that Second Life was still not a perfect tool that would enable users to realize the ideal life.en
dc.format.extent2410883 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.673-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความจริงเสมือนen
dc.subjectอินเตอร์เน็ตen
dc.subjectการสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตen
dc.subjectอัตลักษณ์en
dc.subjectไซเบอร์สเปซen
dc.subjectอุดมคติ (จิตวิทยา)en
dc.titleโลกเสมือน www.secondlife.com กับความเป็นชีวิตในอุดมคติen
dc.title.alternativeVirtual world of www.secondlife.com and an ideal livelihooden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDuangkamol.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.673-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Janunya_na.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.