Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15705
Title: การจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตแกนสตาร์ทและการตัดแต่งก้านสูบรถจักรยานยนต์
Other Titles: Energy management in spindle kick starter production and connecting rod finishing process of motorcycle parts
Authors: นพดล ศรีพุทธา
Advisors: จันทนา จันทโร
ไชยะ แช่มช้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fiejjr@eng.chula.ac.th
Chaiya.C@chula.ac.th
Subjects: การใช้พลังงาน
จักรยานยนต์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อดำเนินการจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตแกนสตาร์ทและการตัดแต่งก้านสูบรถจักรยานยนต์ ก่อนการศึกษาวิจัยโรงงานกรณีศึกษาไม่มีวิธีการจัดการการใชัพลังงานที่ชัดเจนทำให้มีตัวเลขการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยการผลิต (ดัชนีการใช้พลังงาน) แปรผันมาก โดยพบว่าปี 2550 มีดัชนีการใช้พลังงานสูงกว่าปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 10.90 ทำให้ต้องดำเนินการจัดการด้านพลังงานให้ดีขึ้น โดยการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการพลังงาน ซึ่งมี 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การกำหนดโครงสร้างการจัดการพลังงาน 2. การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น 3. การกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงานและการประชาสัมพันธ์ 4. การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน 5. การกำหนดมาตรการ เป้าหมาย และแผนการอนุรักษ์พลังงาน 6. การตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน 7. การตรวจติดตามและประเมินผลระบบการจัดการพลังงาน 8. การทบทวนผลการดำเนินการ จากการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานโดยเน้นการมีส่วนร่วมและรับฟังข้อเสนอแนะจากพนักงาน ทำให้ดัชนีการใช้พลังงานลดลงเมื่อเทียบกับปี 2550 โดยปี 2551 ลดลงร้อยละ 10.51 ปี 2552 ลดลงร้อยละ 15.58 และ 5.66 เมื่อเทียบกับปี 2550 และปี 2551 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ CUSUM ในช่วงเวลา 4 ปี มีผลการประหยัดพลังงานสะสมรวม 1,554,222 kWh หากคิดเฉพาะช่วงปี 2551-2552 จะได้ผลประหยัดรวม 1,133,744 kWh และหากวิเคราะห์โดยใช้เกณฑ์ year based โดยใช้ปี 2550 เป็นปีอ้างอิงจะได้ผลประหยัดสะสมรวม 1,096,142 kWh หากคิดเฉพาะช่วงปี 2551-2552 จะได้ผลประหยัด 916,400 kWh.
Other Abstract: The objective of this thesis is to study and analyze the energy utilization to improve the energy management of Spindle Kick Starter production and Connecting Rod finishing process of motorcycle parts. Before study, it has unclearly energy management system and affected to number of electrical consumption per production unit (energy index) is very varies. The reveals that energy index in the year 2007 is higher than 2006, in value 10.90 percentages. Therefore, it should be improved by the following 8 steps of the energy management system: 1Set up energy management organization. 2Assess energy management situation. 3Set up energy management policy and information. 4Assess potential energy conservation. 5Assign implementation, target and energy conservation plan. 6Verify and analyze of actual target and energy conservation plan. 7Audit and evaluate of energy management system. 8Review implement actual. From develop energy management system by total participation and suggestion from operator. That the comparison of energy index of year 2008 and 2007 is 10.51% down and energy index of year 2009 is 15.58% and 5.66% down when compare with 2007 and 2008. From CUSUM analysis, it has cumulative energy saving 1,554,222 kWh for 4 years and 1,133,744 kWh for 2008-2009. If we use year base analysis method (2007 base), the cumulative energy saving is 1,096,142 kWh and 916,400 kWh for 2008-2009.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15705
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.107
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.107
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppadol_sr.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.