Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15922
Title: แนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง แก่ผู้ใช้สอยอาคารข้างเคียง : กรณีศึกษา อาคารที่ก่อสร้างในโรงพยาบาลรัฐ
Other Titles: Guidelines of management to reduce the impacts during construction process :case healthcare buildings
Authors: อลงกรณ์ ชาไชย
Advisors: อวยชัย วุฒิโฆสิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
อาคารโรงพยาบาล
การก่อสร้าง -- แง่สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาแนวทางในการบริหารจัดการงานก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง ต่อผู้ใช้สอยอาคารข้างเคียงพื้นที่ก่อสร้าง โดยมีกรณีศึกษาคืออาคารที่ก่อสร้างภายในโรงพยาบาลรัฐ เนื่องด้วยเป็นกรณีศึกษาที่ผู้ใช้สอยอาคารมีความอ่อนไหวต่อผลกระทบ และมีการใช้สอยเป็นอย่างมาก การวิจัยเริ่มต้นด้วยการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างแก่ผู้ใช้สอยอาคารข้างเคียง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และผู้ป่วย ในอาคารที่อยู่ติดกับพื้นที่ที่กำลังมีการก่อสร้าง จากนั้นจึงศึกษาการปฏิบัติงานของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในการลดผลกระทบ ได้แก่ เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ และผู้บริหารงานก่อสร้าง และวิเคราะห์ข้อแตกต่างของการก่อสร้างในแต่ละกรณีศึกษา เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้างอาคารดังกล่าว ผลการวิจัยจากผู้ใช้สอย ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง พบว่า ปัญหาระหว่างการก่อสร้างที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้สอยมากที่สุด ได้แก่ เรื่องเสียงรบกวนจากการก่อสร้าง รองลงมาคือ เรื่องแรงสั่นสะเทือน และฝุ่นละออง ตามลำดับ ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันหรือบรรเทาให้ลดลงได้ แต่ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติเท่าที่ควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ 1) สถานที่ตั้ง 2) ระยะเวลาในการก่อสร้าง 3) งบประมาณในการก่อสร้าง 4) กฎหมาย 5) รูปแบบอาคาร 6) วิธีในการก่อสร้าง 7) อาคารใกล้เคียง ปัจจัยทั้งหมดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในงานก่อสร้าง ว่ามีเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ โดยคำนึงถึงเรื่องใดเป็นสำคัญในการตัดสินใจ ซึ่งในแต่ละกรณีศึกษา ต่างมีข้อจำกัดของการก่อสร้างที่ส่งผลต่อเกณฑ์ในการพิจารณาแตกต่างกันออกไป แนวทางในบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง สามารถทำได้ในแต่ละขั้นเวลาของโครงการคือ 1) การจัดให้มีการร่างแผนงานก่อสร้างระยะยาว 2) การจัดเตรียมบุคลากร 3) การจัดเตรียมงบประมาณ 4) การจัดทำข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง 5) การให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกผู้ก่อสร้าง 6) การเก็บสถิติด้านผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้างแก่ผู้ใช้สอยอาคารข้างเคียง ควรมีการปฏิบัติในทุกขั้นตอน ซึ่งในแต่ละขั้นตอนนั้นจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง และเพื่อให้มีผลลัพธ์ที่ชัดเจน ควรมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงจะส่งผลถึงภาพรวมในระยะยาว อีกทั้งจะเป็นการสร้างมาตรฐานที่ดีขึ้นในวงการการก่อสร้าง
Other Abstract: To determine management guidelines to reduce the impacts on patients and healthcare staff caused by construction sites in government-run hospitals. The study was firstly conducted on the impacts of the construction process on doctors, nurses and other medical staff as well as the patients in the buildings next to the construction sites. Secondly, the operation of the managerial team consisting of the project owners, the engineers and the construction administrations was considered. Finally, different case studies on issues concerning building construction were analyzed in order to arrive at guidelines to reduce impacts on people in the vicinity as stated. According to the research findings, the three main problems that affected building users were noise, vibration and particulate matter pollution, respectively. However, measures to prevent or alleviate the problems had not been property carried out due to seven related factors: the construction site, construction time, budget, relevant law, the building model, construction methods, and the nearby buildings. Proper management procedures can be used to reduce the impacts on people in the building. To illustrate, a long-term plan, sufficient staff, budget preparation, clear construction regulations, choosing a capable construction company and collecting statistical information on the impacts of construction must be included in the guidelines. In conclusion, cooperation of all building users and complete guideline implementation are necessary in order to reach the expected goals which would help upgrade the standards of the construction industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15922
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.165
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.165
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Alongkorn_Ch.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.