Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16261
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์-
dc.contributor.authorบุณฑรี จันทร์กลับ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2011-12-04T02:36:07Z-
dc.date.available2011-12-04T02:36:07Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16261-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์โซ่คุณค่าของข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น การวิเคราะห์โซ่คุณค่า (Value Chain Analysis) การวิเคราะห์ต้นทุนการถือครองสต๊อกข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง (Inventory Carrying Cost Analysis) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ภายในโซ่คุณค่า (Value Chain Relationship Analysis) และการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและแนวทางการปรับปรุงและยกระดับโซ่คุณค่าของข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนหลักของโซ่คุณค่าของข้าวคือ ต้นทุนค่าข้าวที่นำมาเป็นวัตถุดิบหลัก ต้นทุนรองลงมาคือต้นทุนค่าขนส่งข้าวซึ่งมีการปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะตลาด โดยผู้รวบรวมเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีสัดส่วนกำไรน้อยที่สุด ตามมาด้วย โรงสี ชาวนา ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก ตามลำดับ และโซ่คุณค่าที่ผ่านโรงสีขนาดเล็กและชุมชนมีสัดส่วนของกำไรที่สูงกว่าโซ่คุณค่าที่ผ่านโรงสีขนาดใหญ่และขนาดกลางมาก ในส่วนการถือครองสต๊อกข้าวพบว่า จะมีเพียงโรงสีและผู้ค้าที่จะถือครองสต๊อกข้าว โดยถือครองในปริมาณที่สูง อันส่งผลต่อการแบกรับภาระต้นทุนที่สูงมากตามมา ด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าโรงสีเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญและอำนาจที่สุดในโซ่คุณค่าของข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จากการวิเคราะห์สามารถรวบรวมปัญหาได้ 4 ประการหลัก 1)ภาวการณ์ขาดทุนของชาวนาในพื้นที่นานอกเขตชลประทาน 2) ภาคการผลิตในพื้นที่ ยังคงมีสัดส่วนของกำไรและได้รับการประเมินประสิทธิภาพที่ต่ำ 3) การมีต้นทุนการถือครองสต๊อกข้าวที่สูงในโซ่คุณค่าของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และ 4) การขาดความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพและคุณภาพภายในโซ่คุณค่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโซ่คุณค่าของข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังควรได้รับการปรับปรุงและยกระดับอย่างจริงจังเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to analyse the value chain of rice planted in the Pakpanang basin of Thailand. The investigation conducted includes the value chain analysis, the determination of inventory carrying cost, the value chain relationship analysis and the identification of root causes of and the solutions to the problems uncovered during the study. The study results indicate that the most important cost component incurred in the value chain is the material cost of the paddy and the rice, followed by the transportation cost that fluctuates with the market condition. The collectors are the stakeholders that have experienced the lowest margin, followed respectively by the millers, the farmers, the wholesalers and the retailers. The value chain associated with small-sized mills and the community mills have experienced higher profit proportion than the one with large and medium sized mills. Mills and traders often carry a large amount of rice inventory resulting in high inventory carrying cost. The value chain relationship analysis reveals that the millers play a vital role and have enjoyed the greatest bargaining power over other value chain members in the Pakpanang basin. The study has uncovered four major problems associated with the value chain including, 1) the typical financial loss experienced by farmers in the non-irrigated area, 2) the producers in the value chain enjoying lower profit margin and suffering from low efficiency, 3) significant carrying cost of rice inventory, and 4) the lack of common perceptions towards efficiency and quality among value chain members. Improvements are subsequently needed to upgrade the performance of the value chain to ascertain sustainable development of the study area.en
dc.format.extent2307992 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.477-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectข้าว -- การค้าen
dc.subjectข้าว -- แง่เศรษฐกิจen
dc.titleการวิเคราะห์โซ่คุณค่าของข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังen
dc.title.alternativeAn analysis of rice value chain in Pakpanang basinen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorssompon1@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.477-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boontaree_ch.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.