Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16657
Title: การสร้างแบบจำลองทางสมบัติของวัสดุของลวดบัดกรีอ่อนปลอดตะกั่ว โดยใช้ขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒน์แบบผสม
Other Titles: Modeling lead-free solder alloy properties using hybrid evolutionary algorithms
Authors: เชษฐา พันธ์เครือบุตร
Advisors: ประภาส จงสถิตย์วัฒนา
บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prabhas.C@chula.ac.th
boonrat@gmail.com
Subjects: บัดกรีและการบัดกรี
การโปรแกรมเชิงวิวัฒนาการ
จีเนติกอัลกอริทึม
การคำนวณเชิงวิวัฒนาการ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำเสนอการสร้างแบบจำลองทางสมบัติของวัสดุจากขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒน์แบบผสม เพื่อออกแบบส่วนผสมทางเลือกของลวดบัดกรีอ่อนปลอดตะกั่ว กำหนดการเชิงพันธุกรรมถูกนำมาใข้เพื่อหาค้นหาผลเฉลย ในการทำนายอุณหภูมิลิควิดัสและอุณหภูมิโซลิดัส โดยข้อมูลทางความร้อนของส่วนผสมจำนวน 250 ส่วนผสมจากหลักวิธี CALPHAD และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องถูกนำใช้เป็นข้อมูลในการสอน ผลเฉลยที่ได้จากแบบจำลองแสดงให้เห็นประสิทธิภาพที่ดีในการทำนายชุดข้อมูลสอน ความถูกต้องของแบบจำลองได้รับการยืนยันจากผลการทดลองของ 25 ส่วนผสมที่ได้จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลลัพธ์จะได้ผลการทำนายที่มีค่าใกล้เคียงกับข้อมูลทดสอบ ผลเฉลยจากกำหนดการเชิงพันธุกรรม จะถูกนำไปใช้เป็นฟังก์ชันวัตถุประสงค์สำหรับขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมที่มีหลายวัตถุประสงค์ ซึ่งขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมแบบการจัดลำดับผลเฉลยที่ไม่ถูกครอบงำ 2 (NSGA-II) ถูกนำมาใช้เพื่อหาส่วนผสมที่ดีที่สุดของลวดบัดกรีอ่อน โดยให้ความสนใจใน 3 วัตถุประสงค์คือ อุณหภูมิลิควิดัส ช่วงการแข็งตัว และสภาพเปียกได้ ส่วนผสมที่ได้ 10 ส่วนผสมจากแบบจำลองถูกนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันความถูกต้องของแบบจำลอง ผลการทดสอบทางความร้อนจากเครื่อง DSC แสดงให้เห็นถึงผลการทำนายที่แม่นยำของแบบจำลอง และเมื่อพิจารณาเวลาในการเปียกที่วัดได้จากวิธี wetting balance จะพบความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ดีกับค่าแรงตึงผิวที่ทำนายได้จากแบบจำลอง สมบัติทางความร้อนและสภาพเปียกได้ของลวดบัดกรีอ่อนทั้ง 10 ส่วนผสมถูกนำไปเปรียบเทียบกับลวดบัดกรีอ่อนจำนวน 25 ส่วนผสมจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหาความดีของแบบจำลอง จากผลการเปรียบเทียบจะพบสมบัติที่ดีของส่วนผสมที่ได้จากแบบจำลองคือ มีอุณหภูมิลิควิดัสที่ต่ำ โดยยังคงรักษาช่วงการแข็งตัวที่แคบไว้ได้ นอกจากนั้นทุกส่วนผสมที่ได้จากแบบจำลอง ยังมีเวลาในการเปียกที่สั้นกว่าส่วนผสมอื่นจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒน์แบบผสม ที่ใช้ในวิทยานิพนธ์นี้สามารถค้นหาส่วนผสมลวดบัดกรีอ่อนที่ดี และเหมาะจะนำไปใช้ในงานเชื่อมได้
Other Abstract: To propose the modeling of material properties using hybrid evolutionary algorithms to design the candidate lead-free solder alloys. Genetic programming was developed to predict liquidus/solidus temperature of solders by using thermal properties of 250 solder’s compositions that calculated from CALPHAD method and from literature as the training data. The results showed the effectiveness of the training result. Accuracy of the model was verified with the experimental results of 25 compositions from references and the results showed the good agreement of predicted results and testing data. These solutions from genetic programming were used as the objective functions of multi-objective genetic algorithms. The non-dominated sorting genetic algorithms II (NSGA-II) was developed to find the optimized quinary alloy contents by consider the liquidus temperature, solidification range, and wettability as the objective functions. Ten solder compositions from the model were experimentally tested to confirm the predicted results of the model. Thermal properties of solders from DSC testing demonstrated the good predictive results of genetic programming and the wetting time results from wetting balance test were showed the good correlation with the predicted surface tension. Thermal properties and wettability of the ten solder compositions were compared with 25 compositions from references to determine the goodness of model. The compared results illustrated that the lead-free solder compositions from the model have lower liquidus temperature with narrow solidification range. Moreover, the wetting time of all ten solders was lower than the other alloys from literature. These confirmed that the employed hybrid evolutionary algorithms could generate good alloy candidates for lead-free solder application.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16657
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1175
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1175
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chedtha_pu.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.