Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16751
Title: ผลของพีเอชและอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อการลดซัลเฟตในระบบยูเอเอสบี สำหรับการบำบัดน้ำเสียน้ำยางข้น
Other Titles: Effects of pH and organic loading rate on sulfate reduction in UASB system for treatment of concentrated latex wastewater
Authors: กนกกาญจน์ กาญจนวัฒน์
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
ยูเอเอสบี
น้ำยาง
แบคทีเรียลดซัลเฟต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของพีเอชและอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อการลดซัลเฟตในระบบยูเอเอสบี สำหรับการบำบัดน้ำเสียน้ำยางข้น งานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยทั้ง 2 ช่วงการทดลองใช้น้ำเสียจริงจากอุตสาหกรรมน้ำยางข้น โดยช่วงการทดลองที่ 1 กำหนดอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เท่ากับ 0.5 ก.ก. ซีโอดี/ลบ.ม./วัน กำหนดค่าพีเอชเป็น 5, 6, 7 และ 8.5 และในช่วงการทดลองที่ 2 ศึกษาเช่นเดียวกับช่วงการทดลองที่ 1 โดยเพิ่มค่าอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 1, 2 และ 3 ก.ก. ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ผลการทดลองช่วงที่ 1 พบว่าที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 0.5 ก.ก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน และกำหนดค่าพีเอชเป็น 5, 6, 7 และ 8.5 ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 69.52, 72.34, 75.05 และ 70.68 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 93.58, 93.73, 94.10 และ 92.96 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดซัลเฟตเฉลี่ยเท่ากับ 53.40, 53.30, 44.89 และ 43.53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการทดลองช่วงที่ 2 พบว่าที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 1 ก.ก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน และกำหนดค่าพีเอชเป็น 5, 6, 7 และ 8.5 ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 62.42, 66.22, 67.51 และ 64.72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 71.54, 72.82, 79.19 และ 75.22 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดซัลเฟตเฉลี่ยเท่ากับ 45.60, 43.89, 45.89 และ 47.55 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 2 ก.ก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 39.39, 56.63, 67.18 และ 55.89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 57.84, 63.92, 72.59 และ 60.32 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดซัลเฟตเฉลี่ยเท่ากับ 50.70, 59.64, 64.79 และ 47.87 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 3 ก.ก.ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งแขวนลอยเฉลี่ยเท่ากับ 29.98, 37.43, 44.88 และ 38.43 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 26.79, 43.11, 49.29 และ 48.38 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดซัลเฟตเฉลี่ยเท่ากับ 39.32, 50.59, 55.41 และ 49.81 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากผลการทดลองทั้ง 2 ช่วง ระบบยูเอเอสบีมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับซีโอดี ซัลเฟต และของแข็งแขวนลอย ที่ค่าพีเอช 7 ดังนั้นพีเอชและอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบยูเอเอสบี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: To study effects of pH and organic loading rate on sulfate reduction in UASB system for treatment of concentrated latex wastewater. The research was divided into 2 experiments. Both experiments used the same concentrated latex wastewater. The first experiment with the organic loading rate 0.5 kg COD/(m[superscript 3].d) and operated with pH 5, 6, 7 and 8.5 and the second experiment do it same as the first experiment by varying organic loading rates to 1, 2 and 3 kg COD/(m[superscript 3]..d). The first experiment, it was found that at organic loading rate 0.5 kg COD/(m[superscript 3].d) and operated with pH 5, 6, 7 and 8.5, removal percentages for suspended solid were 69.52, 72.34, 75.05 and 70.68 %, respectively ; for COD were 93.58, 93.73, 94.10 and 92.96 %, respectively ; and for sulfate were 53.40, 53.30, 44.89 and 43.53 %, respectively. The second experiment, it was found that at organic loading rate 1 kg COD/(m[superscript 3].d) and operated with pH 5, 6, 7 and 8.5, removal percentages for suspended solid were 62.42, 66.22, 67.51 and 64.72 %, respectively ; for COD were 71.54, 72.82, 79.19 and 75.22 %, respectively ; and for sulfate were 45.60, 43.89, 45.89 และ 47.55 %, respectively. Also, at organic loading rate 2 kg COD/(m[superscript 3].d), removal percentages for suspended solid were 39.39, 56.63, 67.18 and 55.89 %, respectively ; for COD were 57.84, 63.92, 72.59 and 60.32 %, respectively ; and for sulfate were 50.70, 59.64, 64.79 และ 47.87 %, respectively. Moreover, it was found that at organic loading rate 3 kg COD/(m[superscript 3] .d), removal percentages for suspended solid were 29.98, 37.43, 44.88 and 38.43 %, respectively ; for COD were 26.79, 43.11, 49.29 and 48.38 %, respectively ; and for sulfate were 39.32, 50.59, 55.41 and 49.81 %, respectively. From both experiments, result the UASB system had the best performance for COD, Sulfate and Suspended Solid at pH7. Therefore, pH and organic loading rate seem to significantly affect the UASB system performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16751
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1145
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1145
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokkan_Ka.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.