Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16812
Title: การใช้สื่อของผู้ปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อเสริมการบำบัด
Other Titles: The media usage of bone marrow transplant patient as an assistance of the theraphy
Authors: ณิชชารีย์ เดชส่งจรัส
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารทางการแพทย์
การบำบัด
ไขกระดูก -- โรค -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะทางสังคมและ จิตใจของผู้ปลูกถ่ายไขกระดูก กับการใช้สื่อของผู้ป่วยเพื่อเสริมการบำบัด (2) เพื่อเข้าใจถึงประเภทและลักษณะ เนื้อหาของสื่อที่ผู้ปลูกถ่ายไขกระดูกเลือกใช้เพื่อเสริมการบำบัด (3) เพื่อวิเคราะห์ถึงประโยชน์และความพึงพอใจ ที่ผู้ปลูกถ่ายไขกระดูกได้รับจากสื่อเพื่อเสริมการบำบัด โดยใช้ทฤษฎีการใช้สื่อและความพึงพอใจ เป็นกรอบใน การวิเคราะห์การใช้สื่อของผู้ปลูกถ่ายไขกระดูก โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ปลูกถ่ายไขกระดูก จำนวน 12 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบอิงโครงสร้างปานกลาง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกสัมภาษณ์ผู้ที่ เคยรักษาในศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูกจุฬาภรณ์ ย้อนไปไม่เกิน 2 ปีหลังออกจากศูนย์ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัย สัมภาษณ์มีอายุระหว่าง 20 – 54 ปี เป็นชาย 6 คน หญิง 6 คน ผู้วิจัยแบ่งการวิเคราะห์การใช้สื่อของผู้ปลูกถ่าย ไขกระดูกเพื่อเสริมการบำบัด ออกเป็น 3 ระยะเวลา คือ ช่วงก่อนเข้าศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูก (ตั้งแต่รับรู้ว่าตนเอง เป็นโรค) ช่วงปลูกถ่ายไขกระดูก ผลการวิจัยพบว่า ในแต่ละระยะ สภาวะทางสังคม สภาวะทางจิตใจ และสถานที่ในการรักษา เป็น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อของผู้ปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งในแต่ละระยะมีประเภทของแหล่งข้อมูล และเนื้อหาของสื่อที่แตกต่างกันไป ผู้ปลูกถ่ายไขกระดูกจะแสวงหาและเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโรค ด้วยการรอรับข้อมูล ข่าวสาร ใฝ่หาข้อมูลข่าวสาร และมีปฏิสัมพันธ์เพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ ผู้ปลูกถ่ายไขกระดูก ยังมี การหลีกเลี่ยงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคที่ส่งผลต่อสภาวะทางจิตใจในด้านลบ สำหรับประโยชน์ที่ผู้ปลูกถ่ายไขกระดูกได้รับจากสื่อ ได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรค ด้านการ ประเมินตนเอง และด้านความบันเทิง โดยผู้ปลูกถ่ายไขกระดูกได้รับความพึงพอใจในด้านข้อมูลเกี่ยวกับโรคและ การประเมินตนเองจากสื่อมวลชน ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสมัยใหม่ (อินเทอร์เน็ต) สื่อบุคคล และ สื่อ เฉพาะกิจ แต่ไม่ได้รับความพึงพอใจจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์และวิทยุ ส่วนการสร้างความบันเทิงเพื่อ ผ่อนคลายความเครียดจากการรักษาบำบัดนั้น ผู้ปลูกถ่ายไขกระดูกจะได้รับความพึงพอใจจากสื่อสมัยใหม่ (อินเทอร์เน็ต) และสื่อมวลชนทุกประเภท
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to study the relation between social and mental conditions of bone marrow transplant patients and the media usage as an assistance of the therapy (2) to understand the categories and contents of media the bone marrow transplant patient selected for usage as an assistance of the therapy and (3) to analyze the benefits and the satisfactory of bone marrow transplant patients towards the media usage as an assistance of the therapy. This research was based on The Uses and Gratification Theory as the framework for analyzing the media usage for bone marrow transplant patients. The data was collected through the Semi-structural interviews from the purposive samples of 12 bone marrow transplant patients who had been treated at Chulabhorn Bone Marrow Transplant Center or Bone Marrow Transplant Unit of Chulalongkorn Hospital. The results of this research were as follows: in each period, social conditions, mental conditions and the therapy places were the related factors on the media usage as the assistance of the therapy for bone marrow transplant patients. The categories of information and contents of media were different in each period. The bone marrow transplant patients would search by Passive strategy, Active strategy and Interactive strategy to receive the information regarding on this sickness. Moreover, the bone marrow transplant patients tried to avoid from the information regarding on the sickness which might be the negative impacts on the mental conditions. The benefits that the bone marrow transplant patients received from the media were the information regarding the sickness, self-evaluation, and entertainment. The bone marrow transplant patients were satisfied by the information regarding the sickness and self-evaluation from the mass media in the form of printing media, modern media (internet), personal media, and special media; on the other hand, they were unsatisfied by the mass media in the form of television and radio. For the entertainment purpose, the bone marrow transplant patients were satisfied by modern media (internet) and all categories of mass media
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16812
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.622
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.622
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nicharee_de.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.