Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16917
Title: ลีลาท่ารำและบทบาทการแสดงตัวนางจินตะหราจากละครในเรื่องอิเหนา
Other Titles: The role and the way of dancing of "Jintara" in the play "Inaw"
Authors: รติยา สุทธิธรรม
Advisors: ผุสดี หลิมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การรำ
ศิลปะการแสดง
อิเหนา
ตัวละครและลักษณะนิสัย
ละครใน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลีลาท่ารำตัวนางจินตะหรา วิเคราะห์บทบาทและ กระบวนท่ารำตัวนางจินตะหรา โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ ตลอดจนการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง โดย ศึกษากระบวนท่ารำจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ครูกรรณิการ์ วีโรทัย และครูวลัยพร กระทุ่มเขต ผลการวิจัยพบว่า นางจินตะหราเป็นนางตัวเอกตัวหนึ่งในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา เป็นหญิงที่ งดงามมีนิสัยใจน้อย แสนงอน ชอบพูดจาในเชิงประชดประชัน มีความเมตตากรุณาแก่ผู้น้อย กระบวนท่ารำของนางจินตะหราทั้ง 3 ตอนมีความแตกต่างกัน ดังนี้ คือ 1. ตอนพบรัก เป็นการพบกัน ครั้งแรกระหว่างอิเหนากับนางจินตะหรา ผู้แสดงทั้งสองมีความพึงพอใจต่อกัน แต่จะไม่แสดงออกนอกหน้า ผู้ แสดงนางจะเก็บความรู้สึกลึกๆ ไว้ข้างใน แต่จะแสดงอารมณ์ความรู้สึกผ่านทางสีหน้าและแววตา เช่น การ หลบหน้า เมินหน้า การแอบมองกัน 2. ตอนอิเหนาเข้าห้องนางจินตะหรา เป็นการรำแบบเข้าพระเข้านาง อิเหนาเป็นฝ่ายเข้ามาเล้าโลมเกี้ยวพาราสีเพื่อเป็นการแสดงความรัก แต่ฝ่ายนางจะเสแสร้งไม่เต็มใจ และมีการ ตัดพ้อต่อว่าอิเหนาในเชิงน้อยใจว่าถูกข่มเหงรังแก และตนเองนั้นต่ำศักดิ์กว่าบุษบา แต่ในตอนท้ายนั้นทั้งสองก็ ลงเอยกันด้วยดี 3. ตอนอิเหนาลานางจินตะหรา เป็นการรำเข้าพระเข้านาง มีการเล้าโลมเกี้ยวพาราสี อิเหนาได้เข้ามาหานางจินตะหราที่ห้องของนาง เพื่อมาลาไปช่วยท้าวดาหาทำศึกสงคราม จินตะหราเกิดความ ไม่พอใจ จึงตัดพ้อต่อว่าในเชิงประชดประชัน ในตอนนี้นับเป็นตอนที่สำคัญจินตะหราจะต้องแสดงบทบาททั้ง แง่งอน ประชดประชันและรำพึงรำพันด้วยความโศกเศร้าเสียใจ ลีลาท่ารำของนางจินตะหรา ถือเป็นศิลปะการรำชั้นสูงที่มีความงดงามตามแบบแผนของละครใน ซึ่ง ผู้แสดงจะต้องมีความรู้ความสามารถในด้านการรำตัวนางเป็นอย่างดี มีความเข้าใจในบทบาทของตัวละคร อย่างลึกซึ้ง สามารถจดจำท่ารำได้อย่างแม่นยำ จึงจะสามารถสืบทอดการแสดงและถ่ายทอดท่ารำให้กับ คนรุ่นหลังต่อไปได้ อนึ่งควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการรำตัวนางเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการนาฏศิลป์ไทย ในอนาคต
Other Abstract: This thesis aimed to study Jintara’s ways of dancing, and to analyze dancing roles and ways of Jintara’s dancing. This study was conducted by studying related documents, interviewing, as well as practicing by the researcher by studying dancing methods from two experts in the field of dance arts, Kannika Weerothai and Walaiporn Krathomkhet. The findings showed that Jintara is a main actress in the Thai drama play titled “Inaw”. Jintara’s characters are very beautiful, sulky, sarcastic, kind to younger people, and easily angry. There are three episodes of Jintara’s ways of dancing which are different as follows. In the first episodes “In Love”, this is the first meeting between Inaw and Jintara that the performers fall in love each other but the feeling is not shown obviously. The actress deeply keeps her feeling however reveals the feeling and emotion through facial and eye expression such as avoiding meeting with someone, turning one’s face away from somebody, and glancing at someone. In the second episode “Inaw getting into Jintara’s room”, this dancing is to flirt between Inaw and Jintara which Inaw closely dances to flirt her to show affection but she pretends to not be satisfied to do so, then blames him for persecution and complains that she has a lower status than Butsaba’s. However, finally both of them end up all problems well. In the third episode “Inaw saying good bye Jintara”, this is a dancing to flirt between Jintara and Inaw in the period that Inaw gets into Jintara’s room to say good bye her for helping Prince Dahaa to war. Jintara is not satisfied in his doing therefore she complains about it sarcastically. This scene is very important that Jintara has to act in being sulk and being sarcastic, and bemoan with sadness. It can be said that the ways of Jintara’s dancing is high art of dancing with traditional beauty in Thai drama plays that performers have to be very skillful in dancing art of female dancing patterns, well deeply understand characters’ roles, and be good at memorizing ways of dancing accurately so that they can pass on ways of dancing to new generations. Furthermore, researches in this field, especially in female dancing patterns should be more widely conducted for being beneficial for Thai dancing art circles in the future
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16917
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.964
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.964
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratiya_su.pdf20.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.