Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17135
Title: การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณไซโตไคน์อินเตอร์ลิวคิน 17 ในน้ำกลั่นตัวจากลมหายใจออก ระหว่างผู้ป่วยโรคหืดภูมิแพ้กับผู้ป่วยโรคหืดไม่ได้เป็นภูมิแพ้
Other Titles: Comparison of cytokines interleukin-17 level in exhale breath condensate between allergic asthma patients and non-allergic asthma patients
Authors: สวัสดิ์ บุญปิยทัศน์
Advisors: เจตทะนง แกล้วสงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Jettanong.K@Chula.ac.th
Subjects: หืด
หืด--ผู้ป่วย
ไซโตไคน์
อินเตอร์ลิวคิน -17
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มา : โรคหืดเป็นโรคที่มีความชุกสูงในประเทศไทย เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมโดยมีเซลล์และสารที่เกิดจากเซลล์เข้ามามีส่วนร่วมทำให้เกิดโรค โรคหืดส่วนใหญ่เป็นโรคหืดที่เกิดจากภูมิแพ้ แต่ยังมีโรคหืดที่ไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ จะมีอาการของโรครุนแรงกว่า รักษายากกว่าและพยาธิสภาพการเกิดโรคไม่ชัดเจน วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความแตกต่างของไซโตไคน์ระหว่างผู้ป่วยโรคหืดภูมิแพ้กับผู้ป่วยโรคหืดไม่เป็นภูมิแพ้ ด้วยวิธีตรวจน้ำกลั่นตัวจากลมหายใจออกโดยใช้เครื่องมือ exhaled breath condensate เพื่อที่จะได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคหืดไม่เป็นภูมิแพ้ วิธีการศึกษา : ศึกษาในอาสาสมัครที่เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 50 คนเป็น ผู้ป่วยโรคหืดจำนวน 40 คนและคนปกติ 10 คน ทำการซักประวัติและตรวจร่างกายประเมินความรุนแรงของโรคหืดตาม ตรวจสมรรถภาพปอดเพื่อหาค่า FEV1, ทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังเพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็นภูมิแพ้หรือไม่ จากนั้นนั่งหายใจทางปากผ่านเครื่อง exhaled breath condensate เป็นระยะเวลา 30 นาที แบ่งน้ำที่ได้ไปตรวจหาปริมาณ total amylase เพื่อดูว่ามีน้ำลายปนหรือไม่ จากนั้นนำไปตรวจหาไซโตไคน์ IL-1β, IL-2, IL-4, IL-5, IL-6, IL-8, IL-10, IL-12p70, IL-17, IFN-γ,TNF-α และ TNF-β ด้วยวิธี Multiplex flow cytomix ผลการศึกษา : สามารถตรวจสิ่งส่งตรวจได้ 38 รายเนื่องจาก ปริมาณไม่ถึง 2 ml จำนวน 9 ราย ตรวจพบว่ามี total amylase เจอ 3 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ผู้ป่วยโรคหืดภูมิแพ้ 16 คนผู้ป่วยโรคหืดไม่เป็นภูมิแพ้จำนวน 13 คน คนปกติ 9 คน พบว่าไม่สามารถตรวจหาปริมาณ IFN-γ,IL-4, IL-5, IL-6, IL-17Aได้ ไซโตไคน์ตัวอื่น IL-1β,IL-8, IL-12p70, TNF-α และ TNF-β ตัวเจอจาก sample ได้แต่จำนวนของ sample ที่ตรวจได้ไม่มากพอที่จะนำมาวิเคราะห์ได้ สามารถตรวจปริมาณของ IL-2 และ IL-10 ได้ พบว่าระดับเฉลี่ยของ IL-10 ในผู้ป่วยโรคหืดไม่เป็นภูมิแพ้ 0.19 pg/ml สูงกว่าโรคหืดภูมิแพ้ 0.12 pg/ml และคนปกติ 0.07 pg/ml อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.05 และ p = 0.006 ตามลำดับ พบว่า IL-2/IL-10 มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคหืด(r=0.68, p = 0.01) และ FEV1(r=-0.72, p = 0.005) ในผู้ป่วยโรคหืดไม่เป็นภูมิแพ้ ระดับ IL-2 สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงโรคหืด(r=0.43, p=0.03) และค่า FEV1 (r=-0.508, p=0.01) ในผู้ป่วยโรคหืด สรุปผลการศึกษา : ไซโตไคน์ IL-10 ที่แตกต่างกันจากการศึกษานี้อาจเป็นพยาธิสภาพที่ทำให้โรคหืดไม่เป็นภูมิแพ้แตกต่างจากโรคหืดภูมิแพ้ พบว่า IL-2/IL-10 มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคหืดแพ้และค่า FEV1 ในกลุ่มโรคหืดไม่เป็นภูมิแพ้ IL-2 สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงโรคหืดและค่า FEV1 ในผู้ป่วยโรคหืด คงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Other Abstract: Background & objective: Asthma has become a major public health concern worldwide including Thailand. Allergic asthma counts for over 50% of cause in asthmatic patients, but non-allergic asthma has also contributed to clinically severe and difficult-to-treat patients, partly from lack of sufficient understanding of the mechanisms underlying non-allergic asthma. We study to find difference cytokines level, between allergic asthma and non-allergic asthma and we used non-invasive method, exhaled breath condensate to assess airway inflammation. We study to find difference cytokines level, between allergic asthma and non-allergic asthma and we used non-invasive method, exhaled breath condensate to assess airway inflammation. Methods : Asthmatic subjects were screened with a skin prick test and classified as either allergic asthma and non-allergic asthma. Exhaled breath condensate, double-wall glass condenser from these patients were collected and various cytokines (IL-1β, IL-2, IL-4, IL-5, IL-6, IL-8, IL-10, IL-12p70, IL-17, IFN-γ, TNF-α and TNF-β) were assayed and compared with those of healthy subjects using a multiplex flowcytomix. Results : Of the 50 subjects recruited, 12 subjects were excluded from the study. Data from the remaining 38 subjects which includes allergic asthmatic subjects (n=16), non allergic asthmatic subjects (n=13), and healthy subjects (n=9), IL-2 and IL-10, but not IL-17A were measurable from exhale samples. IL-10 levels in non-allergic asthmatic subjects (0.19 pg/ml) were found to be significantly higher than those in allergic asthmatic subjects (0.12 pg/ml) and healthy subjects (0.07 pg/ml), p = 0.05 and p = 0.006. IL-2/IL-10 ratio correlated with asthma severity (r=0.68, p = 0.01) and FEV1(r=-0.72, p = 0.005) of non-allergic asthma subjects. IL-2 level correlated with asthma severity (r=0.43, p=0.03) and FEV1(r=-0.508, p=0.01) in asthma subjects
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17135
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1235
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1235
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sawad_bo.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.