Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17708
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมน อมรวิวัฒน์
dc.contributor.advisorพรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
dc.contributor.authorนัยนา ดิษฐะ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.coverage.spatialราชบุรี
dc.date.accessioned2012-03-10T07:25:51Z
dc.date.available2012-03-10T07:25:51Z
dc.date.issued2524
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17708
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบสอบวัดระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมและแบบฝึกเพื่อยกระดับเหตุผลเชิงจริยธรรม ตามหลักทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (2) เพื่อฝึกแลหาผลการยกระดับเหตุผลเชิงจริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ของโรงเรียนวัดเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการวิจัย 2 ชนิด คือ แบบสอบวัดระดับเหตุผลเชิงจริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 13 ท่าน นำไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่ตัวอย่างประชากร เพื่อหาค่าความเที่ยง โดยใช้สูตรหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง 0.793 และสร้างแบบฝึกยกระดับเหตุผลเชิงจริยธรรม จำนวน 17 แผน ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ปีการศึกษา 2523 ของโรงเรียนวัดเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 9-11 ปี และใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 จำนวน 32 คน สุ่มอย่างง่ายแบ่งตัวอย่างประชากรออกเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการฝึกตัวอย่างประชากรกลุ่มทดลองด้วยตนเอง เป็นเวลา 17 วัน ทดสอบหลังฝึกกับตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่ม นำคะแนนที่ได้มาทดสอบความแตกต่างโดยหาค่าที ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ก่อนฝึกและหลังฝึกกลุ่มทดลองมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มควบคุมก่อนฝึกและหลังฝึกมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นที่ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ไม่พบความแตกต่างของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นอื่นๆ แสดงว่าการฝึกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมจากขั้นที่ 3 ไปใช้ขั้นที่ 4 ได้ แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เกิดขึ้นทั้งในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม อันเป็นผลเนื่องมาจากอิทธิพลของพัฒนาการของเด็ก จึงทำให้ไม่สามารถเห็นความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองอย่างเด่นชัด
dc.description.abstractalternativePurpose of the Study. The purpose of this study was to (1) construct The Levels of Moral Reasoning Test and construct The work-sheets for stage ascendancy of moral reasoning which included moral developmental principles based on the Kohlberg theory (2) conduct the moral reasoning ascendancy program and do the follow-up study for the effects of stage ascendancy of moral reasoning for students Pathom Suksa three and four in Wat Kaosalpra school, Watpleng district, Ratchaburi province. Procedures The Levels of Moral Reasoning Test for elementary students was used in this study. After being examined by the 13 experts, the test was used with students who were not the subjects in the study in order to confirm the test reliability. The Alpha coefficient of Cronbach was used, and it was found that the reliability coefficient of the test was 0.793. the second type of instrument was The work-sheets for stage ascendancy of moral reasoning. The subjects were 32 Prathom Suksa three and four students of Wat Kaosalpra school, Watpleng district, Ratchaburi province in B.E.2523. they were nine to eleven years old and using moral reasoning in stage two and three. The students in both the control group and the experimental group were simple randomly selected. The students in the experimental group were training using the level of moral reasoning in stage four for seventeen days. The post-test was given to both the experimental group and the control group. The data were concluded and analyzed by using t-test. Results There was a significant differences at the level .05 and .01 in using moral reasoning stage three and four of the pre and post training in the experimental group. For the pre and the post training in the control group, there was a significant difference at .05 in using moral reasoning stage four. There was no significant difference in using moral reasoning of other stage. The finding indicated that, the training could change the using of moral reasoning from stage three to stage four. Anyhow, this change occurred in both experimental and control groups effected by the development of the child, so it was not clearly presented the difference between these two groups in moral, reasoning gain scores.
dc.format.extent364780 bytes
dc.format.extent439309 bytes
dc.format.extent920017 bytes
dc.format.extent448585 bytes
dc.format.extent324606 bytes
dc.format.extent527408 bytes
dc.format.extent2055734 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectศีลธรรมจรรยา -- การศึกษาและการสอนen
dc.titleการยกระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สามและสี่ ในจังหวัดราชบุรีen
dc.title.alternativeStage ascendancy of moral reasoning for prathom suksa three and four students in Ratchaburi Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.email.advisorPuntip.S@chula.ac.th
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naiyana_Di_front.pdf356.23 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Di_ch1.pdf429.01 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Di_ch2.pdf898.45 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Di_ch3.pdf438.07 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Di_ch4.pdf317 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Di_ch5.pdf515.05 kBAdobe PDFView/Open
Naiyana_Di_back.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.