Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17782
Title: นโยบายการปกครองเมืองสงขลาในสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 - 2439)
Other Titles: The government policy towards Songkhla during the Ratanakosin period (A.D. 1782 - 1896)
Authors: เพียงแข พงษ์ศิริบัญญัติ
Advisors: ณรงค์ พ่วงพิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สงขลา -- การเมืองและการปกครอง -- ประวัติ
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ถึงนโยบายการปกครองเมืองสงขลาในสมัยรัตนโกสินทร์ระหว่าง พ.ศ. 2325-2439 ซึ่งเป็นช่วงที่เมืองสงขลาเริ่มปรากฏความสำคัญเท่าเทียมเมืองนครศรีธรรมราช และมีบทบาทความสำคัญแทนที่เมืองนครศรีธรรมราช โดยทำหน้าที่ควบคุมหัวเมืองใกล้เคียงและหัวเมืองประเทศราชภาคใต้ การปกครองเมืองสงขลามีส่วนสัมพันธ์กับการปกครองหัวเมืองภาคใต้ กล่าวคือเมืองสงขลามีความสำคัญขึ้นมา เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลกลางที่ต้องการปกครองหัวเมืองภาคใต้ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น จึงมีการกำหนดให้เมืองสงขลามีบทบาทในการควบคุมหัวเมืองประเทศราชภาคใต้ การศึกษาเรื่องนี้ต้องการศึกษาควบคู่กับนโยบายปกครองหัวเมืองภาคใต้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาการปกครองหัวเมืองอันเกิดจากสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ เป็นผลให้รัฐบาลกลางต้องดำเนินนโยบายการปกครองอย่างใกล้ชิด อีกทั้งสาเหตุจากความแตกแยกระหว่างตัวเจ้าเมือง รัฐบาลกลาง ตลอดจนสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการปกครองเพื่อให้การควบคุมเป็นไปอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และผลบั้นปลายคือรัฐบาลกลางสามารถดำเนินการปฏิรูปมณฑลนครศรีธรรมราชได้สำเร็จ สำหรับขอบเขตการศึกษานั้นกำหนดตั้งแต่เริ่มรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2439 เป็นปีสิ้นสุด เพราะตั้งแต่นั้นมาเมืองสงขลาได้รวมอยู่ในรูปการปกครองมณฑลนครศรีธรรมราช อันประกอบด้วยเมืองนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การดำเนินนโยบายปกครองสงขลาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325-2439) มีลักษณะเป็นนโยบายแบบการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับความพอพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์ ความสามารถของเจ้าเมือง ตลอดจนสถานการณ์ภายในประเทศ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นโยบายในการปกครองเริ่มมีความผูกพันใกล้ชิดกับหัวเมืองมากขึ้น รัฐบาลกลางมีนโยบายในการจัดการปกครองหัวเมืองเหล่านี้รัดกุมขึ้น โดยนำการปฏิรูปมณฑลเทศาภิบาลเข้าไปใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2439 เริ่มด้วยการปฏิรูปมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งรวมการปกครองเมืองสงขลาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลด้วย
Other Abstract: The purpose of this research is to provide an analytical study of the administration of Songkhla in Ratanakosin Period from 1782-1896. During this period Songkhla took charge in governing the nearby provincial towns and Southern vassal states and came to replace Nakornsrithammarat in importance. The central government’s administration of Songkhla was related to its interest in increasing control over the Southern provincial towns. In other words. Songkhla’s groving importance was due to the central government’s policy of acquiring control over the Southern provincial towns. It was the writer’s intention to carry out this study along with a study of the policy over the Southern vassal states in order to point out the various problems arising from the administration of provincial towns. This made it necessary for the central government to establish a more cautious policy. What is more, controversies among the provincial rulers themselves and between these rulers and the central government as well as immediate circumstances were responsible for the government’s change in policy in order that the control could be more effective. The final result was that the central government could reform its administration of Monthon Nakornsrithammarat. The study covers the reign of King Rama I to the reign King Rama V in 1896 when Songkhla, Nakornsrithammarat and Patthalung were constituted as Monthon Nakornsrithammarat. We can see from the research that the administration of Songkhla in the early Ratanakosin Period (1782-1851) tends to be based on short-term peoblem-solving policies depending to a large extent on the king, the provincial rulers’ capabilities and the circumstances in the South. Later, in the reign of King Mongkut, the policy tends to establish a closer relationship with the provincial towns. The central government also seeks to improve its control over these towns by introducing the Monthon Dhesapibal system in the reign of King Rama V in 1896. In this year Nakornsrithammarat, including Songkhla, becomes part of the new Dhesapibal system.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17782
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piangkhae_Po_front.pdf720.4 kBAdobe PDFView/Open
Piangkhae_Po_ch1.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Piangkhae_Po_ch2.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Piangkhae_Po_ch3.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Piangkhae_Po_ch4.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Piangkhae_Po_ch5.pdf460.04 kBAdobe PDFView/Open
Piangkhae_Po_back.pdf842.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.