Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17831
Title: งานบริหารการศึกษาของวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: The educational administrative tasks of teachers' colleges in Northeastern region
Authors: น้อย สุปิงคลัด
Advisors: จรูญ มิลินทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบริหารการศึกษา
วิทยาลัยครู -- การบริหาร
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาโครงสร้างของระบบบริหารของวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. เพื่อศึกษางานบริหารการศึกษาของวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในด้านวิชาการ การบริหารงานบุคคล งานกิจการนักศึกษา งานธุรการ การเงิน และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 3. เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบบริหารของวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และงานบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภท วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาจารย์ฝ่ายบริหาร จำนวน 30 คน และกลุ่มอาจารย์ฝ่ายวิชาการจำนวน 220 คน การรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามและเอกสารเกี่ยวกับการบริหารของวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาร้อยละจากคำตอบแต่ละข้อ และกลุ่มงาน พร้อมกับหาค่าเฉลี่ย และทดสอบที-เทส สรุปผลการวิจัย 1. โครงสร้างระบบบริหารของวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยึดหลักการจัดโครงสร้างแบบสายการบังคับบัญชา เป็นสายบังคับบัญชาสายเดียว ส่วนขนาดของขอบเขตการควบคุมงาน และชั้นของการบังคับบัญชายังแตกต่างกันอยู่ และยังขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานของแต่ละฝ่าย จึงน่าจะจัดให้มีการประสานงานในหน่วยงานในระดับฝ่ายและแผนกให้ดีขึ้น 2. การปฏิบัติงานบริหารการศึกษา อาจารย์ฝ่ายบริหารเห็นว่า งานบริหารบุคคลมีการปฏิบัติเป็นอับดับหนึ่งรองลงไปคืองานกิจการนักศึกษา งานธุรการ การเงิน งานวิชาการ และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ตามลำดับ อาจารย์ฝ่ายวิชาการเห็นว่า งานธุรการ การเงิน มีการปฏิบัติเป็นอับดับหนึ่ง รองลงไปคืองานกิจการนักศึกษา งานวิชาการ สำหรับงานบริหารงานบุคคลกับงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนนั้น มีการปฏิบัติอยู่ในอันดับสุดท้ายเท่ากัน ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า งานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน มีการปฏิบัติน้อยกว่างานประเภทอื่น 3. ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบบริหาร และงานบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภท ของวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีคล้ายกัน คือ ระบบโครงสร้างที่ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายต่างๆ งานบริหารการศึกษานั้น ขาดการวิจัย ค้นคว้า ไม่มีอำนาจในการคัดเลือกบุคลากรของวิทยาลัยโดยตรง ขาดบุคลากรทางด้านธุรการ การเงิน โดยเฉพาะ ไม่มีโครงการในการจัดกิจกรรมที่แน่นอน ทั้งยังขาดการติดตามผลการจัดกิจกรรม และยังขาดความร่วมมือกันระหว่างวิทยาลัยกับชุมชน
Other Abstract: The objective of the research 1. To study the educational administrative structure of the teachers' colleges in the northeastern region. 2. To study the educational administrative tasks in the teachers' colleges in the northeastern region. Especially, the academic administration, the personnel administration, the student personnel, the school business, finance and community relations. 3. To study the problems about administrative structure of the teachers' colleges in the northeastern region, and the five educational administrative tasks. Procedures: The questionnaire and administrative document were designed for thirty administrative teachers, and two hundred and twenty academic teachers at the teachers' colleges in the northeastern region. The result of answering the questionnaire was interpreted in the terms of percentage, mean and t-test. The research conclusion: 1. The teachers' colleges in the northeastern region continues the performance by using the hierarchy system which there is only one line form of structure, their span of control and chain of command were different, and lacking of good coordination. 2. The administrative teachers thought that personnel administration was the most important, the others were student personnel, school business, finance, academic administration and community relation, successively. The academic teachers thought that the school business, finance was the most important. The second one was student personnel. The third one was academic administration. The least important works were personnel administration and community relations. The administrative teachers and academic teachers thought that community relations was lesser important than the other works. 3. The problem about the administrative structure and the five educational administrative tasks, of the teachers' colleges in the northeastern region, are similar; namely, they lacked of good coordinating, researching, having authority in selecting the college’s personnels, having enough personnels in business and finance, having project in holding activities, and participating between the colleges and communities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17831
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noi_Su_front.pdf367.34 kBAdobe PDFView/Open
Noi_Su_ch1.pdf407.58 kBAdobe PDFView/Open
Noi_Su_ch2.pdf826.15 kBAdobe PDFView/Open
Noi_Su_ch3.pdf349.63 kBAdobe PDFView/Open
Noi_Su_ch4.pdf635.51 kBAdobe PDFView/Open
Noi_Su_ch5.pdf513.36 kBAdobe PDFView/Open
Noi_Su_back.pdf738.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.