Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17857
Title: การประดิษฐ์เครื่องวัดไบโออิมพีแดนซ์แบบสองแหล่งจ่าย
Other Titles: An invention of 2-source bio-impedance analyzer
Authors: ยศมงคล สวัสดิ์ศฤงฆาร
Advisors: มานะ ศรียุทธศักดิ์
ขจร ตีรณธนากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Mana.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อิมพีแดนซ์
ไบโออิมพีแดนซ์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการประดิษฐ์เครื่องวัดไบโออิมพีแดนซ์แบบสองแหล่งจ่าย ซึ่งเครื่องวัดที่ประดิษฐ์ขึ้นทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าตรงร่วมกับกระแสไฟฟ้าสลับแทนการใช้กระแสไฟฟ้าสลับเพียงอย่างเดียวเพื่อช่วยลดความยุ่งยากที่เกิดขึ้นในการวัดมุมเฟสของเครื่องวัดไบโออิมพีแดนซ์แบบเดิม เครื่องที่ประดิษฐ์ขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ส่วน ได้แก่ วงจรแหล่งจ่ายไฟ, วงจรสร้างสัญญาณ, วงจรแหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้าคงที่, วงจรวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า, ส่วนประมวลผลข้อมูล และส่วนแสดงผล จากการศึกษาการทำงานของเครื่องวัดที่ประดิษฐ์ขึ้นในการวัดค่าอิมพีแดนซ์และค่าความต้านทานพบว่า ในการวัดตัวต้านทานหรือตัวเก็บประจุไฟฟ้ามาตรฐานและตัวต้านทานต่อขนานกับตัวเก็บประจุตามแบบจำลองของเนื้อเยื่อนั้น เครื่องสามารถวัดค่าอิมพีแดนซ์ที่อยู่ในช่วง 160 โอห์ม ถึง 1000 โอห์ม และค่าตัวต้านทานได้ในช่วง 200 โอห์ม ถึง 1000 โอห์ม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเท่ากับ 0.999 ส่วนการวัดค่าไบโออิมพีแดนซ์ในคนปกติโดยทำการเปรียบเทียบผลที่วัดได้กับเครื่อง Maltron Bioscan 916S พบว่าการวัดค่าไบโออิมพีแดนซ์ในคนปกติ ด้วยการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับนั้น สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจประมาณ 0.979 ในขณะที่การวัดความต้านทานในคนปกติ ด้วยการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงนั้น จะทำได้ดีเมื่อทำการวัดกับกลุ่มผู้ทดสอบชายที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 20 กิโลกรัมต่อเมตรกำลังสอง โดยจะมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจอยู่ที่ 0.651
Other Abstract: The present thesis presents the invention of a 2-source Bio-impedance Analyzer for application in hemodialysis patients. The analyzer uses bogth direct and alternative current source to replace the conventional phase shift measurement so as to avoid measurement problem. The analyzer consists of 6 main parts: power supply, signal generator circuit, constant current circuit, voltage measurement circuit, processing circuit, and display. First, performance of the system was investigated in measuring pure resistor, pure capacitor, and resistor-capacitor parallel circuit as a model of tissue. It was found that the system could measure impedance and resistance in the range of 160~1000Ω and 200~1000Ω, respectively. The coefficient of determination of 0.999 was obtained. Second, the system was applied to measure in good health people comparing with the results obtained from Maltron Bioscan 916S. It was found that when the alternative current was applied to measure impedance a satisfactory result was obtained with a coefficient of determination of 0.979. However, when the directive current was applied to measure the resistance, reasonable results were obtained only when the test group were males who have a body mass index higher 20 kg/m². The coefficient of determination of 0.651 was obtained
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมชีวเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17857
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.358
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.358
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yosmongkol_sa.pdf8.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.