Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18085
Title: | การศึกษาเชิงวิเคราะห์ปรัชญาในศิลปะของไมเคิลแอนเจโล |
Other Titles: | An analytical study of philosophy on Micharl Angelo's Art |
Authors: | วนิดา เปรมวุฒิ |
Advisors: | กีรติ บุญเจือ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Issue Date: | 2523 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยปรัชญานั้นนอกจากจะกระทำได้จากวรรณกรรมปรัชญาแล้ว เราสามารถที่วิจัยได้จากงานศิลปกรรมด้วย ทั้งนี้โดยเชื่อว่าศิลปินต่างก็มีปรัชญาบริสุทธิ์ประจำใจ ซึ่งจะปรากฏออกมาเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ทางศิลปะ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีคุณค่ามุ่งหมายที่จะค้นหาปรัชญาที่แฝงอยู่ในศิลปกรรมของไมเคิลแอนเจโล ซึ่งเป็นศิลปินชั้นนำคนหนึ่งของโลก การวิจัยนี้กระทำโดยการศึกษาจากจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม และวิเคราะห์จากข้อเขียนอันมีหนังสือและเอกสารต่างๆ ที่วิจารณ์งานของไมเคิลแอนเจโลในเชิงปรัชญาเป็นส่วนประกอบ บทที่ 2 นำเข้าประเด็นวิจัยโดยกล่าวถึงสภาวะแวดล้อมทางสังคมและแนวคิดทางปรัชญาในสมัยของไมเคิลแอนเจโล ระยะเวลาดังกล่าวนี้อยู่ในสมัยเรอแนสซองส์ อันเป็นสมัยแห่งการฟื้นฟูแนวคิดมนุษยนิยม ซึ่งแฝงอยู่ในด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิชาการ ความรู้ และศิลปะ โดยมีศูนย์กลางของความเจริญในระยะแรกอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ แต่ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 15 ได้เกิดความวุ่นวายทางสังคมทำให้ฟลอเรนซ์มีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมลง บรรดานักวิชาการและศิลปินต่างหลบหนีออกจากเมือง โดยเฉพาะพวกศิลปินซึ่งไมเคิลแอนเจโล เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ได้ย้ายไปสร้างความเจริญที่กรุงโรมทั้งนี้เพราะพระสันตะปาปาทรงให้ความสนใจ และสนับสนุนงานศิลปกรรมเป็นอย่างมากกรุงโรมจึงกลายเป็นศูนย์กลางของศิลปกรรมของยุโรป แนวคิดทางปรัชญาของลัทธิมนุษยนิยม จากเมืองฟลอเรนซ์และหลักปรัชญาของศาสนาคริสต์จากกรุงโรม จึงมีส่วนอย่างมากที่จะส่งผลให้ไมเคิลแอนเจโลได้เกิดความคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม บทที่ 3 วิเคราะห์ถึงหลักปรัชญาและศาสนาที่ไมเคิลแอนเจโลได้นำมาใช้ในงานศิลปกรรม ส่วนใหญ่ได้แก่ปรัชญาพลาโตใหม่ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิมนุษยนิยม)ในส่วนที่เกี่ยวกับความงามซึ่งจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ ความงามที่เราสามารถสัมผัสได้และความงามอันสูงสุด ซึ่งเป็นแม่แบบแห่งความงามทั้งหลายที่ปรากฏในโลกนี้ นอกจากนี้ความเชื่อและศรัทธาในผลงานของท่านซาโวโรลา ซึ่งเป็นพระโดมินิกัน ได้ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจสำหรับไมเคิลแอนเจโลที่จะนำเอาศิลปกรรมมาเป็นเครื่องมือรับใช้ศาสนาประกอบกับไมเคิลแอนเจโลเป็นคนที่ศรัทธาและเชื่อมั่นในพระเจ้าเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เขาจึงเชื่อว่าความงามตามทัศนะปรัชญาของพลาโตและพระเจ้าตามทัศนะของศาสนาคริสต์มิได้มีความแตกต่างกันแต่เป็นสิ่งเดียวกันที่เป็นความจริงอันสูงสุด เพราะฉะนั้นไมเคิลแอนเจโลจึงได้ประนีประนอมแนวความคิดทั้งสองในงานศิลปกรรม ทำให้ผลงานของเขามีลักษณะพิเศษกว่าศิลปินคนอื่นๆ ในสมัยนั้น ซึ่งมักจะสร้างศิลปกรรมในทัศนะใดทัศนะหนึ่ง งานของไมเคิลแอนเจโลจึงมีความยิ่งใหญ่และเป็นที่นิยมยกย่องตลอดมา บทที่ 4 วิเคราะห์ปรัชญาในงานศิลปกรรมที่สำคัญๆ ของไมเคิลแอนเจโลอันได้แก่งานจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ในการวิเคราะห์ผลงานเหล่านี้ได้ทำให้เราเห็นเนื้อหาของงานศิลปกรรมส่วนใหญ่ (ยกเว้นงานประติมากรรมบัคคุส) เป็นเรื่องราวของศาสนาคริสต์ซึ่งอยู่ในคำภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมและภาคพันธสัญญาใหม่แต่มีความงามตามทัศนะของศิลปินที่จะให้ความงามแก่ศิลปกรรมนั้นอย่างสมบูรณ์ที่สุด เมื่อจิตของเราหยั่งถึงความงามนั้น ความศรัทธาจะเกิดขึ้นทำให้เราปรารถนาบรรลุถึงสวรรค์อันเป็นสถานที่สถิตของพระผู้เป็นเจ้า และมีความปรารถนาที่จะมีชีวิตร่วมกับพระองค์ การตรึกตรองในความงามจึงเป็นทางแห่งความรอดที่จะทำให้เราเข้าถึงความเป็นจริงอันสูงสุดนั่นคือพระเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งความงามสูงสุด การวิเคราะห์ศิลปกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้เราได้เห็นแนวคิดทางปรัชญาซึ่งแฝงอยู่ในงานศิลปกรรมเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าศิลปะนั้นเราสามารถนำมาใช้เป็นสื่อ หรือเครื่องมือในการอธิบายความคิดทางปรัชญาให้คนโดยทั่วไปเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะผู้ไร้การศึกษาซึ่งไม่มีโอกาสเข้าใจแนวคิดทางปรัชญา ได้มีโอกาสรู้และเข้าใจ ทั้งยังสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม จากผลการวิเคราะห์เราจึงสรุปได้ในบทที่ 5 งานศิลปกรรมของไมเคิลแอนเจโล ได้สะท้อนให้เราเห็นปรัชญาพลาโตใหม่ และปรัชญาของศาสนาคริสต์ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวที่อยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมและใหม่ รวมทั้งจริยธรรมของศาสนา เนื้อหาของปรัชญาที่กล่าวมานี้จึงแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยา และ จริยศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาทั้ง 3 ลักษณะนี้เป็นแนวคิดที่สำคัญ ซึ่งศิลปินได้แสดงออกในรูปของศิลปกรรม จึงเป็นที่เข้าใจง่ายกว่าในรูปการพิมพ์ตามหลักตรรกวิทยานับเป็นความฉลาดของศิลปินในการนำเอาความคิดปรัชญาเข้ามาแฝงในงานศิลปกรรมอันแสดงให้เห็นว่าศิลปินจะต้องมีหลักปรัชญาบริสุทธิ์ประจำใจ ซึ่งปรากฏออกมาเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ หลักปรัชญาบริสุทธิ์เหล่านี้ศิลปินอาจได้รับมาจากสภาวะแวดล้อมทางสังคมและจากการศึกษา ดังนั้นงานศิลปกรรมของไมเคิลแอนเจโลนี้ นอกจากสอนศีลธรรม และจริยธรรม ทางศาสนาให้แก่คนโดยทั่วไปแล้ว ยังสามารถตอบปัญหาทางปรัชญาซึ่งมนุษย์ส่วนมากกำลังแสวงหาคำตอบอยู่ในขณะนั้น |
Other Abstract: | Philosophical research can be done from work of other than from philosophical literature. On the belief that artists have some sort of pure philosophy in mind as the foundation of their creativity, this study is aimed to analize the philosophy in Michael Angelo's works of art, one of the greatest masters of the world. The research is done mainly on Michael Angelo's painting, sculpture, architecture, and partly on criticisms on his work of art. Chapter 2 starts the analysis by proposing the social environment and the philosophical ideas in the time of Michael Angelo, the Reanissance, the time during which Humanism was revived, and generally found in culture, tradition, knowledge and art. The period was originated in Florence. In the 15th century, Florence was deteriorated by its social and depression. The learned and the artists, especially the group of which Michael Angelo was a member, fled from Florence to Rome. As the Pope of the Renaissance were very much interested in, and encouraged the works of art, Rome became the center of European art, Thus the Humanism in Florence and the Christian philosophy in Rome influenced Michael Angelo’s Works of art. Chapter 3 analizes the philosophy and the religion found in Michael Angelo's works of art, which was mainly Neo¬Platonism (Part of Humanism). As for beauty, which may be divided into 2 types:, the sensory beauty and the absolute beauty as source of all beauty in this world. Michael Angelo's belief and faith in Savonarola, a Dominican priest, inspired Michael Angelo to create works art for serving religion. Together with faith in God, Michael Angelo believed that beauty in Plato's philosophy and God in christian religion were not different entities, but they were one and the same: the ultimate reality. Thus Michael Angelo reconciliated these two ideas in his works of art. This characteristic distinguished him from his contemporary artists who were fond of creating works of art based on only one philosophical idea. Chapter 4 analizes the philosophical ideas in Michael Angelo's main works of art: painting, sculpture and architecture. From the research, we see that most of his works of art (except the sculpture, Bacchus) were based on the story of the New and Old Testaments. Michael Angelo had the idea of creating absolute beauty. If we could reach this beauty, faith would arise and lead us to Heaven, the Kingdom of God, and to be one with Him. To contemplate on beauty is the way of our salvation to the absolute reality, that is God, who is also the Absolute Beauty. The research enables us to see the philosophical ideas in the works of art, and also shows that art could be used as media or tools to explain the philosophical ideas to the public, especially the uneducated, whose chance to learn and understand is limited. People may learn philosophy and practise it in such a way to yield benefits to their society. The result of the research can be summed up as follows: Michael Angelo's works of art reflect Neo-platonism, Christian philosophy and Ethics of the religion. The subject can be separated into 3 points: metaphysics, epistemology and ethics. These appearing in the art form, are more understandable to the people than in the logical form. It indicates that artists have some pure philosophy in mind which might be inspired by the social environments, and by their education. Therefons, Michael Angelo's works of art teach not only morals and ethics, but also answer philosophical problems for the people who have questions in their mind |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18085 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanida_Pr_front.pdf | 350.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanida_Pr_ch1.pdf | 296.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanida_Pr_ch2.pdf | 582.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanida_Pr_ch3.pdf | 469.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanida_Pr_ch4.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanida_Pr_ch5.pdf | 356.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanida_Pr_back.pdf | 251.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.