Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18120
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ฉบับพุทธศักราช 2519
Other Titles: Opinions concerning the implementation of the B.E. 2519 science curriculum at the higher certificate of education level
Authors: ธิดา กลิ่นเกษร
Advisors: โรจนี จะโนภาษ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
หลักสูตร
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารกา รศึกษา อาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประกาศนียบัตรวิชาก ารศึกษาชั้นสูง ฉบับพุทธศักราช 2519 ในเรื่องความมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน การวัดและการประเมินผล และเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรในด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นระหว่างผู้บริหารการศึกษากับอาจารย์ผู้สอนวิชาวิทย าศาสตร์ ผู้บริหารการศึกษากับนักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์กับนักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.81 ไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชากรซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารการศึกษา 128 คน อาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ 154 คน และนักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ 164 คน แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัย 1.ผู้บริหารการศึกษา อาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความมุ่งหม ายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน การวัดและการประเมินผลว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง 2.เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษากับอาจารย์ผู้สอนวิ ชาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3.เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษากับนักศึกษาวิชาเอ กวิทยาศาสตร์ ปรากฏว่าความคิดเห็นส่วนมากเกี่ยวกับเรื่องความมุ่งหมายของหลักสู ตร กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน การวัดและการประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แต่ในเรื่องโครงสร้างของหลักสูตรและเนื้อหาวิชามีความคิดเห็นไม่แ ตกต่างกัน 4.เปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์กับนัก ศึกษาเอกวิชาวิทยาศาสตร์ ปรากฏว่าความคิดเห็นส่วนมากเกี่ยวกับเรื่องความมุ่งหมายของหลักสู ตร กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน การวัดและการประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่ในเรื่องโครงสร้างของหลักสูตรและเนื้อหาวิชามีความคิดเห็นไม่แ ตกต่างกัน
Other Abstract: Purposes : The purposes of this research were to study the opinions of administrators, science instructors and students major in science concerning the implementation of the B.E.2519 science curriculum at the Higher Certificate of Education Level in the aspects of curriculum objective, curriculum structure, subject matter, instructional activities, instructional materials, measurement and evaluation, and to compare the opinions concerning the implementation of the aspects mentioned above between the administrators and the science instructors, the administrators and the students major in science, the science instructors and the students major in science. Procedures : The questionnaires which the reliability of each one was 0.81 were administered to the samples by the researcher. The samples consisted of 128 administrators. 154 science instructors and 164 students major in science. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. Findings : 1.The administrators, the science instructors and the students major in science agreed that the curriculum objectives, the curriculum structure, the subject-matter, the instructional activities, the instructional materials, measurement and evaluation were suitable at moderate level. 2.There was no significant difference at the level of 0.05 between the opinions of the administrators and the science instructors concerning the aspects mentioned above. 3.There was a significant difference at the level of 0.05 between the most opinions of the administrators and the students major in science concerning the curriculum objectives, instructional activities, instructional materials, measurement and evaluation, but the curriculum structure and the subjects-matter had no significant difference at the level of 0.05. 4.There was a significant difference at the level of 0.05 between the most opinions of the science instructors and the students major in science concerning the curriculum objectives, instructional activities, instructional materials, measurement and evaluation, but the curriculum structure and the subject-matter had no significant difference at the level of 0.05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18120
ISBN: 9745636746
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thida_Kl_front.pdf367.63 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Kl_ch1.pdf313.41 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Kl_ch2.pdf492.04 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Kl_ch3.pdf299.78 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Kl_ch4.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Thida_Kl_ch5.pdf459.51 kBAdobe PDFView/Open
Thida_Kl_back.pdf739.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.