Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18340
Title: การเตรียม, การวิเคราะห์ลักษณะ และสมบัติโฟโต้โวลตาอิกของท่อนาโนไททาเนตจากวัสดุราคาถูก
Other Titles: Preparation, characterization and photovoltaic properties of nanotube titanate from low cost materials
Authors: พิสุทธิ์ เจริญรัตน์
Advisors: ณัฐพร โทณานนท์
สรพงษ์ ภวสุปรีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: nattaporn.t@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ท่อนาโน
ไทเทเนียมไดออกไซด์
เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง
Nanotubes
Titanium dioxide
Dye-sensitized solar cells
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันวัสดุไททาเนตและไททาเนียมไดออกไซด์มีการประยุกต์ใช้ในงานทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น วัสดุกึ่งตัวนำในเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง วัสดุบำบัดนํ้าเสีย วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยา อุปกรณ์ตรวจสอบก๊าซ และอื่นๆ ในงานวิจัยนี้ท่อนาโนไททาเนตถูกสังเคราะห์ขึ้นผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มัล โดยการผสมวัสดุราคาถูก (ผงสีขาวไททาเนียมไดออกไซด์ และแร่ลูโคซีน) ลงในโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่มีความเข้มข้น 10 โมล่าร์ ที่อุณหภูมิ 100-110 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง รูปร่าง ขนาด โครงสร้างผลึก พื้นที่ผิวจำเพาะ ของท่อนาโนที่เตรียมได้ ถูกวิเคราะห์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) เอ็กซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน (XRD) และเครื่องวัดพื้นที่ผิวจำเพาะด้วยเทคนิค Brunauer-emmett-teller (BET) จากการศึกษาพบว่า ท่อนาโนไททาเนตมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกประมาณ 8-10 นาโนเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางภายในประมาณ 3-4 นาโนเมตร ค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ (BET surface area) และปริมาตรรูพรุนของท่อนาโนที่เตรียมจากผงสีขาวไททาเนียมไดออกไซด์และแร่ลูโคซีน 251.96 ตร.ม./กรัม, 1.0248 ลบ.ซม./กรัม และ 144.79 ตร.ม./กรัม, 1.0335 ลบ.ซม./กรัม ตามลำดับ ซึ่งวิธีการเตรียมนี้เป็นวิธีการเตรียมที่ไม่ยุ่งยากสำหรับวัสดุท่อนาโนจากวัสดุราคาถูก และนำวัสดุท่อนาโนที่เตรียมได้ไปทดลองประยุกต์ใช้ในเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง โดยเมื่อผสมวัสดุท่อนาโนไททาเนตกับไททาเนียมไดออกไซด์เชิงพาณิชย์(P25) จะให้ประสิทธิภาพ (ɳ) 2.77% และ 3.16% สำหรับวัสดุท่อนาโนไททาเนตจากผงสีขาวไททาเนียมไดออกไซด์และแร่ลูโคซีน ตามลำดับ
Other Abstract: Titanate and titanium dioxide have been widely used for energy and environment applications such as a semiconductor in dye-sensitized solar cell, water treatment materials, catalysts, gas sensors, and so on. In this study, titanate nanotubes were synthesized via hydrothermal method from low-cost materials (white pigment powder and natural Leucoxene mineral) in 10M NaOH at 100-110℃ for 24 h. The shape, size, crystalline structures and specific surface areas of the prepared nanotubes were characterized by Scanning electron microscopy (SEM), Transmission electron microscopy (TEM), X-ray diffraction (XRD), and Brunauer-emmett-teller (BET) surface area measurements. The prepared titanate nanotubes had an average outer diameter of around 8-10 nm and the inner diameter around 3-4 nm. The BET surface area and pore volume of the prepared titanate nanotubes from white pigment and natural Leucoxene mineral were about 251.96 sq.m./g, 1.0248 cubic cm/g and 144.79 sq.m./g, 1.0335 cubic cm./g, respectively. This preparation method provides a simple route to fabricate nanotubes from low-cost materials. The prepared nanotubes could be applied in dye-sensitized solar cell, which had the solar conversion efficiency (ɳ) up to 2.77% and 3.16% when combined commercial titanium dioxide (P25) with prepared titanate nanotubes from white pigment and natural leucoxene mineral, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18340
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisut_ch.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.