Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18401
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกฤติยา อัตถากร
dc.contributor.advisorนงนุช ภัทราคร
dc.contributor.authorนงเยาว์ ศรีพรมสุข
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-03-22T15:41:14Z
dc.date.available2012-03-22T15:41:14Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745641456
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18401
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการใช้หรือไม่ใช้บัตรรายการ สาเหตุของการไม่ใช้บัตรรายการ ประเภทของบัตรรายการที่ผู้ใช้ใช้มากที่สุด และการใช้รายการต่างๆ ที่ลงไว้ในบัตรรายการของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ในปีการศึกษา 2526 วิธีดำเนินการวิจัย ใช้การค้นคว้าจากหนังสือ วารสาร เอกสาร ตลอดจนสิ่งพิมพ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย วิธีการส่งแบบสอบถามไปให้นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี จำนวน 558 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 531 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ คือร้อยละ 77.59 ใช้บัตรรายการเป็นเครื่องมือในการค้นหาเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ มีเพียงร้อยละ 22.41 เท่านั้นที่ไม่ใช้บัตรรายการซึ่งมีสาเหตุเพราะว่า นักศึกษาทราบสถานที่เก็บสิ่งพิมพ์ที่ต้องการแล้ว และสาเหตุรองลงมาคือ นักศึกษาคิดว่าดูตัวเล่มหนังสือเข้าใจง่ายกว่าดูบัตรรายการ ในด้านประเภทของบัตรรายการที่ใช้นั้น พบว่า นักศึกษาใช้บัตรชื่อเรื่องมากกว่าบัตรประเภทอื่น ส่วนการใช้รายการต่างๆที่ลงไว้ในบัตรรายการนั้น พบว่า รายการที่ใช้มากมีเพียง 4 รายการ คือ รายการเลขเรียกหนังสือ ชื่อผู้แต่งที่เป็นบุคคล ชื่อเรื่อง และหัวเรื่อง รายการที่ไม่ใช้เลยคือ รายการชื่อบรรณาธิการ ชื่อนิติบุคคลรับผิดชอบในการพิมพ์ และปีลิขสิทธิ์ ข้อเสนอแนะ 1. ห้องสมุดควรจัดทำบัญชีรายชื่อหนังสือที่ไม่อยู่บนชั้นเป็นเวลานาน แล้วแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ เพื่อขจัดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้บัตรรายการ อันจะทำให้มีผู้ใช้บัตรรายการมากขึ้น 2. บรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์เลขหมู่และหัวเรื่อง ควรให้ความสำคัญกับรายการเลขเรียกหนังสือ ชื่อผู้แต่งที่เป็นบุคคล ชื่อเรื่อง และหัวเรื่อง ซึ่งเป็นรายการที่ผู้ใช้ใช้ในระดับมาก ควรยกเลิกการจัดทำบัตรแจ้งหมู่หนังสือสำหรับผู้ใช้ โดยอาจเพิ่มเลขทะเบียนไว้ในบัตรชื่อเรื่อง ซึ่งเป็นบัตรที่ผู้ใช้ใช้ในระดับมากที่สุด และควรลงรายละเอียดในบัตรผู้แต่งให้ครบถ้วนสมบูรณ์ คือ ลงรายการแนวสืบค้นด้วย 3. ห้องสมุดควรจัดวางตู้บัตรรายการไว้ใกล้บริเวณทางเข้าออก เพื่อให้ผู้ใช้เห็นเป็นสิ่งแรกเมื่อเข้ามาในห้องสมุด และควรจัดทำป้ายประกาศแผ่นใหญ่ที่บรรจุรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้บัตรรายการ และคำอธิบายรายการบนบัตร ติดไว้เหนือตู้บัตรรายการด้วย เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจวิธีการใช้บัตร และรายการต่างๆบนบัตรรายการมากยิ่งขึ้น 4. ห้องสมุดควรพยายามปรับปรุงการลงรายการในบัตรรายการให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์ในการจัดทำสหบัตรร่วมกับกลุ่มห้องสมุดต่างๆ 5. ห้องสมุดควรจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงรายละเอียดสำคัญต่างๆเกี่ยวกับห้องสมุด จำนวนวัสดุห้องสมุด ตลอดจนบริการของห้องสมุด 6. สถาบันฯควรจัดวิชาการใช้ห้องสมุดไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันฯเพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการใช้ห้องสมุด อันจะก่อให้เกิดทักษะในการค้นหาเรื่องราวหรือวัสดุที่ตนต้องการได้อย่างลึกซึ้งและรวดเร็ว
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: (1) to survey the use or non-use of card catalogs and the cause of not using the catalog (2) to survey the type of card catalogs that users use most (3) to survey the use of items in card catalogs of the users of King Mongkut’s Institute of Technology, Thonburi Campus in the academic year 1983. The research methods used in this research were documentary research through books, periodicals, documents and other printed materials that concerned this research. The following data were obtained by sending 558 questionnaires to the students of King Mongkut’s Institute of Technology, Thonburi Campus, of which 531 (95%) were complete answered and returned. The results were: the majority of the students (77.59%) used the card catalogs as their tools to find the books and other printed materials they needed. There were students (22.41%) that didn’t use the card catalogs because they had already known the sites of the book shelves they needed. The other reason was they thought that the features of the books were easier to understand than the card catalogs. The card catalogs that the students use most is the title card. The items in the card catalogs that are used secondarily are call number, author, title and subject. Items that are not used are editor, corporate body as publisher and copyright date. The main recommendations from this research are as follows:- 1. The library should produce and inform the users the lists of the books that have not been on the shelves for a long time so as to get rid of their bad attitudes toward the use of the card catalog. Consequently, the card catalogs would be used more widely. 2. The cataloguers should pay their attention to the call number, the author, the title and the subject which are used secondarily. The shelf list cards for the users should not be provided anymore, but the accession number should be put in the title card since it is used the most and tracing areas should be included in the author cards. 3. The library should place the card catalog cabinets near the entrance in order that users could see them first when they entered the library. Besides, the library should install a large display containing all information about using all items in the card catalog on the top of the card catalog cabinets to make the users understand more how to use the card catalogs. 4. The library should try to standardize cataloguing rules in order to be useful for coordinating the union catalog with other group of libraries. 5. The library should produce a library handbook which contains essential information about the library, number of collections, and its services. 6. The institute should provide a course to teach the students how to use the library which will give the library skill for quick searching in library materials.
dc.format.extent318030 bytes
dc.format.extent340471 bytes
dc.format.extent335841 bytes
dc.format.extent324433 bytes
dc.format.extent445308 bytes
dc.format.extent353024 bytes
dc.format.extent602369 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบัตรรายการen
dc.titleการใช้บัตรรายการของผู้ใช้ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตตธนบุรีen
dc.title.alternativeThe use of card catalog of the library of King Mongkut's Institute of Technology, Thonburi Campusen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongyao_Sr_front.pdf310.58 kBAdobe PDFView/Open
Nongyao_Sr_ch1.pdf332.49 kBAdobe PDFView/Open
Nongyao_Sr_ch2.pdf327.97 kBAdobe PDFView/Open
Nongyao_Sr_ch3.pdf316.83 kBAdobe PDFView/Open
Nongyao_Sr_ch4.pdf434.87 kBAdobe PDFView/Open
Nongyao_Sr_ch5.pdf344.75 kBAdobe PDFView/Open
Nongyao_Sr_back.pdf588.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.