Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18562
Title: การผลิตกรด 6-อะมิโนเพนนิซิลานิกโดยใช้เซล Escherichia coli ที่ถูกตรึง
Other Titles: Producton of 6-aminopenicillanic acid by immobilized whole cells of escherichia coli
Authors: จันทร์เพ็ญ เดชะอำไพ
Advisors: สัณห์ พณิชยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เพนนิซิลลิน
เอสเคอริเคียโคไล
เอนไซม์ตรึงรูป
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการคัดเลือกพันธุ์แบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลสสูง จากแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ คือ E.coli ATCC 9637, ATCC 11105 และ S.rubidaea ATCC 181 โดยอาศัยคุณสมบัติการต้านยาเพนนิซิลิน จี และรูปแบบการเจริญและการผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลส เป็นดัชนี พบว่า E.coli ATCC 9637 จะให้แอคติวิตีของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลสสูงสุด เมื่อเจริญในอาหารสูตรต่ำที่ 30 องศาเซลเซียส เมื่อมี 0.2 เปอร์เซ็นต์ กรดฟีนิลอะซีติกเป็นตัวชักนำ สภาวะเหมาะสมในการเจริญและการผลิตเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลส E.coli ATCC 9637 คือ อาหารสูตรปรับต่ำที่เสริมด้วย 0.2 เปอร์เซ็นต์ กรดฟีนิลอะซีติก และ 0.5 เปอร์เซ็นต์โซเดียมกลูตาเมตเป็นตัวชักและสารต้นตอ ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 28-30 ชั่วโมง แอคติวิตีของเอนไซม์ที่ได้ในสภาวะนี้มีค่าประมาณ 40 หน่วยต่อมิลลิกรัมโปรตีนสุทธิของเซล ที่ค่าการเจริญ 440 หน่วยเคลต ถ้าอุณหภูมิในการเลี้ยงเชื้อเพิ่มสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสหรือใช้กลูโคสเป็นสารต้นตอคาร์บอนในอาหารเลี้ยงเชื้อจะเป็นผลให้แอคติวิตีของเอนไซม์ต่ำลง นอกจากนี้ถ้าเสริมกรดฟีนิลอะซีติกสูงกว่า 0.2 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีผลลดแอคติวิตีของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลสด้วย ในการตรึงเซล E.coli ATCC 9637 ด้วยแคปปา-คาร์ราจีแนนและวุ้น พบว่าสภาวะที่เหมาะสมคือ ปริมาณความเข้มข้นของเซล 10-15 เปอร์เซนต์ (น้ำหนัก่อน้ำหนัก) ตรึงด้วยแคปปา-คาร์ราจีแนน 2.5 เปอร์เซนต์ (น้ำหนักต่อต่ปริมาตร) ขนาดรูปร่างลักษณะตลอดจน strength ของม็ดเจลตรึงแปรตามปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ ความเร็วในการกวนสารละลาย, ชนิดของวัสดุตรึง, ความเข้มข้นของวัสดุตรึง และความเข้มข้นของเซลที่ใช้ รวมทั้งขนาดของเม็ดเจลเซลตรึงจะมีผลกระทบต่อแอคติวิตีของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลสในเซลตรึงแคปปา-คาร์ราจีแนน ค่า % activity recovery ในเซลตรึงคาร์ราจีแนน (85-90 เปอร์เซนต์) จะสูงกว่าค่าที่วัดได้ในเซลตรึงวุ้น (75-80 เปอร์เซนต์) การเสริมด้วยกลูตารัลดีไฮด์ 0.1 โมลาร์ ไม่มีผลเพิ่ม strength ของเจลตรึงทั้งสองชนิด แต่ลจะลด % activity recovery ของเซลตรึงทั้ง 2 ชนิดลงบ้าง และมีผลเพิ่มความเสถียรของเอนไซม์ในเซลตรึงเจลได้บ้างเล็กน้อย การเสริมด้วยกลูตารัลดีไฮด์ 0.1 โมลาร์และเฮกซาเมทธิลลีนไดอามีน 0.1 โมลาร์หลังตรึงเวลจะมีผลในการเพิ่ม strength ของเม็ดเจลเซลตรึงแคปปา-คาร์ราจีแนน มากกว่า 2 เท่าตัว ในขณะที่ strength ของม็ดเจลเซลตรึงวุ้นเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย ผลการเปรียบเทียบสมบัติของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลส ในเซล E.coli ATCC 9637 อิสระ; เซล E.coli ATCC 9637 ตรึงวุ้นและแคปปา-คาร์ราจีแนนเสริมกลูตารัลดีไฮด์และเฮกซาเมทธิลลีนไดอามีน ให้ผลดังนี้ pH เหมาะสมในการเร่งปฏิกิริยาการไฮโดรไลซ์เพนนิซิลินจี มีค่า 7.5-8.5, 6.5 และ 7.0-7.5 อุณหภูมิเหมาะสมในการเร่งปฏิกิริยาคือ 50, 55 และ 50-55 องศาเซลเซียส ตามลำดับ พบว่าเอนไซม์ในเซลตรึงจะมีความสามารถในการทนทานต่อสภาวะที่เป็นกรด มากกว่าในเซล E.coli อิสระ เอนไซม์ในเซลตรึงและเซลอิสระสามารถเก็บไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส นาน 5 ชั่วโมง โดยไม่สูญเสียแอคติวิตีเลย สำหรับค่าคงที่ทางจลน์ศาสตร์ของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลสในเซล E.coli ATCC 9637 อิสระ, เซล E.coli ATCC 9637 ตรึงวุ้นและตรึงแคปปา-คาร์ราจีแนนเสริมกลูตารัลดีไฮด์และเฮกซาเมทธิลลีนไดอามีน มีค่าดังนี้ Ki ของเพนนิซิลิน จี ; 6.7, 5.5 และ 3.1 มิลลิโมลาร์ Vmax ; 16.7, 6.7 กรดฟีนิลอะซีติก 5.3 หน่วยต่อกรัมเซลอิสระ ตามลำดับ Ki ของกรดฟีนิลอะซีติก ; 4.0, 8.0 และ 7.0 มิลลิโมลาร์ และ Ki ของกรด 6-อะมิโนเพนนิซิลานิก ; 12.3, 20.3 และ 35.3 มิลลิโมลาร์ ตามลำดับ เมื่อเก็บรักษาเซล E.coli ATCC 9637 ในนอร์มอลซาลีนที่ 4 องศาเซลเซียส นาน 80 วันจะมี แอคติวิตีของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลสเหลืออยู่ 80 เปอร์เซนต์ และเก็บเซล E.coli ATCC 9637 ตรึงวุ้นและตรึงแคปปา-คาร์ราจีแนนเสริมกลูตารัลดีไฮด์และเฮกซาเมทธิลลีนไดอามีน ไว้ในนอร์มอลซาลีน และ 0.3 โมลาร์โพแตสเซียมคลอไรด์ที่ 4 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นาน 30 วัน โดยไม่มีการสูญเสียแอคติวิตีของเอนไซม์ นอกจากนี้พบว่า E.coli ATCC 9637 ตรึงวุ้น และตรึงแคปปา-คาร์ราจีแนนเสรัมกลูตารัลดีไฮด์ และเฮกวาเมทธิลลีนไดอามีน จะยังคงแอคติวิตีของเพนนิซิลิน เอซิเลสอย่างสมบูรณ์ เมื่อทำการวัดทุกๆ 5 วันเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน โดยไม่มีการสูญเสียแอคติวิตีของเอนไซม์เพนนิซิลิน เอซิเลส
Other Abstract: Screening of the bacterial strains, namely E.coli ATCC 9637, ATCC 11105 and S.rubidaea ATCC 181 for having a high ability to produce penicillin acylase was don by means of penicillin G resistance test and detection of the enzyme activity in concurrent with the cell growth pattern. E.coli ATCC 9637 was selected due to the high production of penicillin acylase and growth in minimum medium at 30C . The optimal conditions for growth and enzyme production of E.coli ATCC 9637 which gave 440 Klette unit and penicillin acylase activity of 54.2 units/mg total protein was found in minimum medium (0.2% phenylacetic acid and 0.5% sodium glutamate) at 30C. The culture temperature higher than 30C repressed both growth and enzyme synthesis. Furthermore concentration of phenylacetic acid higher than 0.2% also reduced the penicillin acylase synthesis by means of catabolite repression. The optimal condition for immobilization of E.coli ATCC 9637 by entrapment in K-carrageenan and agar gel lattice were accomplished by two phase system consisting of 10-15% w/w of E.coli cells in 2.5% w/v and 5.0% w/v of K-carrageenan and agar gel, respectively. The size and shape including strength of beads were found to be dependent on the stirring speed of gel solution stirring, types of gel, cell and gel concentration. Penicillin acylase activity was reduced according to the increment of K-carrageenan gel size. Percentage of the activity recovery in K-carrageenan immnobilized cells (80-85%) was slightly higher than that in the agar (70-80%). The implement of 0.1 molar gulataraldehyde did not affect the strength of both types of immobilizes cells but it reduced the percentage of enzyme recovery and slightly supported the stability of the mmobilized cells. However, the addition of 0.1 molar hexamethylenediamine to the previous condition could strengthen the hardness of K-carrageenan immobilized cells more than that of the agar. The properties of penicillin acylase of E.coli ATCC 9637 cells were investigated and compared with those of immobilized cells. With regard to optimal pH, it was observed that penicillin acylase of the immobilized cell favored to hydrolyse penicillin G to 6-aminopenicillanic acid in acidic pH range in comparison to the free cells (7.5-8.5 for free cells, 6.5 and 7.0-7.5 for K-carrageenan and agar immobilized cells respectively). The optimal temperature of immobilized cells was slightly higher and broader than that of the free cells (50, 55 and 50-55C respectively). No difference in thermal stability of penicillin acylase enzyme was found among the three types of cell when at 37C for 5 hours. The kinetic constants of penicillin acylase in E.coli ATCC 9637, K-carrageenan and agar immobilized cells were also demonstrated. The Km values of the enzyme preparations for penicillin G were 6.7, 5.5 and 3.1 mM at the Vmax of 16.7, 6.7 and 5.3 unit/g free cells respectively. The Ki value were found to be 4.0, 8.0 and 7.0 mM for phemylacetic acid and 12.3, 20.3 and 35.3 mM for 6-aminopenicillanic acid, respectively. The E.coli ATCC 9637 cells can be stored at 4C in normal saline for over 80 days with only 20% loss in penicillin acylase activity. In contrast, the activity of the enzyme in immobilized cells implement with glutaraldehyde and hexamethylenediamine stored in normal saline and 0.3 M KCl at 4C for a period of 30 days was not loss as the penicillin acylase can be detected at every 5 day intervals for 30 days at 25C without any decrease in its activity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2529
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18562
ISBN: 9745668974
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chunphen_De_front.pdf408.06 kBAdobe PDFView/Open
Chunphen_De_ch1.pdf688.64 kBAdobe PDFView/Open
Chunphen_De_ch2.pdf513.4 kBAdobe PDFView/Open
Chunphen_De_ch3.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Chunphen_De_ch4.pdf424.9 kBAdobe PDFView/Open
Chunphen_De_back.pdf402.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.