Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18683
Title: การลดข้อบกพร่องในกระบวนการพ่นสีตัวถังรถยนต์โดยแนวทางซิกซ์ ซิกม่า
Other Titles: Defect reduction in painting process of car-bodywork by six sigma approach
Authors: อาทิตย์ หงสพันธ์
Advisors: นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: napassavong.o@chula.ac.th
Subjects: ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)
รถยนต์ -- การพ่นสี
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากงานซ่อมข้อบกพร่องหลัก และจำนวนข้อบกพร่องเฉลี่ยต่อรถ 1 คันโดยที่เลือกแก้ไขข้อบกพร่องที่มีจำนวนมากและก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมสูง 7 ชนิด ได้แก่ข้อบกพร่องประเภทเส้นใย, สีเป็นคราบ, สีเป็นรอยขีด, เม็ดผง, สีไหล, เม็ดพื้น และสีเป็นหลุมในกระบวนการพ่นสีตัวถังรถยนต์ โดยมีเป้าหมายในการปรับปรุงอยู่ที่ 40% ทั้งค่าใช้จ่ายในการซ่อมและจำนวนข้อบกพร่องเฉลี่ย การดำเนินงานวิจัยได้ใช้แนวทางการปรับปรุงของซิกซ์ ซิกม่า ทั้ง 5 ขั้นตอน เริ่มจากระยะการนิยามปัญหาได้ศึกษาสภาพปัญหา กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของการปรับปรุง จากนั้นในระยะการวัดเพื่อหาสาเหตุของปัญหา ได้วิเคราะห์ระบบการวัดสำหรับข้อมูลเชิงนับโดยวิเคราะห์ทั้งความถูกต้องและความแม่นยำของระบบการวัด จากนั้นวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการในปัจจุบัน แล้วจึงระดมสมองเพื่อหาปัจจัยนำเข้าที่อาจมีผลต่อการเกิดเส้นใย, สีเป็นคราบ, สีเป็นรอยขีด, เม็ดผง, สีไหล, เม็ดพื้น และสีเป็นหลุมโดยใช้แผนภาพและตารางแสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผล และการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ จากนั้นในระยะการวิเคราะห์หาสาเหตุของข้อบกพร่องได้นำเอาปัจจัยที่เลือกมาทำการทดสอบนัยสำคัญด้วยวิธีการทางสถิติ และปรับปรุงโดยหาค่าที่เหมาะสมของปัจจัยโดยการออกแบบการทดลอง จากนั้นทดสอบยืนยันผลและกำหนดแผนควบคุมและมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานใหม่ในระยะการติดตามควบคุม หลังการปรับปรุงสามารถลดจำนวนข้อบกพร่องเฉลี่ยต่อรถ 1 คันลงได้ 57% คือจาก 0.37 ลงเหลือ 0.16 และสามารถลดจำนวนค่าใช้จ่ายในการซ่อมข้อบกพร่องต่อคันลงได้ 55% คือจาก 88 บาทต่อคัน ลงเหลือ 40 บาทต่อคัน ซึ่งเมื่อคำนวณจากข้อมูลยอดการผลิตที่ได้พยากรณ์ไว้ของปี 2553 ที่มียอดการผลิตเท่ากับ 166,955 คัน คาดว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ 5,796,469 บาท
Other Abstract: The objective of this research is to reduce rework cost and defects per unit in car-bodywork painting process. There are seven main defects to reduce, which are fiber, paint stain, scratch, dust, sagging, surface dust and crater. This research sets the goal to reduce 40% of rework cost and defect per unit (dpu). This research applied the Six Sigma approach, which was composed of 5 phases. In the first phase, the Define phase, the problem statement, objective and scope were defined. Next, in the Measure phase, an Attribute Agreement Analysis was performed to appraise the measurement system capability in terms of both accuracy and precision. Then, Process Capability was studied. In the Analyze phase, possible causes of defect were brainstormed and organized in Cause-and-Effect Diagrams, Cause-and-Effect Matrix, and Failure Mode and Effects Analysis (FMEA). The causes with high priority were then tested for their statistical significance. In the Improve phase, the optimal levels of significant factors that yielded minimum defect rate were determined by the Response Surface Methodology. Then, confirmatory experiments were performed. In the Control phase, new control plan and standard operating procedure were developed in order to control the process after the improvement. The improvement results in 57% defect reduction (0.37 dpu to 0.16 dpu) and 55% reduction of rework cost (88 baht to 40 baht). It is expected that the improvement will result in net saving of 5,796,469 baht year based on the forecasted capacity of 166,955 units in 2010.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18683
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.248
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.248
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Artit_ho.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.