Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18838
Title: | การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สวนบริเวณคลองบางกอกใหญ่-คลองชักพระ ฝั่งตะวันตก ระหว่าง พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2553 |
Other Titles: | Transformation of settlement features in the orchard area on the west of Klong Bangkok Yai-Klong Chak Phra from 1910 to 2010 |
Authors: | พีรเดช ลำดับวงศ์ |
Advisors: | เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Terdsak.T@Chula.ac.th |
Subjects: | ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- คลองบางกอกใหญ่ ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- คลองชักพระ การตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ Waterfronts -- Thailand -- Klong Bangkok Yai Land settlement -- Thailand -- Bangkok |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พื้นที่บริเวณคลองบางกอกใหญ่-คลองชักพระ ฝั่งตะวันตกเป็นพื้นที่สวนผลไม้โบราณซึ่งมีประวัติหลายร้อยปี หลังจากการยุบรวมกรุงเทพฯ และธนบุรีในปี พ.ศ. 2515 พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อบริบทของการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สวนเดิม การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สวน บริเวณคลองบางกอกใหญ่-คลองชักพระ ฝั่งตะวันตก ระหว่าง พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2553 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาที่มาและลักษณะการตั้งถิ่นฐานชุมชนบนพื้นที่สวน บริเวณคลองบางกอกใหญ่-คลองชักพระ ฝั่งตะวันตก ระหว่าง พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2553 (2) เพื่อวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของการตั้งถิ่นฐานชุมชนบนพื้นที่สวน บริเวณคลองบางกอกใหญ่-คลองชักพระ ฝั่งตะวันตก ระหว่าง พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2553 โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้ (1) การสร้างแผนที่เชิงเลขแสดงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานชุมชนบนพื้นที่สวน ในปี พ.ศ. 2453 ถึง ปี พ.ศ. 2553 จากแผนที่คลองระบายน้ำ (2) การแยกชั้นข้อมูลองค์ประกอบทางกายภาพของแผนที่เชิงเลขแสดงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานชุมชนบนพื้นที่สวน (3) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของข้อมูลองค์ประกอบทางกายภาพ ระหว่างพื้นที่สวนกับองค์ประกอบชั้นข้อมูลอื่นๆ (4) การสำรวจ ภาคสนาม โดยถ่ายภาพพื้นที่ และสัมภาษณ์ จากการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สวน จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย การตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สวนซึ่งคงสภาพขนัดสวน ได้แก่ พื้นที่ซึ่งยังคงรักษารูปแบบขององค์ประกอบขนัดสวน กับพื้นที่ซึ่งองค์ประกอบของขนัดสวนมีความเปลี่ยนแปลง และการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สวนซึ่งพัฒนาแล้วโดยการปรับเปลี่ยนด้วยการถมที่ และปลูกสร้างอาคาร (2) ความเปลี่ยนแปลงของการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สวน จำแนกได้เป็นสามช่วง ประกอบด้วย ช่วงขยายบนพื้นที่เครือข่ายคลอง มีปัจจัยสำคัญคือ การขุดคลอง และการตัดถนน ช่วงขยายบนพื้นที่ริมถนน มีปัจจัยสำคัญคือ การตัดถนน และการพัฒนาพื้นที่เป็นอาคารบ้านเรือนริมถนน ช่วงขยายบนพื้นที่สวนภายใน มีปัจจัยสำคัญคือ การตัดถนน และการพัฒนาพื้นที่เป็นอาคารในโครงการจัดสรร (3) ระหว่างปี พ.ศ. 2453-2553 มีพื้นที่สวนเหลือเพียงร้อยละ 27.2 ตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะการตั้งถิ่นฐานรูปแบบต่างๆ ซึ่งหากขาดแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจน จะส่งผลต่อสภาพพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่ศึกษาต่อไป |
Other Abstract: | The western section of Klong Bangkok Yai-Klong Chak Phra is an area containing traditional orchards with a history dating back several hundred years. After the total collapse of Bangkok province and Thon Buri province in 1972, this area became the space for the future expansion of the city. This change affected the context of the settlements in the orchard area. This study aimed : (1) to study the origin and characteristics of the settlements in the orchard area from 1910 to 2010:and (2) to analyze the changes in these settlements over the same period. To facilitate this research, it was necessary: (1) to creation digital maps showing the settlement patterns in the orchards area from 1910 to 2010 :(2) to separate the physical layer elements of the digital map to display the format of the settlement in the orchard area: (3) to compare and analyze the relationship between the physical features of the orchard Elements on different map layers, and (4) to undertake field surveys, examine photographs, and conduct interviews. The study found, firstly, that (1) the settlements in the orchard area can be classified into two categories comprisingthose that retain the physical of an orchard plot, and those that have been modified such as by boundary changes, construction, or infilling with buildings. Secondly, it was determined that the changes in the settlement features in the orchard area. can be classified into three distinct time periods, between 1910 and 2010, which are (1) the period when the canal network was extended through the digging of a canal and the construction of a road; (2) the period of roadside extension during road construction and the development of the roadside area for building; and (3) the period of alteration inside the orchard area during road construction after the appropriation of land for a huge project. In future, if there is a lack of clear guidance for development, the environment and the amenity of the residents in the study area will be affected. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18838 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2096 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2096 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
peradet_lu.pdf | 23.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.