Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18986
Title: การสร้างแบบสำรวจนิสัยและทัศนคติในการเรียนระดับอุดมศึกษา
Other Titles: A construction of the survey of study habits and attitudes at the college level
Authors: สุจิตร ศิริรัตน์
Advisors: สวัสดิ์ ประทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นักศึกษา -- ทัศนคติ
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ทัศนคติ
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบสำรวจนิสัย และทัศนคติในการเรียนระดับอุดมศึกษา แบบสำรวจที่สร้างขึ้นแบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ คือ การหลีกเลี่ยงการผัดเวลาวิธีการทำงาน การยอมรับในตัวครู และการยอมรับคุณค่าของการศึกษา แต่ละองค์ประกอบมีข้อกระทง 25 ข้อ รวมทั้งสิ้น 100 ข้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1,2,3 และ 4 ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2521 รวม 7 มหาวิทยาลัย เป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 316 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 275 คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 282 คน และชั้นปีที่ 4 จำนวน 217 คน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ค่าอำนาจจำแนกของข้อกระทง โดยการหาค่าที (t-test) ของความแตกต่างระหว่างกลุ่มสูงกลุ่มต่ำ (25%) มีค่าอยู่ในช่วง 3.2934 ถึง 10.9843 ค่ามัธยฐานคือ 4.3825 ซึ่งมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เมื่อแยกตามองค์ประกอบ ด้านการหลีกเลี่ยงการผัดเวลา มีค่าอยู่ในช่วง 3.5037 ถึง 5.9093 ค่ามัธยฐาน คือ 4.4285 วิธีการทำงานมีค่าอยู่ในช่วง 3.5027 ถึง 10.9843 ค่ามัธยฐาน คือ 4.7928 การยอมรับในตัวครูมีค่าอยู่ในช่วง 3.4741 ถึง 5.9529 ค่ามัธยฐานคือ 3.9477 การยอมรับคุณค่าของการศึกษา มีค่าอยู่ในช่วง 3.2934 ถึง 7.4339 ค่ามัธยฐานคือ 3.9852 2. ค่าความเที่ยงของแบบสำรวจ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค สำหรับกลุ่มตัวอย่างชั้นปีที่ 1,2,3,4 และรวมทุกระดับชั้น ตามลำดับ ผลปรากฏว่า องค์ประกอบด้านการหลีกเลี่ยงการผัดเวลา มีค่าเป็น .8188, .7913, .8178, .8309 และ .8147 วิธีการทำงาน มีค่าเป็น .7886, .7629, .7579, .8298 และ .7847 การยอมรับในตัวครู มีค่าเป็น .7903, .8035, .8433, .8436 และ .8198 การยอมรับคุณค่าของการศึกษามีค่าเป็น .7790, .7728, .7809, .7401 และ .7610 แบบสำรวจทั้งฉบับ มีค่าเป็น .9253, .9056, .9246, .9270 และ .9210. 3. ค่าความตรงเชิงทำนายของแบบสำรวจซึ่งคำนวณโดยการหาสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ใช้คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (G.P.A.) เป็นเกณฑ์ แยกตามมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. มหาวิทยาลัยมหิดล 3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 4. มหาวิทยาลัยศิลปากร 5. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ซึ่งมีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 338 คน, 98 คน, 142 คน 57 คน และ 76 คน ตามลำดับ ผลปรากฏว่า องค์ประกอบด้านการหลีกเลี่ยงการผัดเวลาและวิธีการทำงาน ค่าความตรงเชิงทำนายของมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 องค์ประกอบด้านการยอมรับในตัวครู ค่าความตรงเชิงทำนายของมหาวิทยาลัยที่ 1, 2 และ 3 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนองค์ประกอบด้านการยอมรับคุณค่าของการศึกษา ค่าความตรงเชิงทำนายของมหาวิทยาลัยที่ 1, 2, 3 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และมหาวิทยาลัยที่ 4 และ 5 มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เมื่อรวมแบบสำรวจทั้งฉบับปรากฏว่า ค่าความตรงเชิงทำนายของทุกมหาวิทยาลัย มีนัยสำคัญที่ระดับ .01. 4. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากแบบสำรวจ ปรากฏว่า องค์ประกอบด้านการหลีกเลี่ยงการผัดเวลา และวิธีการทำงาน คะแนนเฉลี่ยของนิสิตนักศึกษาหญิงสูงกว่านิสิตนักศึกษาชายในระดับชั้นเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ส่วนต่างระดับชั้นกันคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน องค์ประกอบด้านการยอมรับในตัวครู และการยอมรับคุณค่าของการศึกษา คะแนนเฉลี่ยของนิสิตนักศึกษาชายและหญิงในระดับชั้นเดียวกัน และต่างระดับชั้นกันมีค่าไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to construct the survey of study habits and attitudes at the college level. The inventory, composing of 100 items, was divided into 4 subscales : Delay Avoidance, work method, teacher approval and education acceptance with 25 items each. The samples were 316 freshmen, 275 sophomore, 282 junior and 217 senior from seven public universities in Bangkok metropolis. The results were as follows: 1. The item discrimination indices by t-test between high and low groups (25%), ranged from 3.2934 to 10.9843, the median was 4.3825. For Delay Avoidance the values were 3.5037 to 5.9093, the median was 4.4285; for work method the values were 3.5027 to 10.9843, the median was 4.7928; for Teacher Approval the values were 3.4741 to 5.9529, the median was 3.9477; and the values were 3.2934 to 7.4339, the median was 3.9852 for Education Acceptance. 2. The Cronbach alpha reliability coefficient for freshmen, sophomore, junior, senior and all sample were .8188, .7913, .8178, .8309 and .8147 respectively for Delay avoidance; .7886, .7629, .7579, .8298 and .7847 respectivety for work method; .7903, .8035, .8433, .8436 and .8198 respectively for teacher approval; .7790, .7329, .7809, .7401 and .7610 respectively for education acceptance. The reliability coefficients of the whole scale were .9253, .9056, .9246, .9270 and .9210 respectively. 3. The predictive validity coefficients of the scale, using grade point average as criterion were computed for 5 universities, namely 1. Chulalongkorn University, 2. Mahidol University, 3. Srinakarintaravirot University Prasarnmitr Campus, 4. Silapakorn University, 5. King Mongkut’s Institute of Technology Dhonburi Campus. The sizes of the sample were 338, 98, 142, 57 and 76 respectively. The predictive validity coeff cients of Delay Avoidance and work method for each university were significant at .01 level. These of teacher approval for the first, second and third universities were significant at .01 level. The predictive validity of education acceptance for the first, second and third universities were significant at .01 level. For the fourth and fifth universities the validity coefficients were significant at .05 level. The predictive validity coefficients of the whole scale for each university were significant at .01 level. 4. The results of comparing mean scores of each scale were as follow: Delay avoidance and work method, the mean scores of female were higher than those of male in the same class level significantly at .01 and .05 respectively but the mean scores of different class level did not differ significantly. Teacher approval and education acceptance, the mean scores of male and female in the same class level and different class level did not differ significantly
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18986
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujit_Si_front.pdf555.54 kBAdobe PDFView/Open
Sujit_Si_ch1.pdf476.76 kBAdobe PDFView/Open
Sujit_Si_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Sujit_Si_ch3.pdf589.44 kBAdobe PDFView/Open
Sujit_Si_ch4.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Sujit_Si_ch5.pdf564.75 kBAdobe PDFView/Open
Sujit_Si_back.pdf813.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.