Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19113
Title: ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอน ของอาจารย์วิทยาลัยพลศึกษา
Other Titles: Opinions of instructors and students concerning teaching behaviors of physical education college instructors
Authors: สุทัศน์ วรรณวิจิตร
Advisors: วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Varaporn.B@Chula.ac.th
Subjects: การสอน
อาจารย์มหาวิทยาลัย
ครูพลศึกษา
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของอาจารย์เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ความสำคัญในการสอน กับพฤติกรรมการสอนที่เกิดขึ้นจริง 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ความสำคัญในการสอน 3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ จากผลการประเมินของอาจารย์ที่มีจำนวนปีในการสอนต่างกันเกี่ยวกับพฤติกรรมสอนที่เกิดขึ้นจริง วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้กลุ่มตัวอย่าง ประกอบอาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนและนักศึกษาที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2525 ในวิทยาลัย 5 แห่ง คือ วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอุดรธานี วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดยะลา วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดอ่างทอง และวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 642 คน ได้ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างและได้รับแบบสอบถามคืน 591 ฉบับ หรือ คิดเป็นร้อยละ 91.91 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้จัดทำเป็น 2 ฉบับ คือ สำหรับอาจารย์และนักศึกษา ในแต่ละฉบับแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนแรกเป็นสถานสภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่สองเป็นแบบประเมินความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับพฤติกรรรมที่มีความในการสอน กับพฤติกรรมการสอนที่เกิดขึ้นจริง และผู้วิจัยได้สร้างแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนขึ้นอีกทางหนึ่งด้วยเพื่อพิจารณาประกอบกับข้อคิดเห็นจากแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ให้วิธีค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติเทสต์ สรุปผลการวิจัย 1. อาจารย์และนักศึกษามีความว่า พฤติกรรรมที่ความสำคัญในการสอนทุกด้านโดยรวมๆ มีความสำคัญอยู่ในเกณฑ์มาก ส่วนพฤติกรรมการสอนที่เกิดขึ้นจริงอาจารย์และนักศึกษามีความเห็นต่างกัน โดยอาจารย์เห็นว่าพฤติกรรมทั้ง 9 ด้าน โดยรวม ๆ อยู่ในเกณฑ์มาก แต่นักศึกษาเห็นโดยรวม ๆ อยู่ในเกณฑ์มาก แต่นักศึกษาเห็นว่าพฤติกรรมเพียง 4 ด้าน ที่อยู่ในเกณฑ์มาก คือด้านบุคลิกภาพของผู้สอน ด้านการปฏิบัติการสอน ด้านการควบคุมวินัยในการเรียน และด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน นอกนั้นอีก 5 ด้าน อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง คือ ด้านการเลือกใช้สถานที่และอุปกรณ์ ด้านปรัชญาของการสอน ด้านการมอบหมายงานให้ทำ ด้านการเสริมแรงทางการเรียน และด้านการประเมินผลและนำข้อมูลย้อนกลับ 2.ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างอาจารย์อละนักศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่มีความสำคัญในการสอน ปรากฏว่าทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 รวม 6 ด้าน คือ ด้านการเลือกใช้สถานที่และอุปกรณ์ ด้านปรัชญาของการสอน ด้านการเสริมแรงทางการเรียน ด้านการประเมิณผลและนำข้อมูลย้อนกลับ และด้านการควบคุมวินัยในการเรียน ส่วนอีก 3 ด้าน ความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ จากการประเมินของอาจารย์ที่มีจำนวนปีในการสอนน้อย และอาจารย์ที่มีจำนวนปีในการสอนมาก เกี่ยวกับพฤติกรรมที่มีความสำคัญในการสอน กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง ปรากฏว่าทั้ง 2 กลุ่มประเมินพฤติกรรมที่มีความสำคัญในการสอน และพฤติกรรรมการสอนที่เกิดขึ้นจริงในทุกด้านไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ 1. พฤติกรรมการสอนที่ผู้บริหารและอาจารย์วิทยาลัยพลศึกษา ควรคงไว้ตามที่อาจารย์และนักศึกษาให้ความสำคัญ ได้แก่ ผู้สอนมีความรู้กว้างขวางในวิชาที่สอน ตรงต่อเวลาในการสอน สาธิตและยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายอย่างชัดเจน และผู้สอนเน้นในด้านความรับผิดชอบของผู้เรียน 2. พฤติกรรมการสอนที่อาจารย์วิทยาลัยพลศึกษาปฏิบัติค่อนข้างน้อย สมควรจะปรับปรุงโดยปฎิบัติให้มากขั้น ได้แก่ ผู้สอนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์การสอนอย่างเพียงพอยั่วยุให้ผู้เรียนได้โต้แย้งถกเถียง ชมเชยและให้กำลังใจแก้ผู้เรียน และผู้สอนให้โอกาสผู้เรียนเลือกทำงานตามความเหมาะสมและความสนใจ 3. วิทยาลัยพลศึกษาควรจะได้การพัฒนาคณาอาจารย์โดยสนับสนุนให้อาจารย์ไปศึกษาต่อหรือเข้ารับการอบรมสัมมนา เพื่อที่จะได้นำความรู้และประสบการณ์มาปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract: Purpose of the Study The purpose of this research was as follows: 1. To study the opinions of instructors and students towards the teaching behaviors important for teaching and actual teaching behaviors. 2. To compare the opinions of the instructors and of the students on the behaviors important for teaching. 3. To compare teaching behaviors as evaluated by instructors with varying number of years of experience with regard to the behaviors important for teaching and actual teaching behaviors. Procedures The sample included instructors and students of five physical education colleges during the second semester of the academic year 1982. The five Physical Education Colleges were Chiangmai, Udornthani, Yala, Angthong, and Chonburi . Questionnaires were sent to a total of 642 subjects : 590 (91.90 percent ) questionnaires were returned. The research instrument for this study was two different forms: one for instructors, and one for students. Each form included two parts : the first part asked about personnel data and the second part asked opinions on behaviors important for teaching and on actual teaching behaviors. The researcher also constructed a direct observation schedule in order to support their opinions in the questionnaires. The data were analyzed by computing percentages, means, and standard deviations. Differences between the various groups were evaluated through the t – test. Research Findings 1. Instructors and students, in general, gave a high rating for behaviors important for teaching. The instructors’ and the students’ opinions on actual teaching behaviors were quite different; the instructors gave a high rating on all aspects of behaviors while the other aspects were rated as average. These four aspects were : personality, teaching practice, discipline in studying , and relationship between instructors and students. The other five aspects were : space and equipment utilization, teaching philosophy, assignment, learning reinforcement, and evaluation and feedback 2. Comparisons of the two groups as to behaviors important for teaching showed differences significant at the .05 level on six aspects; space and equipment utilization, teaching philosophy, teaching practice, learning reinforcement, evaluation and feedback, and discipline in studying. The other aspects did not show significant differences. 3. Comparisons of teaching behaviors as evaluated by instructors with few years of experiences and by instructors with many years of experiences as to behaviors important for teaching and actual teaching behaviors did not show any significant difference for any of the various aspects. Recommendations 1. Administrators and instructors should consider improving the teaching behaviors according to what the instructors and the students feel is important. Those behaviors are ; the instructors have much knowledge, be on time for teaching, demonstrate and give clear example, and aware in students’ responsibility. 2. Instructors should improve their teaching behaviors by doing more often than usual. Those behaviors are ; the instructors prepare adequate equipment utilization, encourage the students to debate, admire the students, and let them choose the appropriate assignments. 3. Physical education colleges should promote further development among the instructors by encouraging to undergo further training or participating in workshop and seminars. Such further knowledge and experience should be used to bring greater efficiency in teaching.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19113
ISBN: 9745622168
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthat_Wa_front.pdf624.11 kBAdobe PDFView/Open
Suthat_Wa_ch1.pdf434.16 kBAdobe PDFView/Open
Suthat_Wa_ch2.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Suthat_Wa_ch3.pdf408.68 kBAdobe PDFView/Open
Suthat_Wa_ch4.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Suthat_Wa_ch5.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Suthat_Wa_back.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.