Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1948
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนัก การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และพฤติกรรมการลดน้ำหนักของวัยรุ่นหญิง
Other Titles: Relationships between attitudes toward weight loss behavior, subjective norms, perceived behavioral control and weight loss behaviors among female adolescents
Authors: นภมาศ ศรีขวัญ, 2519-
Advisors: วีณา จีระแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Veena.J@Chula.ac.th
Subjects: วัยรุ่นหญิง--สุขภาพและอนามัย
การลดความอ้วน
การส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนัก การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและพฤติกรรมการลดน้ำหนักของวัยรุ่นหญิง กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นหญิง จำนวน 90 ราย ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยมี 4 ชุด คือ แบบสอบถามทัศนคติต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนัก ประกอบด้วยแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับผลของการลดน้ำหนักกับแบบสอบถามการประเมินผลของการลดน้ำหนักตามความเชื่อ แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ประกอบด้วยแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับความคาดหวังของกลุ่มอ้างอิงกับแบบสอบถามแรงจูงใจที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง แบบสอบถามการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ประกอบด้วยแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุมพฤติกรรมกับแบบสอบถามการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และแบบสอบถามพฤติกรรมการลดน้ำหนัก ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงโดยวิธีแอลฟาครอนบาคมีค่าเท่ากับ .73, .88, .94, .86, .73, .81 และ .68 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการลดน้ำหนักของวัยรุ่นหญิงถูกต้องระดับปานกลาง ([Mean] = 59.44) 2. วัยรุ่นหญิงมีทัศนคติทางบวกต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนัก ในระดับต่ำ ([Mean] = 23.30) มีการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ทางบวกอยู่ในระดับต่ำ ([Mean] = 7.37) การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ทางบวกอยู่ในระดับต่ำ ([Mean] = 46.18) 3. การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการลดน้ำหนักในวัยรุ่นหญิง (r = .283, p < .05) 4. ทัศนคติต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนัก การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการลดน้ำหนักในวัยรุ่นหญิงได้ร้อยละ 8.9 (R[square] = .089, F = 2.792, p < .05)
Other Abstract: The purposes of this descriptive research were to study the relationships between attitude toward weight loss behavior, subjective norms, perceived behavioral control and weight loss behaviors among female adolescents. Subjects consisted of 90 female adolescents selected by multistage random sampling. Research instruments included four parts. The attitude toward weight loss behavior questionnaire which consisted the questionnaires of weight loss behavioral outcome beliefs and evaluation weight loss behavior based on the beliefs. The subjective norm questionnaire hich consisted the questionnaires of normative beliefs and motivation by reference group. Teh perceived behavioral control questionnaire which consisted the questionnaires of beliefs in behavior control and perceived behavior control. The last part was the weight loss behaviors questionnaire. Instruments were tested for content validity and reliability which had cronbach's alpha value of .73, .88, .94, .86, .73, .81 and .68 respectively. Statisticalmethods used to analyze the data include mean, standard deviation, Pearson's correlation and multiple regression analysis. Major findings were as follows : 1. Weight loss behaviors of female adolescents were appropriate at a medium level ([Mean] = 59.44). 2. Positive attitude toward weight loss behaviors of female adolescents was at a low level ([Mean] = 23.30). Positive subjective norms of female adolescents were at a low level ([Mean] = 7.37). Positive perceived behavioral control of female adolescents was at a low level ([Mean] = 46.18). 3. Perceived behavioral control was positively correlated with weight loss behavior (r = .283, p < .05). 4. For the predictive abilities, all predictors together accounted for 8.9 percent of the variance in predicting weight loss behavior (R[square] = .089, F = 2.792, p < .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1948
ISBN: 9745316903
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Napamas.pdf844.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.