Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19591
Title: การประยุกต์ทฤษฎีเกมในการวิเคราะห์ความปลอดภัยของการจัดเส้นทางแบบเฟ้นสุ่มในโครงข่ายไร้สายแบบเมชที่มีสายอากาศระบุทิศทาง
Other Titles: Game theoretical application in security analysis of stochastic routing in wireless mesh network with directional antenna
Authors: ภัทร บุญญกาญจน์
Advisors: เชาวน์ดิศ อัศวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaodit.A@Chula.ac.th
Subjects: ทฤษฎีเกม
โครงข่ายไร้สายแบบเมช
การจัดเส้นทางแบบเฟ้นสุ่ม
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายแอดฮอก
ระบบสื่อสารไร้สาย
ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ -- มาตรการความปลอดภัย
Game theory
Wireless Mesh Network (WMN)
Stochastic routing
Computer networks
Ad hoc networks (Computer networks)
Wireless communication systems
Computer security
Computer networks -- Security measures
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในวิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอระเบียบวิธีการจัดหาเส้นทางแบบเฟ้นสุ่มเพื่อป้องกันการดักฟังและส่งสัญญาณรบกวนข้อมูลในโครงข่ายไร้สายแบบเมชด้วยสายอากาศระบุทิศทางที่ใช้โมเดลแบบโคน โดยทฤษฎีเกมได้สามารถหารูปแบบเส้นทางแบบเฟ้นสุ่มที่ดีที่สุดที่ทำให้ค่าความคาดหวังของจำนวนเซสชั่นที่ปลอดภัย (expected number of secure sessions: ESS) สูงที่สุดภายใต้สถานการณ์ที่โครงข่ายถูกโจมตีอย่างร้ายแรงได้ ในวิทยานิพนธ์นี้ได้จำลองเกมโครงข่ายไร้สายแบบเมชเป็นแบบเกมเล่นสองคนที่มีผลรวมเป็นศูนย์ โดยผู้เล่นสองคนแบ่งเป็น ผู้เล่นฝ่ายป้องกันโครงข่ายและผู้เล่นฝ่ายที่มาโจมตีโครงข่าย ซึ่งผู้เล่นฝ่ายป้องกันทำหน้าที่เลือกรูปแบบการส่งข้อมูลแบบทรีด้วยความน่าจะเป็นค่าต่าง ๆ เพื่อให้ค่า ESS มีค่ามากที่สุด ในทางกลับกันผู้เล่นฝ่ายโจมตีจะเลือกตำแหน่งในการโจมตีด้วยความน่าจะเป็นค่าต่าง ๆ เพื่อให้ค่า ESS ต่ำที่สุด จากการหาผลเฉลยทำให้ค่าของเกมนั้นสามารถการันตีจำนวนเซสชั่นที่ปลอดภัยเสมอได้ไม่ว่าผู้โจมตีจะโจมตีแบบใด จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการใช้สายอากาศระบุทิศทางทำให้ค่า ESS สูงกว่าในกรณีที่ใช้สายอากาศรอบทิศทางเสมอในแบบจำลองเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นการลดค่าบีมวิดท์ของสายอากาศระบุทิศทางในการดักฟังข้อมูลสามารถเพิ่มค่า ESS เฉพาะกรณีของการส่งข้อมูลฝั่งขาลงเท่านั้นและโครงข่ายจะต้องมีขนาดไม่เล็กจนเกินไป ในทางกลับกันกรณีการส่งข้อมูลฝั่งขาขึ้นถ้าต้องการจะเพิ่ม ESS จะต้องเพิ่มจำนวนเกตเวย์แทน และจากผลการทดลองของโครงข่ายสุ่มแสดงให้เห็นว่ากรณีการส่งข้อมูลฝั่งขาขึ้นนั้นจะถูกโจมตีได้ร้ายแรงกว่าฝั่งขาลง ซึ่งจากการวิเคราะห์ค่าชี้วัด ESS นี้จะเป็นประโยชน์ในการออกแบบโครงข่ายไร้สายแบบเมชที่มีความทนทานต่อการถูกโจมตีได้ในอนาคต
Other Abstract: This thesis is concerned with the framework for finding the optimal stochastic routing to defend intelligent eavesdropping and jamming attacks in the Wireless Mesh Network (WMN) with a cone-based, directional antenna. A game-theoretical model is used to find the best strategy to maximize the expected number of secure sessions (ESS) under the most severe circumstance. In particular, the WMN has been modeled by the two-person zero-sum game with two players, namely, a network defender and a network attacker. The defender tries to maximize ESS by assigning the best selection probabilities to the tree patterns for forwarding data to and from gateways. The attacker tries to minimize ESS by assigning the best selection probabilities to the positioning of attacker. In this regard, the obtained value of game represents the minimum guarantee on the number of secure sessions at the defender optimality in WMNs under any attacks. Numerical results show that using directional antenna can lead to higher ESS values when compared to the corresponding cases with only the omni-directional antenna capability. The enhancement of antenna directionality by decreasing the beamwidth can help improve ESS in the sufficiently large network case of downlink. On the contrary, in the case of uplink, the increasing number of gateways will add to the improvement of ESS. In addition, based on reported numerical results on both deterministic and random topologies, the uplink loading case can be attacked more severely than in the downlink case. The analyzed ESS here would benefit the design of WMN in terms of robustness.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19591
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2223
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2223
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pat_bo.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.