Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19630
Title: การถ่ายทอดเทคโนโลยีหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตตำบลไร่หลักทอง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Technology transfer in bamboo wicherwork handicraft : a case study of Tambol Railakthong, Amphoe Phanat Nikhom, Chon Buri province
Authors: อุทุมพร หมั่นทำการ
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: เทคโนโลยี -- การถ่ายทอด
อุตสาหกรรมในครอบครัว
การสื่อสาร
เครื่องจักสาน
ไร่หลักทอง (ชลบุรี)
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจถึงลักษณะและรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ ที่ผู้ประกอบการผลิตได้รับจากแหล่งถ่ายทอดต่าง ๆ ขั้นตอนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ประกอบการผลิต ความสัมพันธ์ระหว่างความชำนาญงานในการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่กับการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ของผู้ประกอบการผลิต และลักษณะความแตกต่างของผู้ประกอบการผลิตที่มีฝีมือดีมาก ฝีมือดี ฝีมือดีพอใช้ ในลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม การเป็นผู้นำในการถ่ายทอด ความคิดริเริ่ม และพฤติกรรมการสื่อสารข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักสานไม้ไผ่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 156 ราย ในแต่ละครัวเรือนที่ประกอบการผลิต จำนวน 156 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 70.59 ของจำนวนครัวเรือนที่ประกอบการผลิตทั้งหมด 221 ครัวเรือน ในเขตตำบลไรหลักทอง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้คือ 1.การถ่ายทอดเทคโนโลยีหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ ที่มีมาแต่ครั้งสมัยโบราณ ผู้ประกอบการผลิตจะได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษมากที่สุด ในลักษณะแบบมุขปาถะ โดยใช้คำพูดดัดแปลงให้คล้องจองกันมาง่ายแก่การจดจำ ส่วนการถ่ายทอดในยุคปัจจุบันนั้น ผู้ประกอบการผลิตจะได้รับการถ่ายทอดมาจากเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง มากที่สุด ซึ่งยืนยันตามสมมุติฐานข้อที่ 1 2.การยอมรับเทคโนโลยีหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ของผู้ประกอบการผลิตมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นรับรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นฝึกหัดหรือขั้นทดลอง ขั้นการตัดสินใจ และขั้นการยืนยัน ซึ่งแตกต่างจากขั้นตอนตามแบบจำลองการยอมรับนวตกรรมของโรเจอร์สไม่ยืนยันตามสมมุติฐานข้อที่ 2 3.ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างประเภท ของผู้ประกอบการผลิตที่มีฝีมือดีมาก ฝีมือดี และฝีมือพอใช้ ในลักษณะของประชากร เศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมการสื่อสารซึ่งไม่ยืนยันตามสมมุติฐานข้อที่ 3 แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับ ความคิดริเริ่มและการเป็นผู้นำในการถ่ายทอด มีความแตกต่างกัน ยืนยันตามสมมุติฐานข้อที่ 3 4.ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างความชำนาญงานในการผลิตหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ กับการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ของผู้ประกอบการผลิตในระดับนัยสำคัญ 0.05 จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยเสนอแนะให้ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีหัตถกรรมเครื่องจักสานไม้ไผ่ ควรเป็นผู้มีความรู้และระดับฝีมือซึ่งไม่สูงหรือแตกต่างกันอย่างมากจากผู้รับการถ่ายทอด เพื่อให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีนั้นๆ มากขึ้น นอกจากนั้น ควรได้มีการวิจัยหาความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการสอนซึ่งใช้สัญญาลักษณ์ในรูปของภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งมีมาแต่ดั้งเดิมนั้น ว่ามีความหมายอันสำคัญต่อทางสังคมและทางการเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างไรบ้าง
Other Abstract: The purpose of this study was to understand the patterns of Technology transfer of the bamboo wickerwork handicraft. The steps of technology transfer were analyzed. The relations between the producers’ experiences and the adoption of new technology were studied. The data were collected from the producers of bamboo wickerwork in Tambol Railakthong, Amphoe Phanatnikom, Chon Buri Province. The sample of 156 household was selected. The questionnaire was the instrument of data collection. Percentage, Means and Chi-square test were used for data analysis. 1.The results of the study were following bamboo wickerwork handicraft productions has been done by the oral tradition since the ancient time. The use of word which was very easily to remember and to teach. The result of the study confirmed the Hypothesis I. 2.There was different between Rogers’ Model of adoption Process and the process of technology Transfer of the bamboo wickerwork handicraft. Therefore, the Hypothesis 2 was rejected. 3.There was no different between the skill levels and the demographic variables Socio-economic variables and communication behavior variables. However, there were different between the skill levels and the initiative levels and leaderships of technology transfers. Thus, the Hypothesis 3 was confirmed. 4.There were relations between the experience level of the producers and the amount of technology adoption of the producers. Thus, the Hypothesis 4 was rejected. From the result of this study, the author suggested that the technology should be transfer at the level that the receiver could be performed. In addition, the further study should place on the method of transfer by using the oral traditional language which has significantly tied with social settings.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19630
ISBN: 9745669849
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Utumporn_Ma_front.pdf460.59 kBAdobe PDFView/Open
Utumporn_Ma_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Utumporn_Ma_ch2.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Utumporn_Ma_ch3.pdf740.04 kBAdobe PDFView/Open
Utumporn_Ma_ch4.pdf647.16 kBAdobe PDFView/Open
Utumporn_Ma_ch5.pdf944.58 kBAdobe PDFView/Open
Utumporn_Ma_ch6.pdf286.58 kBAdobe PDFView/Open
Utumporn_Ma_back.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.