Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19723
Title: | การวิเคราะห์ต้นทุน-อรรถประโยชน์ของการปลูกถ่ายไขกระดูกเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีลอยด์ชนิดเฉียบพลัน ผู้ใหญ่ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Cost-Utility analysis of bone marrow transplantation compared with chemotherapy in adult acute myeloid leukemia at King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล |
Advisors: | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล ธานินทร์ อินทรกำธรชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jiruth.S@Chula.ac.th, Sjiruth@chula.ac.th, fmedisr@md2.md.chula.ac.th Pirom.k@chula.ac.th fmedvmc@md.chula.ac.th, Varocha.M@Chula.ac.th Tanin.I@Chula.ac.th |
Subjects: | มะเร็งเม็ดเลือดขาว -- การรักษา -- ต้นทุนและประสิทธิผล |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุน-อรรถประโยชน์ของการปลูกถ่ายไขกระดูกกับการให้เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีลอยด์ชนิดเฉียบพลัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในมุมมองของผู้ให้บริการ โดยเก็บข้อมูลอรรถประโยชน์ระหว่างเดือนตุลาคม 2548 ถึง มีนาคม 2550 ส่วนข้อมูลต้นทุนเป็นข้อมูล ระหว่าง ตุลาคม 2536 จนถึง มีนาคม 2550 ประกอบด้วย 1) ต้นทุนค่าบริการพื้นฐาน (ต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุทั่วไป ค่าลงทุน และต้นทุนทางอ้อม) ซึ่งนำข้อมูลจากงานวิจัยและรายงานการวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ปี 2544 ถึงปัจจุบัน มาปรับโครงสร้างต้นทุนให้เหมาะสมกับการศึกษาครั้งนี้ 2) ต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ (ต้นทุนค่ายา ค่าเคมีบำบัด ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าตรวจทางรังสี และค่าบริการเตรียมเลือด) เก็บรวบรวมจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย โดยข้อมูลด้านการเงินทั้งหมดถูกปรับให้เป็นค่าเงินปี 2548 ด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค ส่วนข้อมูลส่วนอรรถประโยชน์เก็บรวบรวมโดยการสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วยแบบสัมภาษณ์ EQ-5D ข้อมูลทั้งหมดถูกวิเคราะห์ให้เป็นต้นทุนต่อรายต่อปีและสร้างตัวแบบ Markov และทำ cohort simulation เพื่อพยากรณ์ต้นทุนต่อรายตลอดชีวิต ผลการศึกษา พบว่า ต้นทุนเฉลี่ยของกลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูก ในสภาวะ complete remission (CR) เท่ากับ 651,081 บาทต่อรายต่อปี และสภาวะ relapse เท่ากับ 507,815 บาทต่อรายต่อปี ส่วนกลุ่มเคมีบำบัดเท่ากับ 489,286 และ 428,892 บาทต่อรายต่อปี ตามลำดับ ค่าอรรถประโยชน์ กลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูก CR เท่ากับ 0.7348, relapse เท่ากับ 0.4120 และกลุ่มเคมีบำบัด CR เท่ากับ 0.5172, relapse เท่ากับ 0.2926 เมื่อกำหนดอัตราลด (discount rate) เท่ากับร้อยละ 3 พบว่า ต้นทุนตลอดชีวิตต่อราย กลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูก เท่ากับ 2,392,778 บาท และกลุ่มเคมีบำบัด เท่ากับ 2,217,405 บาท (แตกต่างกัน 175,373 บาท) โดยที่กลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูกมีอายุที่ยืนยาว 2.5308 QALY และ กลุ่มเคมีบำบัด 2.0949 QALY (แตกต่างกัน 0.7359 QALY) ดังนั้น กลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูกจึงมีต้นทุน 1,098,196 บาทต่อ 1 QALY และ กลุ่มเคมีบำบัดมีต้นทุน 1,242,971 บาทต่อ 1 QALY (แตกต่างกัน 144,775 บาท) ความน่าจะเป็นของการปลอดโรคและการมีชีวิตอยู่ ในเวลา 5 ปี จาก cohort simulation ของตัวแบบ Markov นี้ กลุ่มปลูกถ่ายไขกระดูก เท่ากับ 0.1573 และ 0.2458 ส่วนกลุ่มเคมีบำบัด เท่ากับ 0.2040 และ 0.3508 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ความไว พบว่า ต้นทุนต่อ QALY จะต่ำลง ในกรณีที่สภาวะผู้ป่วยก่อนปลูกถ่ายไขกระดูกเป็น remission ครั้งแรก และมีอายุน้อยกว่า 35 ปี หรือ เป็น remission ครั้งแรก และไม่มีโรคร่วมหรือโรคแทรกซ้อน จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การปลูกถ่ายไขกระดูกมีต้นทุน-อรรถประโยชน์คุ้มค่ากว่าการรักษาโดยเคมีบำบัด ดังนั้น การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยควรได้เสนอข้อมูลอย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้ป่วยและสังคมได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกรับบริการตามเงื่อนไขที่มีอยู่ อีกทั้งควรมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการจัดการให้เกิดประสิทธิภาพของระบบมากกว่าการควบคุมงบประมาณในภาพรวมอย่างเดียว |
Other Abstract: | The purpose of the study was to compare the cost-utilities between bone marrow transplantation (BMT) and chemotherapy (CT) for the treatments of adult patient with acute myeloid leukemia (AML) at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH). This retrospective-prospective cohort study was conducted the utility data during the period of October 2005 to March 2007. This provider-perspective costing was collected available data between October 1994 and March 2007. The first of the two components of costs was medical care cost (MCC). MCCs consisted of general drugs, chemotherapeutic drugs, medical supplies, laboratory tests, radiological investigations and radiotherapies, and blood or blood components. MCCs were determined by reviewing the medical records. The second component of costs was routine service cost (RSC). RSC composing of labor cost, general material cost, capital cost, and indirect cost were adjusted from the research and reports of annual cost analysis of KCMH since 2001. All costs were converted to 2006 values using the Thai consumer price indices. The utility data was obtained from quality-of-life interview by EQ-5D questionnaire during October 2005 to March 2007. The data of both group were analysed to the annual cost per person and were synthesized the Markov models and then ran cohort simulation in order to project the life-year costs. The study found that average-annual costs of BMT in complete remission (CR) was ฿651,081 per person and this in relapse was ฿507,815 per person. The average-annual costs of CT in CR and relapse were ฿489,286 and ฿428,892 per person, respectively. The utility units of BMT in CR and in relapse were 0.7348 and 0.4120, respectively. The CT group had 0.5172 and 0.2926 of utility units in CR and relapse, respectively. The expected life-year costs by 3 %discounting were ฿2,392,778 and ฿2,217,405 in BMT and CT, respectively (฿175,373 of difference). AML patients with BMT gained 2.1634 QALY. AML patients with CT gained 1.8363 QALY. The QALY differences between BMT and CT were 0.7359. As a result, the costs of BMT and CT were 1,098,196 and 1,242,971 per QALY (฿150,565 of difference). From the Markov models, the probabilities of 5-year survival an overall survival in BMT were 0.1573 and 0.2458, respectively. These were 0.2024 and 0.3508 in CT. By sensitivity analysis, interestingly, cost per QALY of BMT decreased in the conditions of first remission and the patients that were younger than 35 or in the conditions of first remission and the patients that did not have any comorbidity or complication. These findings indicate that BMT is more worth than CT. Thus, Thai healthcare delivery system should inform rational choices to the patients and their communities for co-decision. Moreover, the system should be administrated for comprehensive efficiency by using the evidence-based data, not for exclusive reduction the overall budgets. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19723 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1340 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1340 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sureerat_n.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.