Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20148
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพ-
dc.contributor.authorจารุณี สุขชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-06-08T03:14:40Z-
dc.date.available2012-06-08T03:14:40Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20148-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ศึกษาเกี่ยวกับหนังสือการ์ตูนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะการปรับตัวจากอดีตจนถึงปัจจุบัน องค์ประกอบที่แสดงถึง “ความเป็นไทย” และปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกและตัดสินใจของผู้ผลิตหนังสือการ์ตูนไทยซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ หนังสือการ์ตูนไทย และบรรณาธิการ หรือผู้แต่งและวาดภาพหนังสือการ์ตูนไทย จากการวิเคราะห์การปรับตัวของการ์ตูนไทยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงดังนี้ ช่วงที่ 1 ยุคแรกของการ์ตูนไทย มีลักษณะการปรับตัวโดยผู้เขียนจะนำเรื่องจากวรรณคดี นิทานพื้นบ้านไทยมาผสมกับโครงเรื่องจากการ์ตูนอเมริกัน มาสู่ช่วงที่ 2 ยุคการ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทย การปรับตัวในยุคนี้อยู่ในรูปแบบการนำการ์ตูนญี่ปุ่นมาแปลกันอย่างแพร่หลาย แต่รูปแบบของการ์ตูนยังคงลักษณะความเป็นไทยในด้านของการจัดหน้า และเมื่อเข้าสู่ช่วงที่ 3 ยุคปัจจุบัน มีการปรับตัวในโดยยังคง “ความเป็นไทย” เมื่อผู้เขียนและผู้วาดภาพยังคงนำเรื่องจากวรรณคดี นิทานพื้นบ้าน นิทานจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องประวัติศาสตร์มาเขียนเป็นเนื้อหาของการ์ตูน โดยผ่านกระบวนการผสมผสานข้ามสายพันธุ์ทางวัฒนธรรม (Cultural hybridization) แต่ผู้เสนอในรูปการ์ตูนญี่ปุ่น ภาพลายเส้นให้มีความเป็นสากล (Globalization) องค์ประกอบที่แสดงถึง “ความเป็นไทย” คือแหล่งที่มาของเนื้อเรื่อง โดยเป็นเรื่องที่นำมาจากวรรณคดีไทย นิทานพื้นบ้าน ประวัติศาสตร์ อีกทั้งขยายแหล่งที่มาของเนื้อหาจากสื่ออื่นๆ เช่น จากสื่อภาพยนตร์ หรือนำเนื้อเรื่อง ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนไทยมานำเสนอในรูปแบบของการ์ตูน ในส่วนของภาพและลายเส้น “ความเป็นไทย” ที่ปรากฎคือ ผู้วาดเน้นความสมจริงของภาพซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการ์ตูนไทยและสอดแทรก “ความเป็นไทย”ผ่านสัญญะ และรหัสเอาไว้ในตัวละคร ฉาก การแต่งกาย อุปกรณ์สิ่งของ ที่ดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัย จากการวิเคราะห์การ์ตูนไทยทั้ง 7 ประเภท การปรับตัวเพื่อรักษาความเป็นไทยที่ปรากฎสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ประเภทของการ์ตูนไทยที่ยังคงรักษาความเป็นไทยไว้ได้ 2) ประเภทของการ์ตูนไทยที่มีส่วนผสมของความเป็นไทยและต่างชาติ ซึ่งประเภทของการ์ตูนไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มนี้ และ 3) ประเภทของการ์ตูนไทยที่ไม่เหลือความเป็นไทย ในส่วนปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกและตัดสินใจของผู้ผลิตหนังสือการ์ตูนไทย เนื่องจากตลาดหนังสือการ์ตูนไทยไม่ได้ทำเป็นระบบธุรกิจจริงจัง และยังไม่มีการต่อยอดทางธุรกิจให้อยู่ในรูปของสื่ออื่นๆ อีกทั้งค่าตอบแทนของผู้วาดการ์ตูนมีอัตราที่ต่ำและรูปแบบการทำงานเป็นแบบเบ็ดเสร็จเพียงคนเดียว ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจผลิตก็คือผู้ผลิตต้องดูกระแสตลาดของผู้อ่านในช่วงนั้นๆว่ามีความต้องการแนวการ์ตูนประเภทใด หรือนำเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมช่วงเวลานั้น เพื่อให้มีความทันสมัย และจะต้องสร้างคาแรคเตอร์ของตัวละครให้เป็นที่รู้จักซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจ และตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นการขยายฐานตลาดของผู้อ่านการ์ตูนให้มากขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study on the adjustment Thai comic books from the past until now, the elements of “Thainess” and factors related to selection and decision process of Thai comic book producer. This research is a qualitative study based on two sources of data, Thai comic books and editors or authors and illustrators. The study has classified the adjustment of Thai comic into three following periods. During the first period, Thai comic adjusted themselves in the manner that the authors would employ the story from Thai literature and folklores and mixed with American comic plot. For the second period, Due to the popularization of Japanese comic among thai readers so, Japanese comic were widely translated but the page arrangement of the comic was well preserved with Thai style. The third period is the present period where the adjustment has incurred through the cultural hybrid process. Authors and illustrators have also employed the story from Thai literature, Thai folklores, Thai historic events as the content but presented in Japanese comic form or style. The line drawing is more globalized but Thainess is still displayed directly and indirectly to the readers. The elements presenting Thainess is the origin of the story which is produced from Thai literature, Thai folklores and history. Besides, the sources of Thai comic at present have been expanded to cover story from various media such as movie or daily life of Thai people. The pictures and line drawings is realistic which is followed the rule of Thai drawing style. “Thainess” has been insinuated through sign and code in the cartoon characters, background, dressing and items and tools modified to the modern period. The analysis on seven types of Thai comic found that adjustment for Thainess preservation could be classified into 3 groups as follows. 1) Thai comic which could preserve mostly Thainess 2) Thai comic which are a cultural hybrid of Thainess and foreign background, most of Thai comic are classified under this category and 3) Thai comic without Thainess. Regarding the factors involved with the selection and decision processes of Thai comic book producers, as Thai comic books market is not a serious market and could not be developed into other media business while the remuneration of the illustrators is low. Their work is a one-man product. Thus the key production factor requires a close supervision monitoring on the reader market by the producers to determine the type of cartoons, to include the current events in the comic content in order to catch up with the present situation. The character of the cartoons is required to be widely known among readers to attract the readers and to satisfy the need of the target group in order to expand the market of cartoon readers.en
dc.format.extent5933250 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.907-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการ์ตูน -- ไทยen
dc.titleมิติ "ความเป็นไทย" ในหนังสือการ์ตูนไทยen
dc.title.alternative"Thainess" dimension in Thai comic booksen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKanjana.Ka@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.907-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charunee_su.pdf5.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.