Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20185
Title: การเสนอวาระสาธารณะขององค์กรภาคประชาสังคม กรณีการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรกับผลิตภัณฑ์ยา และการกำหนดกรอบข่าวสารของหนังสือพิมพ์
Other Titles: The Setting of Public Agenda by Civic Organizations in the case on compulsory licensing of pharmaceutical products, and the framing the issue of newspapers
Authors: ชนิดา รอดหยู่
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pirongrong.R@chula.ac.th
Subjects: สิทธิบัตรยา -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การสื่อข่าวและการเขียนข่าว -- แง่สังคม
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวเรียกร้องเพื่อเสนอวาระสาธารณะของกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม 6 องค์กร และเพื่อศึกษาลักษณะการใช้กรอบนำเสนอประเด็นสิทธิบัตรยาของหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบกับการศึกษาเอกสาร และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์กรภาคประชาสังคมได้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย CL ในลักษณะเครือข่าย โดยอาศัยการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเสนอวาระสาธารณะ ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาสังคมนั้นไม่ได้มีการวางแผนและกำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่จะเคลื่อนไหวตามสถานการณ์หรือประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการประกาศ CL ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างกระบวนการรับรู้ของสาธารณชน เกี่ยวกับประเด็นความสำคัญของการเข้าถึงยา และเมื่อมีการประกาศใช้ CL แล้วการเคลื่อนไหวทางสังคมก็มีเป้าหมายเพื่อการสนับสนุนนโยบายรัฐ และเสริมแรงในกรณีที่เกิดภาวะกดดันหรือคัดค้านจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ขณะเดียวกันก็มีการวางยุทธศาสตร์ในการสร้างการเข้าถึงพื้นที่สื่อมวลชน ไปพร้อม ๆ กับการเคลื่อนไหวทางสังคม อย่างไรก็ตามการวางแผนเสนอแนวทางการเคลื่อนไหว และการกำหนดยุทธศาสตร์การเข้าถึงพื้นที่สื่อมวลชนนั้นยังเป็นบทบาทของกลุ่มนักวิชาการ และนักกิจกรรมเป็นหลัก ขณะที่องค์ภาคประชาชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ประสบปัญหาการเข้าถึงยาโดยตรง ยังขาดความเชื่อมโยงกับสื่อมวลชน แต่การร่วมเคลื่อนไหวในลักษณะองค์กรเครือข่าย สามารถทำให้การเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาสังคมปรากฎเป็นข่าวและเนื้อหาในสื่อมวลชนได้ สำหรับการกำหนดกรอบข่าวสารของหนังสือพิมพ์ พบว่า ในการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับกรณีสิทธิบัตรยา หรือ CL หนังสือพิมพ์นำเสนอกรอบเนื้อหาที่มีลักษณะของการชี้ให้เห็นปัญหามากที่สุด โดยในการนำเสนอเนื้อหาในกรณีดังกล่าว สื่อมวลชนได้ให้ความสำคัญกับคุณค่าข่าว และมีความแตกต่างกันไปตามนโยบายการนำเสนอข่าวของแต่ละองค์กร นอกจากนี้ยังพบว่าในการนำเสนอเนื้อหากรณี CL สื่อมวลชนได้ใช้แหล่งข่าวแหล่งข้อมูลจากหน่วยงานและเจ้าหน้ารัฐมากที่สุด ซึ่งการศึกษาในประเด็นของแหล่งข่าวแหล่งข้อมูล ก็พบว่านักข่าวมีความสัมพันธ์กับแหล่งข่าวแหล่งข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ 1) สนิทสนม 2) เป็นทางการ และ 3) คุ้นเคยจากการร่วมงาน
Other Abstract: This research studies movements in setting public agenda on compulsory licensing of pharmaceutical products as staged by six civic organizations, as well as the framing of these issues in three selected newspapers – Matichon, Thai Rath, and Krungthep Thurakit. The study is qualitative in nature, using in-depth interviews, document research and content analysis. The research finds that the studied organizations projected the CL policy into a public agenda under civic networking framework. There is no clear planning and determination of course of action. The movements are generally designed in response to changing situations or emerging issues that may affect the CL enforcement. Most of the movements are aimed at creating public awareness about the importance of access to the medicine. Meanwhile, the studied organizations are found to have clear strategies in accessing the media coverage, and in staging social movements. Those who assume leading role in mapping these strategies are academics, and activists (NGO workers) while civic groups who are directly affected by the lack of access to the medicine have limited capacity in reaching the media. However, under a civic networking co-operation, the more vulnerable HIV-positive persons and other patients are able to get media coverage and become featured in the news. As for the framing of CL in newspapers, the study finds that the studied newspapers tend to use the “frame define problem” the most. In presenting news about CL, the newspapers draw upon different sets of news values in accordance with their editorial policy in each organization. In addition, the study also finds that the three studied papers rely on sources from government agencies and government officials the most
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20185
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1456
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1456
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanida_ro.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.