Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20420
Title: | การทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยองค์ประกอบบางประการของตัวนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A prediction of mathematics learning achievement of mathayom suksa four students in Bangkok metropolis by their selected attributes |
Authors: | ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ |
Advisors: | พร้อมพรรณ อุดมสิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย Mathematics -- Study and teaching Academic achievement High school students |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับองประกอบบางประการของตัวนักเรียนได้แก่ ความสามารถทางด้านการคำนวณ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ นิสัยในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2. เพื่อสร้างสมการในการทำนานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยใช้ความสามารถทางด้านการคำนวณ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ นิสัยในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เป็นตัวทำนาย กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2528 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขกกรุงเทพมหานคร จำนวน 550 คน ผู้วิจัยได้แบบสอบถามความถนัดทางด้านการคำนวณ แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ แบบสำรวจนิสัยในการเรียน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากร แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และสร้างสมการถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นๆ ผลการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความถนัดทางด้านการคำนวณ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ นิสัยในการเรียน และแจงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (Y) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถทำนายได้จาก ความสามารถทางด้านการคำนวณ (X₁) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (X₂) นิสัยในการเรียน (X₃) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X₄) โดยมีตัวทำนายที่ดูที่สุดคือ ความสามารถทางด้านการคำนวณ รองรงมาคือ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และนิสัยในการเรียน ตามลำดับ ได้สมการณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ Y = 22.5212+0.7832X₁+0.1395X₂+0.0161X₃+0.0554X₄ สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.6197z₁+0.3892z₂+0.0835z₃+0.1993z₄ |
Other Abstract: | The objectives of this study were : 1. To study the relationship between mathematics learning achievement of mathayom suksa four students and some selected attributes which were the following aspects : abilities in computation, attitudes towards mathematics, study habits and achievement motivation. 2. To construct the multiple regression equation in order to predict the mathematics learning achievement by abilities in computation, attitudes towards mathematics, study habits and achievement motivation as the predictors. The samples were 550 mathayom suksa four science-mathematics program studies in the academic year of 1985 from public schools in Bangkok Metropolis. The instruments used by researcher were the abilities in computation test, the attitudinal test towards mathematics, the study habits inventory and the achievement motivation test. They were then administered to the samples. The obtained data were analyzed by means of Pearson product moment correlation coefficient, multiple correlation and multiple stepwised regression equation. The results of the research indicated that : 1. There were significant positive multiple correlation between mathematics learning achievement and abilities in computation, attitudes towards mathematics, study habits and achievement motivation at the level of 0.01 2. The mathematics learning achievement (Y) of mathayom suksa four students were predicted by abilities in computation (X₁), attitudes towards mathematics (X₂), study habits (X₃) and achievement motivation (X₄). The best predictor was abilities in computation and the predictors the follows were attitudes towards mathematics, achievement motivation and study habits. The regression equation of raw scores and standard scores were as follows : Y = 22.5212+0.7832X₁+0.1395X₂+0.0161X₃+0.0554X₄ : Z = 0.6197z₁+0.3892z₂+0.0835z₃+0.1993z₄ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20420 |
ISBN: | 9745664405 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
maitree_in_front.pdf | 317.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
maitree_in_ch1.pdf | 294.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
maitree_in_ch2.pdf | 657.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
maitree_in_ch3.pdf | 336.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
maitree_in_ch4.pdf | 264.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
maitree_in_ch5.pdf | 317.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
maitree_in_back.pdf | 722.43 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.