Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20465
Title: ปรัชญาชีวิตพอเพียงกับบทบาทประชาสังคมของนิตยสารพอเพียง
Other Titles: Self-sufficient philosophy and the civic journalism role of Thai Por-Pieng Magazine
Authors: นันทวดี ทองปรอน
Advisors: พีระ จิรโสภณ
วิลาสินี อดุลยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pira.C@chula.ac.th
fcomvcs@phoenix.acc.chula.ac.th
Subjects: เศรษฐกิจพอเพียง -- วารสาร
นิตยสารพอเพียง
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวาทกรรมชีวิตพอเพียงที่สะท้อนผ่านเนื้อหาและการผลิตนิตยสารพอเพียงของกลุ่มนักพัฒนาชุมชนเป็นสุขภาคตะวันตก และศึกษาถึงรูปแบบการกำหนดเนื้อหา การนำเสนอเนื้อหา นโยบายขององค์กร การเผยแพร่สาร และการดำเนินการผลิตนิตยสารพอเพียงตามแนวคิดสื่อภาคประชาสังคม ทั้งนี้ศึกษาจากการวิเคราะห์เนื้อหานิตยสารพอเพียง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกตัวแทนของผู้ผลิตนิตยสาร ตัวแทนบุคคลในชุมชนที่มีส่วนร่วมในการจัดทำนิตยสารพอเพียง รวมถึงการสัมภาษณ์นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์และสังคมศาสตร์ถึงแนวโน้มในอนาคตของสื่อสิ่งพิมพ์ภาคประชาสังคม จากการศึกษาพบว่าการดำเนินการจัดทำและการนำเสนอเนื้อหาของนิตยสารพอเพียงสามารถถ่ายทอดให้เห็นถึงกรอบแนวคิดเรื่องปรัชญาชีวิตพอเพียงได้อย่างสมบูรณ์ โดยจะดูได้จากสัญญะวิทยาทางภาพ และภาษาที่สะท้อนผ่านลักษณะทางกายภาพของวารสารและนิตยสารพอเพียง ประกอบกับวาทกรรมชีวิตพอเพียงที่สื่อสารออกมาผ่านการนำเสนอเนื้อหาที่อิงกับกรอบแนวคิดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ เมื่อนำแนวคิดสื่อภาคประชาสังคม และแนวคิดสื่อทางเลือก มาประกอบกับผลการศึกษาเรื่องบทบาทภาคประชาสังคมของนิตยสารพอเพียง ทำให้นิตยสารฉบับนี้ทำหน้าที่การเป็นสื่อภาคประชาสังคมได้อย่างสมบูรณ์แบบและเต็มตัว รวมทั้งการเป็นสื่อทางเลือกที่นำเสนอเรื่องชีวิตพอเพียงได้อย่างชัดเจน
Other Abstract: This study applying qualitative research as a methodology, aims to analyze self –sufficient discourse reflected through the content and the production of Por-pieng magazine that the community developers are owner. Studying the perception of agenda setting, proposing content, policy of the organization, publishing Por-pieng magazine in the perception of civic journalism. Also, this study using content analysis , in-depth interviewing of the agent who are producer of the magazine the people in local community who participated for writing content in Por-pieng magazine and the academician of social science and communication arts too for knowing about the tendency of civic journalism’s printing media in the future. The finding of the study revealed that the production and the proposing content of Por-pieng magazine can be showed the self-sufficient philosophy’s concept is perfectly. Considering from the semiology of pictures and languages that reflected through the physical magazine and self sufficient discourse too, its showed the content that was based on the self-sufficient economic’s concept. By using the perception on civic journalism , alternative media and the study of the civic journalism’s role in Por-pieng magazine , depict Por-pieng magazine as the civic journalism and the alternative media of self-sufficient content is clearly.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20465
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1425
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1425
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nantawadee_to.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.