Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20551
Title: | อุบัติการณ์การกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของพระภิกษุ เนื่องจากปัญหาจากการใช้ยา |
Other Titles: | Incidence of hospital readmission of Buddhist monks caused by drug-related problem |
Authors: | กิติยศ ยศสมบัติ |
Advisors: | นารัต เกษตรทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | Narat.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การใช้ยา สงฆ์ -- การใช้ยา Drug utilization Buddhist monks -- Drug utilization |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของ พระภิกษุเนื่องจากปัญหาจากการใช้ยา และศึกษาประเภทรวมถึงสาเหตุของปัญหาจากการใช้ยา โดยรวบรวม ข้อมูลจากเวชระเบียนและสัมภาษณ์พระภิกษุจำนวน 100 รูปที่กลับเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงมีนาคม 2554 ระบุปัญหาจากการใช้ ยาที่อาจเกี่ยวข้องกับการกลับเข้ารับการรักษาโดยความเห็นของผู้วิจัยร่วมกับแพทย์ที่ดูแลพระภิกษุ อิงตาม เกณฑ์และนิยามของ Cipolle RJ และคณะ ใช้สถิติเชิงพรรณา ควบคู่ไปกับ Independent t-test ในการ เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลของพระภิกษุที่กลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาจาก การใช้ยาและที่ไม่ใช่ปัญหาจากการใช้ยา ร้อยละ 80 ของพระภิกษุเป็นผู้สูงอายุ อายุเฉลี่ยเท่ากับ 65.7±11.2 ปี พระภิกษุร้อยละ 98 มีโรค ประจำตัวมากกว่า 1 โรค โดยมีจำนวนโรคประจำตัวเฉลี่ยเท่ากับ 5.6±2.3 โรค โรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุดในการ วิจัยนี้คือ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 71) ตามมาด้วยภาวะปวด/ความผิดปกติของระบบกระดูกและข้อ (ร้อยละ 67)) เบาหวาน (ร้อยละ 62) ไขมันในเลือดสูง (ร้อยละ 57) และปัญหาสายตา (ร้อยละ 49) จำนวนรายการยาที่ ได้รับประจำก่อนกลับเข้ารับการรักษาเฉลี่ยรูปละ 9.4±4.0 รายการ (พิสัย 0-19 รายการ) พระภิกษุร้อยละ 60 มี โยมอุปัฏฐากช่วยดูแลการใช้ยา ระยะห่างระหว่างการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลครั้งล่าสุดโดยเฉลี่ย 31.02±17.21 วัน (พิสัย 2-58 วัน) พบอุบัติการณ์ของการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาจากการใช้ยาร้อยละ 47 โดยเป็นปัญหาจากการใช้ยาที่สามารถป้องกันได้ ร้อยละ 82.98 ของปัญหาจากการใช้ยาทั้งหมด พระภิกษุที่ กลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาจากการใช้ยามีระยะห่างของการกลับเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลสั้นกว่าพระภิกษุที่กลับเข้ารับการรักษาโดยสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ปัญหาจากการใช้ยาเป็นเวลา 14.73 วัน (ช่วงค่าเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 คือ 8.52-20.94 วัน โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ; p < 0.00) อาการไม่ พึงประสงค์จากการใช้ยา (ร้อยละ 46.8) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด รองลงมาคือผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาตาม คำแนะนำ (ร้อยละ 25.5) ต้องการการรักษาด้วยยาเพิ่มเติม (ร้อยละ 12.8) และได้รับยาขนาดต่ำเกินไป (ร้อยละ 12.8) วิถีชีวิตหรือวัตรปฏิบัติของพระภิกษุอาจสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์บางอาการที่พบในการวิจัยนี้ ในขณะที่การขาดความรู้ ที่เพียงพอในการใช้ยา ทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้ยา และความยุ่งยากในขั้นตอนการใช้ยา สูดพ่นพบเป็นสาเหตุหลักของปัญหาผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาตามคำแนะนำ ปัญหาจากการใช้ยาอาจทำให้พระภิกษุต้องกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเร็วกว่าที่จำเป็น โดย ปัญหาส่วนใหญ่สามารถป้องกันแก้ไขได้ไม่ยาก หากทีมสหวิชาชีพผู้ดูแลพระภิกษุตระหนักถึงลักษณะของ ปัญหาจากการใช้ยาเหล่านี้จะสามารถป้องกันการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากปัญหาจากการ ใช้ยาและให้การบริบาลแก่พระภิกษุได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป |
Other Abstract: | The objectives of this study were to investigate 1) the incidence of hospital readmission of Buddhist monks caused by drug-related problems (DRPs) and 2) the categories and causes of DRPs. Data were collected from patient’s chart and interview of 100 Buddhist monks who readmitted at the Vachirayannawong ward of King Chulalongkorn Memorial Hospital during November 2010 to March 2011. Identification of DRPs-related hospital readmission was done by consensus opinion of thesis author and physician, based on categories and definitions of DRPs of Cipolle RJ, et al. Descriptive statistics was used in data analysis and Independent t-test was use to test the difference of monks’ characteristics between DRPs-related readmission and non-DRPs-related readmission. 80% of Buddhist monks were elderly (mean age was 65.7±11.2 years). 98% of monks had multiple diseases (mean number of disease was 5.6±2.3 diseases). The most common chronic diseases found in this study were hypertension (71%), followed by painful/musculoskeletal conditions (67%), diabetes mellitus (62%), dyslipidemia (57%), and eye disorders (49%). The average numbers of items of medications used before readmission were 9.4±4.0 items (range 0-19 items) and 60% of monks had assistants aid in medications use. Mean hospital-free period was 31.02±17.21 days (range 2-58 days). The incidence of hospital readmission of Buddhist monks caused by DRPs in this study was 47% and 82.98% of all DRPs were preventable. The Monks in DRPs-related readmission group had shorter hospital-free period than non-DRPs-related readmission group about 14.73 days (95% confidence interval= 8.52-20.94 days; p < 0.00). Adverse drug reactions (46.8%) was the most prevalent DRP, followed by noncompliance (25.5%), the need for additional drug therapy (12.8%) and drug dosage too low (12.8%). Buddhist monks’ life style and daily activities might associate with some ADRs founded in this study, whereas lack of sufficient knowledge, bad attitude to medications use and complication in inhalations technique were leading causes of noncompliance. DRPs might shorten hospital-free period for monks, but most of them were preventable. Therefore, it is important for health care team to recognize and understand the frequently found DRPs in order to prevent hospital readmission and provide appropriate care for Buddhist monks. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20551 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kitiyot_yo.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.