Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20782
Title: การสร้างแบบวัดการรู้หนังสือของคนไทย
Other Titles: A construction of Thai functional literacy scales
Authors: มานิตย์ ไชยกิจ
Advisors: สำนวน ดือรามัด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การรู้หนังสือ -- การทดสอบ
แบบประเมินคุณภาพ
Literacy -- Testing
Evaluative scale
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบวัดการรู้หนังสือ (Functional Literacy Scales) ซึ่งสามารถแบ่งระดับการรู้หนังสือของคนออกเป็น 5 กลุ่มคือผู้ไม่รู้หนังสือเลย รู้หนังสือบ้าง รู้หนังสือปานกลาง รู้หนังสือดี รู้หนังสือดีมาก พร้อมทั้งหาช่วงคะแนนที่แบ่งกลุ่มผู้รู้หนังสือ ผู้วิจัยได้สร้างแบบวัดการรู้หนังสือจากความหมายของคำว่าการรู้หนังสือ (Functional Literacy) ของยูเนสโก (UNESCO) แบบวัดการรู้หนังสือที่ประกอบด้วยแบบวัด 4 ชุด คือ วัดในด้านการอ่าน การเขียน การคิดเลขเป็นและความรู้ในการดำรงตนในสังคม แล้วนำแบบวัดฉบับนี้มาหาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาผู้ใหญ่ 10 ท่าน ตัดสินข้อความ แล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มประชากร ที่ทราบระดับการรู้หนังสือ คือ นักศึกษาผู้ใหญ่ในโรงเรียนผู้ใหญ่สายสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 5 ระดับ พบว่า แบบวัดการรู้หนังสือฉบับนี้มีค่าความอยากอยู่ระหว่าง .20 ถึง .90 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20 ถึง .92 และค่าความเที่ยงของแบบวัดชุดการอ่าน การเขียน การคิดเป็น และความรู้ในการดำรงตนในสังคม มีค่า 0.793, 0.881, 0.912 และ .865 ตามลำดับ แล้วนำแบบวัดที่ทดลองใช้แล้ว มาใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่แท้จริง คือ นักศึกษาผู้ใหญ่สายสามัญในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 5 ระดับ จำนวน 525 คน เป็นนักศึกผู้ใหญ่ระดับ 1, 2, และ 5 จำนวนระดับละ 50 คน ระดับ 3 จำนวน 250 คน และระดับ 4 จำนวน 125 คน จึงนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ยคะแนนแต่ละระดับในแต่ละชุด และคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการรู้หนังสือรวมของแต่ระดับแล้ว เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทุกระดับ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way-Analysis of Variance) จากนั้นนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทีละคู่ต้องการใช้สตัลเดนทีซ์ เรนจ์ สแตติสติก (Studentize Range Statistic) ของนิวแมนคูลท์ (Newman Kouls) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยแต่ละระดับ ในแบบวัดแต่ละชุดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.01 ยกเว้น การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างระดับ 1 และระดับ 2 ของแบบวัดชุดการอ่าน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 แสดงว่าแบบวัดฉบับนี้ทุกชุดสามารถแบ่งคนเป็น 5 กลุ่ม ได้ตามต้องการ 2. พบว่าช่วงคะแนนของกลุ่มผู้ที่ไม่รู้หนังสือเลยอยู่ในช่วง 0 ถึง 66.469 คะแนนผู้ที่รู้หนังสือบ้างมีคะแนนอยู่ในช่วง 66.470 ถึง 74.246 ผู้ที่รู้หนังสือปานกลางคะแนนการรู้หนังสืออยู่ในช่วง 74.247 ถึง 100.277 ผู้ที่รู้หนังสือดีมีช่วงคะแนนอยู่ในช่วง 100.278 ถึง 112.715 และผู้ที่รู้หนังสือดีมากจะมีคะแนนการรู้หนังสือตั้งแต่ 112.716 ขึ้นไป
Other Abstract: The purpose of this research is to construct the Functional literacy Scales which can discriminate functional literacy of adult into 5 levels: illiteracy, partial literacy, medium literacy, literacy and best literacy. She researcher used the word ''Functional literacy" as defined by the UNESCO. The scales compose of 4 subtestes: reading ability, writing ability, mathematical ability and adjustment in society ability. Content validity was judged by 8 experts in Adult Education and the scales were tried out with known literacy adult students in 5 levels of metropolitan adult schools. The level of difficulty of this scale between 0.80 - 0.90, the power of discrimination was 0.20 - 0.92 and the reliability coefficient of the reading ability, writing ability, mathematical ability and adjustment test were 0.793, 0.881, 0.912 and 0.865, consequently. Then the tried out tests were -used with 525 samples of adult students from 5 levels of 17 metropolitan, adult schools in order to find the means of each tent in each level and the means.; of to tall literacy scores in each level. Data was analysed by one-way analysis, of variance and Newmann Keul’s studentize Range Statistic. The findings were as follow : 1. The means of each .test in each level differed significantly ( p < 0.01 ) except that of reading ability test in level one and level two students which differed significantly at p < 0.05. The significance among means of each level allowed the researcher to assumed that the functional literacy scales can discriminate adults in to 5 functional literacy groups. 2. The range of student's literacy scores in each level were found as Follow :- Illiteracy : o – 66.469 marks partial literacy : 66.470 – 74.246 marks medium literacy : 74.247 – 100.277 marks literacy : 100.278 – 112.715 marks best literacy : 112.716 – 152.000 marks.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20782
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
manit_ch_front.pdf509.92 kBAdobe PDFView/Open
manit_ch_ch1.pdf570.46 kBAdobe PDFView/Open
manit_ch_ch2.pdf938.05 kBAdobe PDFView/Open
manit_ch_ch3.pdf777.5 kBAdobe PDFView/Open
manit_ch_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
manit_ch_ch5.pdf347.32 kBAdobe PDFView/Open
manit_ch_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.